หน้าแรก | ลงโฆษณาฟรี l หางานเชียงใหม่ l เว็บบอร์ด | ตลาดออนไลน์ | อัตราค่าโฆษณา
| ผ้าพันคอ | ของชำร่วย


cmprice.com เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!

บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > เมื่อเทคโนโลยีไอทีเปลี่ยนชีวิตคน โรงพยาบาลจะเปลี่ยนตามอย่างไร
บทความ,เกร็ดความรู้ > คอมพิวเตอร์ > บทความ > เมื่อเทคโนโลยีไอทีเปลี่ยนชีวิตคน โรงพยาบาลจะเปลี่ยนตามอย่างไร
เมื่อเทคโนโลยีไอทีเปลี่ยนชีวิตคน โรงพยาบาลจะเปลี่ยนตามอย่างไร
บทความ
 
การเข้าเข้าพักรักษาตัวเป็นคนไข้ใน (IPD) ของโรงพยาบาล ถือเป็นเรื่องใหญ่ และอาจดูวุ่นวายสำหรับคนทำงาน หรือคนที่ต้องมีกิจกรรมติดต่อกับผู้คนตลอดเวลา เพราะต้องเสียเวลาการทำงาน และยังต้องนั่งๆ นอนๆ แบบอับเฉา ทำให้ชีวิตเหี่ยวเฉาตามไปด้วย กับสภาพแวดล้อมในห้องพักผู้ป่วยที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมไร้สีสัน หรือกิจกรรมที่สนุกสนานอีก ทั้งที่จริงร่างกายและจิตใจเป็นเรื่องที่เกื้อหนุนกัน หากป่วยหนักแต่กำลังใจดีก็มีโอกาสหายเร็ว แต่หากสภาพจิตใจย่ำแย่ห่อเหี่ยว ต่อให้ป่วยแค่เป็นไข้หวัดก็มีโอกาสหายช้ากว่าปกติได้          

 

 

ขณะที่ การรับการรักษาในฐานะคนไข้นอก (OPD) ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้ความรู้สึกที่ดีกว่าคนไข้ใน หากโรงพยาบาลที่เข้ารับบริการ มีคิวผู้มารอตรวจยาวเป็นหางว่าว อาจจะต้องรอนานหลายสิบนาที หรือเป็นชั่วโมงๆ เพื่อรอรับการตรวจ หรือรอรับยา และจ่ายเงินค่ารักษา ก็โชคดีที่ ขณะนี้ โรงพยาบาลหลายแห่งมีร้านค้าหรือร้านอาหารในโรงพยาบาล พอที่จะให้ผู้ที่มาใช้บริการไปช็อปปิ้ง หรือหาอะไรรับประทานได้ แต่ตัวคนไข้เองก็ไม่อาจรู้ได้ว่าถึงคิวรับยา หรือจ่ายเงินของตัวเองหรือยัง

 

               

 

 

วันนี้ IT Digest จะพาไปเยี่ยมดู โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ที่เริ่มนำเอาเทคโนโลยีไอทีเข้ามาสร้างความแตกต่างในการบริการ และทำให้คนไข้ที่พักรักษาได้มีความสุขมากขึ้น รวมถึงการที่รพ.สมิติเวชฯ ได้เลือกใช้ระบบเทคโนโลยี Radio Frequency Identification: RFID ภายใต้โครงการ “We Care” Innovation ที่ชนะเลิศการประกวด Asia Pacific Health Challenge จากโรงพยาบาลที่เข้าประกวดกว่า 20 แห่ง โดยนำเอาเทคโนโลยี Automatic Voice Response System: AVR มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ป่วยในระหว่างรอคิวรับการรักษา หรือชำระค่าบริการ รวมทั้งติดตามตำแหน่งของผู้ป่วยในโรงพยาบาลด้วย

 

               

 

 

นายเรย์มอนด์ ฌอง กรรมการผู้จัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) เล่าให้ฟังในฐานะผู้บริหารโรงพยาบาลว่า ธุรกิจด้านการรักษาพยาบาลเป็นส่วนที่มีการลงทุนอุปกรณ์การแพทย์จำนวนมหาศาล ขณะที่ด้านระบบไอทีที่มาใช้สนับสนุนกลับมีการลงทุนน้อยมาก ในอดีตโรงพยาบาลเวลาแพทย์ราวด์วอร์ด (เยี่ยมคนไข้) จะต้องหอบแฟ้มประวัติเป็นตั้งๆ มาด้วย ขณะที่คนไข้ฉุกเฉินปวดข้อมือมาหมอก็จับเอ็กซ์เรย์ แล้วส่งเข้าห้องผ่าตัดทันที ตัวคนไข้เองยังไม่รู้ตัวเลยว่าโดนอะไรบ้าง กระดูกหักจริง หรือหมอหลอกผ่ามือเพื่อเอาเงิน ส่วนคนไข้ก็ต้องนั่งจับเจ่าในห้องนั่งดูทีวีแบบเดิมๆ ไม่ได้สื่อสารกับโลกภายนอก

 

               

 

 

