• 14 ต.ค.16 ถึง 14 ต.ค.52 พลังนักศึกษาหายไปไหน |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 14 ต.ค. 52 เวลา 09:44:32 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถือเป็นประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของประเทศไทย เพราะไม่เคยมีครั้งไหนที่นักศึกษาจากทั่วทั้งประเทศจะผนึกกำลังกันเพื่อ ต่อสู้ เพื่อสิทธิและเสรีภาพและเรียกร้องความเป็นธรรมให้ประชาชนจนได้รับชัยชนะ
หลัง จากนั้นเป็นต้นมา หลายฝ่ายต่างเฝ้าหวังถึงพลังแห่งการพัฒนาของนักศึกษา ที่ถูกเรียกขานเป็นพลังบริสุทธิ์ ว่าจะสามารถ พัฒนาตัวเองจนกลายเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม
แต่ เพราะเหตุใด ทุกอย่างจึงกลับตาลปัตร 36 ปี แห่งความหวังกลายเปลี่ยนเป็นความสิ้นหวัง 36 ปี ให้หลังที่การเมืองไทยที่ยังคงย่ำเท้าอยู่กับการคอรัปชั่นแบบมูมมามไม่ เปลี่ยนแปลง และปัญหาความขัดแย้งแย่งชิงอำนาจทางการเมืองจากสารพัดม็อบในปัจจุบัน แต่กลับไร้เสียงพลังบริสุทธิ์ของนักศึกษาลุกขึ้นต่อสู้
ฤา เสียงปืนที่เผด็จการใช้เข่นฆ่า นักศึกษา เพื่อหยุดยั้งพลังบริสุทธิ์ ไม่ให้เผยอหน้าขึ้นมามีสิทธิมีเสียงในการเป็นผู้้นำและต่อสู้เพื่อความถูก ต้องและเป็นธรรมในสังคมเมื่อ 36 ปีที่ผ่านมา จะยังคงมีพลังทำลายล้างอยู่จนถึงปัจจุบัน …
นา ยอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการ สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. ยอมรับพลังของ นศ. ในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับสมัย 14 ต.ค. ได้เสื่อมถอยลง จนไม่อาจกลายเป็นผู้ชี้นำสังคมรวมทั้งเป็นหัวหอกนำประชาชนต่อสู้เพื่อนำ สิทธิและเสรีภาพ ได้อีกต่อไปแล้ว ... ทั้งนี้สาเหตุหลักก็เป็นเพราะ สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปได้หล่อหลอมให้ นักศึกษา ในปัจจุบัน มีลักษณะของความเป็นชนชั้นกลาง ที่ยึดติดกับแนวคิดที่ว่า ตนเองไม่มีความจำเป็นที่ต้องต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตย และพึงพอใจกับสิทธิและเสรีภาพ ที่ตนเอง ได้รับในปัจจุบัน โดยมิได้มองว่าการทุจริต คอรัปชั่นของนักการเมือง การปฎิวัติ จากอำนาจของทหาร หรือ การแทรกแซงจากอำนาจนอกระบบ เป็นปัญหา หรือ ทำให้ตนเองได้รับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว
ในขณะที่อีกมุมมองหนึ่ง มีความรู้สึกเบื่อหน่ายการเมือง โดยเปรียบนักการเมือง เป็นปีศาจร้ายที่มุ่งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง และพวกพ้อง มากกว่าที่จะมองว่าคนเหล่านั้น เป็นตัวแทนของประชาชน ด้วยเหตุนี้ นักศึกษาในปัจจุบัน จึงไม่ได้คิดที่จะดึงเอาตัวเองไปเชื่อมโยงกับการแสดงออก ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และค่อยห่างเหินไปทีละน้อย ๆ
อีก เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ นักศึกษาถอยห่างจากการเมือง ก็น่าจะเป็นความพยายาม ของบรรดาชนชั้นปกครองที่ต้องการจำกัดบทบาท ของ นักศึกษา ลง หลังเกิดเหตุการณ์ 6 ต.ค. โดยมีการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ออกมา จำกัดสิทธิและเสรีภาพ นักศึกษามากขึ้น เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแล หรือ ถ้าจะให้พูดอย่างชัดเจนก็หมายถึงการบีบ ให้ นักศึกษา มาอยู่ใกล้หูใกล้ตาผู้ใหญ่มากขึ้น