ซีอีโอ บ.สมิติเวชฯ เล่าให้ฟังต่อว่า เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงชีวิตคนไปมาก ธุรกิจแฮลธ์แคร์เองก็ต้องปรับตัวตาม หากดูสถิติปี 2549 มีนักท่องเที่ยว 1.2 ล้านคนเข้ามารับการรักษาพยาบาลในไทย และในจำนวนนี้มี 200,000 คนมาใช้บริการที่ รพ.สมิติเวช สุขุมวิท จึงคาดได้ว่าตลาดนี้ยังมีการเติบโตอีกมาก เมื่อคนมีอายุยืนมากขึ้น การดูแลรักษาพยาบาลก็มากขึ้นตาม เนื่องจากเป้าหมายของสมิติเวชต้องการเป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาล การผ่านการรับรอง JCI: Joint Commission International จะช่วยให้ขยายตลาดคนไข้จากสหรัฐอเมริกา และยุโรป จึงจำเป็นที่ รพ.สมิติเวชต้องสร้างศักยภาพในการให้บริการ          

 

 

ที่ผ่านมาเราเอาไอทีมาใช้แค่งานบริหาร แต่ไม่เคยเอาระบบไอทีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอบริการทางการแพทย์ที่รวดเร็วมาก่อน ก่อนหน้านี้ มีความคิดว่าจะทำอย่างไรกับคลีนิคในเครือกว่า 108 แห่ง ทำอย่างไร ให้คนไข้ของสมิติเวชเข้าถึงบริการโดยไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล แต่มีคุณภาพการให้บริการเหมือนกัน และคนไข้ปลอดภัย เทเลเมดิซิน จึงเป็นทางเลือกที่ถูกต้องของโรงพยาบาล จากที่ได้ลงทุนไปก้อนใหญ่กว่า 500 ล้านบาทยาว 5 ปีในการนำไอทีมาใช้ เพื่อก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิตอล (Digital Hospital) โดยสมิติเวชมีแนวคิดคล้ายกับ รพ.ในต่างประเทศที่ต้องทำโครงสร้างพื้นฐานก่อน ต่อไปจะทำ Infotainment และ RFID คือการทำระบบสื่อสารไอพี เพื่อเชื่อมต่อการสื่อสารทุกระบบเข้าหากัน นายเรมอนด์ กล่าว

 

              

 

 

ซีอีโอ บ.สมิติเวชฯ อธิบายว่า ความท้าทายในการก้าวสู่โรงพยาบาลดิจิตอล คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความคิดของแพทย์และพยาบาลที่จะใช้งานระบบใหม่ แต่ยังเคยชินกับระบบการำงานแบบเก่า เรื่องต่อมา คือ การเฟ้นหาโซลูชั่นไอทีที่เหมาะสม และจำเป็นที่สุดมาใช้ เลือกว่าอันไหนต้องทำก่อนหลัง เช่น Infotainment หรือ ไอพีโฟน ในการแก้ทัศนคติของบุคลากร จะต้องทำระบบให้ใช้ง่ายที่สุด เพื่อให้เปลี่ยนความคิดของแพทย์ให้ได้ โดยที่ผ่านมากว่า 6 เดือนมีการประชุมกับเจ้าหน้าที่อยู่ตลอดเกี่ยวกับระบบใหม่ จนเข้าใจกันเป็นที่เรียบร้อย         

 

               

 

ด้าน พญ.สมสิริ สกลสัตยาทร ผู้อำนวยการโรงพยาบาล สมิติเวช สุขุมวิท อธิบายรายละเอียดของโซลูชั่น Infotainment ว่า ระบบ RFID จะเข้ามาช่วยในการลงทะเบียนคนไข้ที่มารับการตรวจรักษา และเป็นการยืนยันตัวตนของคนไข้ด้วย ระบบนี้เป็น Passive RFID มีเลขรหัสประจำตัวของคนไข้ฝังอยู่ เมื่อระบบอ่านข้อมูลประวัติการรักษาก็จะขึ้นที่หน้าจอทันที และยังติดตามตำแหน่งของผู้ที่มารับบริการได้ โดยเมื่อถึงคิวตรวจ หรือจ่ายเงินรับยา ก็จะส่งข้อความเสียงเข้าไปที่มือถือคนไข้ ไม่มีการประกาศตามตัวแบบในอดีต ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัว เนื่องจากที่ รพ.สมิติเวชฯ มักมีคนดัง หรือบุคคลในแวดวงสังคมมาใช้บริการ คนเหล่านี้ไม่อยากไปต่อคิวจ่ายเงิน หรือนั่งรอตรวจกับคนทั่วไป

 

                 

 

ผอ.รพ.สมิติเวช สุขุมวิท อธิบายเสริมว่า ส่วนบริการ Infotainment ทางสมิติเวชได้นำเทคโนโลยีมาครอบคลุมการรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะสภาพจิตใจที่ดีก็ย่อมส่งผลให้คนไข้หายได้เร็วขึ้น ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยนอกจากความบันเทิงและการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่คนไข้จะได้รับแล้ว ข้อมูลการรักษา และภาพประกอบต่างๆ ก็ทำให้แพทย์สามารถเล่าและอธิบายการรักษาแก่คนไข้และญาติได้ดีมากขึ้น เข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งนี้บริการต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้บวกค่าบริการเพิ่ม ยังเก็บค่าใช้จ่ายเท่าเดิมเพื่อให้เขาได้สัมผัสประสบการณ์ดีๆ มากกว่า เพราะเมื่อคนไข้ชื่นชอบ ครั้งหน้าเขาก็เลือกที่จะมาใช้บริการอีก

 

              

 

 

พญ.สมสิริ อธิบายอีกว่า ตัวเมนูอินเทอร์เฟซของ Infotainment ในห้องพักจะมีหน้าจอเมนูหลัก ที่คนไข้สามารถเลือกได้ทั้ง ฟรีทีวี เคเบิลทีวี อินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ เพื่อดูเว็บไซต์ หรือเข้าเช็คอีเมล์ แต่ไม่สามารถใช้โปรแกรมสนทนา หรือดาวน์โหลดได้ สามารถเข้าดูตารางการออกตรวจของแพทย์เฉพาะทาง และทำนัดได้ทันทีจากหน้าจอแอลซีดี รวมถึงอ่านคอนเทนท์เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ ที่ทางโรงพยาบาลจัดทำขึ้นได้

 

               

 

ผอ.รพ.สมิติเวช สุขุมวิท อธิบายด้วยว่า อีกส่วนที่กำลังเพิ่มเติม คือ ข้อมูลของร้านค้า และโฟน ไดเรกทอรี ร้านค้าในโรงพยาบาลที่อนาคต คนไข้สามารถซื้อสินค้าออนไลน์ได้ หรือโทรสั่งอาหารจากร้านอาหารมาที่ห้องพักได้ สำหรับข้อมูลบริการทางการแพทย์ จะมีเฉพาะแพทย์เท่านั้นที่เข้าถึงข้อมูลคนไข้ได้ มีระบบความปลอดภัยสูง ในการดึงข้อมูลการรักษาต่างๆ โดยทุกครั้งที่มีการเข้าระบบจะมีการบันทึกผู้เข้าระบบทุกครั้งจึงมั่นใจได้ในความปลอดภัยของข้อมูลการรักษา

 

               

 

 

ทั้งหมดนี้ คือแนวการดำเนินการปรับรูปโฉมของการบริการของโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ในยุคที่โลกไซเบอร์สเปซกำลังเข้าสู่ยุคเว็บ 2.0 โรงพยาบาลเองก็ต้องปรับเปลี่ยนตามวิถีการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่และเป็นการสะท้อนการใช้งานโซลูชั่นไอทีในองค์กรว่า เป็นเครื่องมือมาเสริมธุรกิจหลัก ทำให้โรงพยาบาลต่อยอดสร้างบริการใหม่ๆ ได้

 

 

 

สิ่งที่อยากเห็นต่อไป คือโรงพยาบาลที่อื่นๆ โดยเฉพาะของภาครัฐหันมาปรับตัว นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อกระจายโอกาสให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการทางสุขภาพที่เท่าเทียมและทั่วถึง ก็จะเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว...

 

 

 

จุลดิส รัตนคำแปง

 

Itdigest@thairath.co.th

 



บทความจาก : ไทยรัฐ
 

ปิดโฆษณานี้X

ผ้าพันคอราคาถูก

ปิดโฆษณานี้X

จำหน่าย ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าฝ้ายทอมือ ราคาส่ง ราคาถูก เริ่มต้นที่ 25 บาท/ผืน ผลิตจากผ้าฝ้ายแท้ 100%โซ่สเตอร์และวงล้ออลูมิเนียม ดี.ไอ.ดี ถูกผลิตขึ้นโดยเทคโนโลยีของประเทศญึ่ปุ่น และส่งไปยังผู้ประกอบการรถมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกเครื่องฟอกอากาศ pm2.5 Oxygen สุดคุ้ม ราคาถูก 1,490 ลำพูน-เชียงใหม่ ส่งฟรี!
www.cmprice.com เว็บไซต์ที่คนเข้าชมมากที่สุดในเชียงใหม่ !!! เห็นชัด เห็นบ่อย ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพียง 1500 บาทต่อเดือน
สนใจลงโฆษณาตรงนี้ ติดต่อ 080-500-1180

 


หน้าแรก l หางานเชียงใหม่ | ตลาดออนไลน์ | เว็บบอร์ด | อัตราค่าลงโฆษณา | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี | ติดต่อเรา


เพื่อนบ้านเราทั้งหมด วิธีแลก Link

© cmprice.com since 14 Jan 2005
E-mail: info@cmprice.com
FaceBook : facebook.com/cmprice.fc
TEL. 08-0500-1180
Line id: cmprice









www.cmprice.com ที่นี่มีสิ่งดีๆ รอคุณอยู่
ผู้สนับสนุน แบบพิเศษ

บ้านหนองช้างคืน | เครื่องฟอกอากาศ เชียงใหม่-ลำพูน | ผ้าพันคอราคาถูก | ของชำร่วย | ลงโฆษณาฟรี ประกาศฟรี