ส่วน พลังในการแสดงออกของ สนนท. ในปัจจุบัน ได้รับผลกระทบจากแนวคิดที่เปลี่ยนแปลงไปของ นักศึกษายุค 2552 ด้วยหรือไม่นั้น เลขา สนนท. กล่าวว่า มีผลกระทบแน่นอน เพราะในปัจจุบัน สนนท. มีสมาชิกที่เขาร่วมเหลือเพียง 40 องค์กรอิสระ จาก 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ เท่านั้น อีกทั้งกฎเกณท์ของทางมหาวิทยาลัย ที่ให้มีการเลือกตั้งสโมสรนิสิตนักศึกษา ทุก 1 ปี ทำให้ไม่มีการถ่ายทอดอุดมการณ์ในการต่อสู้เพื่อสังคม กันแบบรุ่นต่อรุ่นอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเหมือนเช่นในอดีต ซึ่งการที่มี นักศึกษาเข้ามาร่วมน้อยลงนี้เอง ทำให้
สนนท. มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ โดยจะเน้นไปที่การเคลื่อนไหวในเชิงสัญลักษณ์ เพราะยอมรับว่าการเคลื่อนไหวใด ๆ โดยมุ่งหวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้น ไม่อาจเป็นไปได้อีกแล้ว ...
ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) อดีตเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ ศนท. ยอมรับเป็นห่วง ทัศนคติ ของ นักศึกษายุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ที่ถูกหล่อหลอมกล่อมเกลามาจาก ระบบการศึกษาที่เน้นวิชาการเพียงอย่างเดียว และ กระบวนการปลูกฝังหล่อมหลอมในครอบครัวที่ไม่ให้ความสำคัญเรื่องการซื่อสัตย์ สุจริต จนนำมาซึ่งเทรนด์ใหม่สำหรับ นักศึกษายุคปัจจุบัน ที่ยอมรับได้กับนักการเมืองประเภทโกงก็ไม่เป็นไรแต่ขอให้เก่ง แล้วก็เลยพาลนิ่งเฉยไปกับพฤติกรรมการฉ้อโกงของนักการเมือง ทั้งนี้เพราะไปตั้งธงสรุปกันง่ายๆ แล้วว่า ใครมาเป็นรัฐบาลก็โกงทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าเพราะเหตุใด นักศึกษาในปัจจุบัน จึงไม่มีจิตสำนึกที่จะออกมาแสดงพลังบริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ
และ ที่น่าหนักใจมากที่สุดก็คือการที่ นักศึกษาส่วนหนึ่ งมักจะชอบหยิบยกคำพูดเช่นว่า ไม่รู้ว่าควรจะเชื่อใคร หรือ ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ได้รับน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อเป็นข้ออ้างที่จะนิ่งเฉยต่อการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาตินั้น เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับคำว่าปัญญาชน ที่พวกเขาเหล่านั้นใช้อยู่เป็นอย่างยิ่ง เพราะลักษณะของปัญญาชนที่ดีคือเมื่อสงสัยในสิ่งใดจะต้องไปหาข้อมูลเพื่อ วิเคราะห์ด้วยตนเองโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ใครมาจับป้อนให้
ส่วน สถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน ถึงจุดที่สามาถจะดึงพลังของ นักศึกษา ให้ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อยุติความขัดแย้งในชาติได้หรือไม่นั้น ศ.ดร.สมบัติ กล่าวว่า คงยังเป็นเรื่องยากเพราะ นศ. ส่วนใหญ่มองเห็นว่าในปัจจุบันยังมีกลุ่ม การเมืองเคลื่อนไหวแทนตัวเองอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยให้ความสนใจที่จะออกมาเคลื่อนไหว อย่างไรก็ดีตนเองเชื่อว่า เมื่อใดก็ตามที่ระบบการเมืองการปกครองเข้าสู่ภาวะความเลวร้ายอย่างถึงที่สุด มีการทุจริตคอรัปชั่นกันอย่างกว้างขวางและคนในสังคมไม่อาจคาดหวังกับใครได้ อีกต่อไปแล้ว เมื่อนั้น ตนเองเชื่อว่าพลังบริสุทธิ์ของ นักศึกษา จะกลับมาสู่ประเทศไทยอีกครั้ง
ขณะที่ นายจตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และอดีตคนเดือนตุลา เชื่อ เงื่อนไขทางสังคมในปัจจุบัน ที่สภาพเศรษฐกิจบีบรัด ให้ นักศึกษาต้องเร่งเรียนเพื่อหาทางออกมาหางานทำให้เร็วที่สุด ทำให้ นักศึกษาส่วนใหญ่ ห่างไกลกับความคิดที่จะออกมาแสดงพลังรับผิดชอบต่อสังคมเช่นในอดีต และอีกสิ่งหนึ่งที่ตนเองคิดว่ามีความสำคัญที่ทำให้ นักศึกษาไม่ออกมาแสดงบทบาท
ส่วนหนึ่งก็น่าจะมาจากการที่ อาจารย์และผู้บริหารในมหาวิทยาลัย ปิดกั้นเสรีภาพและไม่ส่งเสริมให้ นักศึกษารู้จักคิดหรือมีเสรีภาพที่จะศึกษาหาความรู้ ทำให้การสอนโดยเฉพาะความคิดในเชิงของสังคมก็เลยมักจะมุ่งเน้นไปที่การบีบ ความคิดของ นักศึกษา ให้สอดคล้องกับตัวอาจารย์ผู้สอน จนในท้ายที่สุด นักศึกษาจึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะมีความคิดอะไรที่ไม่ต่างจากตัวอาจารย์ผู้ สอนของนักศึกษาเอง
ส่วนการคาดหวังว่าพลังของ นักศึกษาจะกลับมาได้เมื่อใดนั้น นายจตุรนต์ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน มีกลุ่มองค์กรต่าง ๆ เช่น NGO หรือ พรรคการเมือง ได้พัฒนาตัวเองเข้าไปมีบทบาททางการเมืองและมีพลังมากกว่าในอดีต มาก ทำให้เชื่อว่า พลังของ นักศึกษา จะยิ่งอ่อนด้อยลงและเป็นไปไม่ได้แล้วในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้าที่ นักศึกษา จะสามารถเรียกพลังจากสังคมได้เช่นในอดีตเหมือนเมื่อสมัย 14 ต.ค.สำหรับ
นาง จิระนันท์ พิตรปรีชา อดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุล าคม เรียกร้องสังคมอย่าได้ไปตั้งความหวังหรือโยนภาระเรื่องการรักษาผลประโยชน์ ของประเทศชาติ ไปที่ คนในวัย 18 - 19 ปี เหมือนเช่นเมื่อสมัย 14 ต.ค. เพราะต้องยอมรับว่า ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในชาติเวลานี้ นั้น มีความซับซ้อนของปัญหามากกว่าเมื่อสมัย 14 ต.ค. มากนัก ซึ่งตนเองยังคิดเลยว่าหากย้อนเวลากลับไปให้บรรดาแกนนำ นักศึกษาสมัยเมื่อ 14 ต.ค.มาเคลื่อนไหวทางการเมืองกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็คงอาจจะเข้าใจปัญหาที่กำลังขึ้นได้ยากเช่นกัน เพราะในสมัยที่พวกของตนเองออกมาเคลื่อนไหวต่อสู้นั้น ปัญหามีเพียงเรื่องของเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ที่ถูกกดทับจากอำนาจของเผด็จการเท่านั้นผิดกับในปัจจุบันที่มีปัญหาทับซ้อน ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศ
จึงไม่ใช่ เรื่องแปลกอะไร หาก นักศึกษาที่มีอายุเพียง 18 - 19 ปี ในปัจจุบัน อาจจะไม่เข้าใจ และคงจะเป็นการตั้งโจทย์ที่ผิดอย่างแน่นอน หากจะเอา นักศึกษา ยุค 14 ต.ค.เป็นตัวตั้ง แล้วไปตั้งความหวังว่า นักศึกษารุ่นต่อ ๆ มา จะต้องมีบล็อคพิมพ์เดียวกันไปทั้งหมด ต้องยอมรับว่าสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ว่ามีสิ่งดึงดูดความสนใจเยาวชนมากมายและเต็มไปด้วยการแข่งขันที่สูงมากในทุก ด้านตามแบบบริโภคนิยม ดังนั้น คงเป็นการยากที่ จะเข้าใจในสภาพของสังคมที่แตกต่าง หรือเข้าไปรู้สึกถึงความทุกข์ยากของประชาชน และในเวลานี้ ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำส่วนใหญ่ของไทย ก็เต็มไปด้วย นักศึกษาในเขตเมือง ซึ่งถูกอบรมบ่มเพาะให้มีความคิดของคนชั้นกลางแบบเต็มรูปแบบไปแล้ว ผิดกับสมัยก่อนที่ เด็กจากต่างจังหวัดจะมีโอกาสได้เข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำในสัดส่วนที่ ไม่แตกต่างกันมาก จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ทั้งเด็กเมืองและเด็กต่างจังหวัดสามารถรับรู้ความแตก ต่างของสังคมเมืองและสังคมชนบท ได้ง่ายกว่ากัน และเมื่อบวกกับระบบการศึกษาไทย ที่มีทัศนะคติมองการเมืองเป็นเรื่องของความสกปรกและพยายามจะหลีกเลี่ยงทุก วิถีทางไม่ให้เยาวชนเข้าใจการเมือง เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่กระบวนการศึกษาของไทยในปัจจุบัน จะผลิต นักศึกษา ที่มีความอ่อนด้อยในเรื่องคุณภาพทางการเมือง นางจิระนันท์ กล่าว
ด้าน "ไอ้ก้านยาว" ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เปรียบ นักศึกษาในปัจจุบัน กับ นักศึกษาเมื่อสมัย 14 ต.ค. ว่า มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะเด็กหนุ่มสาวยุคนี้ ทำตัวหน่อมแน้มแสวงหาแต่ความสุขใส่ตัว ซึ่งก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ นักศึกษายุคปัจจุบัน จะลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อประเทศชาติ แต่ส่วนหนึ่งก็ต้องโทษไปที่ระบบการศึกษาไทย ที่มุ่งเน้นไปที่การสอนให้แก่งแย่งแข่งขันกันเพื่อวัตถุนิยม มากกว่าที่จะให้คิดเพื่อรับผิดชอบต่อสังคม เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย หากจะไปพูดคุยเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม กับบรรดา นักศึกษารุ่นใหม่ แล้วพบว่า พวกเค้าเหล่านั้นจะไม่เข้าใจ "
ทั้ง นี้ ผมอยากเรียกร้องให้ นักศึกษายุคนี้ ลองใช้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส โดยการริเริ่มจัดเวทีเสวนา เพื่อแสวงหาข้อมูล สำหรับทำเป็นบทสรุปในการหาทางออกให้กับสังคม ซึ่งผมเชื่อว่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดี และเป็นประโยชน์ ให้กับตัว นักศึกษา เอง และประเทศไทยต่อไปในอนาคตอย่างแน่นอน " ไอ้ก้านยาวให้ความเห็นในท้ายที่สุด
จากความเห็นของทั้ง นักศึกษาในอดีตและในปัจจุบัน ต่อการพัฒนาการแบบถอยหลังลงคลองของพลังนักศึกษายุค 2552 นี่เอง จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ ที่ผลสำรวจความเห็น ของ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ซึ่งสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศทั้งผู้ที่เคยร่วมรับรู้ในช่วง เหตุการณ์ดังกล่าวและผู้ที่ไม่ได้ร่วมรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 จะพบว่า มีเพียงร้อยละ 30.08 ที่ยังคงรับรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14ต.ค.2516 เป็นอย่างดี ในขณะที่อีกถึงร้อยละ 50.24 จะระบุว่าพอรู้บ้าง ส่วนร้อยละ 17.22 และ ร้อยละ 2.46 จะระบุว่า ไม่ค่อยรู้และไม่รู้เรื่องเลย ...
หรือจะเป็นเพราะการเมืองเลวร้าย การศึกษาไร้คุณภาพ
ทำพลังนักศึกษาสูญพันธ์
ที่มา ไทยรัฐ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1257 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 14 ต.ค. 52
เวลา 09:44:32
|