|
|
|
|
อุตสาหกรรมสัญลักษณ์รหัสแท่งสำหรับแสดงข้อมูลสินค้า ตามแนวทางของระบบ EAN นี้ด้วย มาตรฐาน EAN จะแบ่งได้เป็น 2 ระบบคือ EAN-8 และ EAN-13 ซึ่งได้กำหนดตำแหน่งหรือหลักของตัวเลขแปดและสิบสามหลักไว้ดังนี้ รหัสประเทศ (Country Code) ทางสำนักงานของ EAN ที่ประเทศเบลเยี่ยมเป็นผู้กำหนดขึ้น แต่ได้สำรองรหัส 20 ถึง 29 เป็นรหัสที่ใช้เฉพาะของร้านค้าเองเพื่อไม่ให้กระทบกับระบบรหัสแท่งที่กำกับในตัวสินค้าที่มาจากโรงงานผู้ผลิตโดยตรงซึ่งอาจมาจากต่างประเทศ รหัสผู้ผลิต (Manufacturer) เป็นรหัสที่แต่ละประเทศเป็นผู้กำหนด ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต่าง ๆ จะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่เป็นตัวแทนของ EAN โดยเสียค่าสมาชิกแรกเข้าและค่าสมาชิกรายปี หน่วยงานตัวแทนของ EAN จะเป็นผู้ดูแลกำหนดรหัสแก่สมาชิก รหัสตัวสุดท้ายเรียก Check digit จะใช้เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น มาตรฐานระบบรหัสแท่งสำหรับกำกับสินค้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน จะแบ่งได้เป็นสองระบบคือ UPC ที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา และ EAN ที่ใช้ในทวีปยุโรปและเอเชีย ระบบ EAN นี้ คาดว่าจะเป็นมาตรฐานของประเทศไทย เพราะบริษัทต่าง ๆ ในประเทศได้รับระบบรหัสแท่งของ EAN เข้ามาใช้งานและสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ก็ได้ร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยระบบจะสร้างตัวเลขของหลักนี้ขึ้นเอง ตามข้อมูลตัวเลขที่นำมาก่อนของทั้งเจ็ดหลักหรือสิบสองหลัก ในการอ่านข้อมูลจากรหัสแท่งจะมีการตรวจสอบนำตัวเลขเจ็ดหลักหรือสิบสองหลักแรกมาเข้าสุตรคำนวณเดียวกับการสร้างตอนแรก ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ต่างกันแปดหรือหลักที่สิบสามที่อ่านเข้ามาก็จะฟ้องบอกความผิดพลาดขึ้น โครงสร้างมาตรฐาน EAN-13 จะเป็นระบบที่มีแนวโน้มของการนำมาใช้สูงกว่าแบบ EAN-8 เพราะสินค้าต่าง ๆ ที่นำมาขายภายในห้างสรรพสินค้าอาจมาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ที่มีรหัสแท่งกำกับตัวสินค้ามาแล้ว ซึ่งสินค้าเหล่านั้นจะต้องมีรหัสแท่งของประเทศรวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนรหัส 12 หลัก เนื่องจากประเทศของเรายังมีบริษัทผู้ผลิตสมัครเป็นสมาชิก EAN อยู่ไม่มากนัก เพราะยังไม่มีความมั่นใจหรือเห็นประโยชน์ของการสมัครเป็นสมาชิกของ EAN สินค้าต่าง ๆ ที่ผลิตในประเทสส่วนใหญ่จึงไม่มีการกำกับรหัสแท่งกับตัวสินค้าไว้ก่อน การใช้รหัสแท่งภายในห้างสรรพสินค้าปัจจุบัน จึงเป็นลักษณะของการกำหนดรหัสขึ้นใช้เอง ซึ่งทำให้เสียเวลาสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และรหัสที่กำหนดไม่ได้มาตรฐานมีโอกาสซ้ำซ้อนผิดพลาดได้ง่าย ขณะนี้หน่วยงานที่เป็นตัวแทนของ EAN ในประเทศไทย ยังเป็นบริษัทเอกชน ซึ่งบริษัทผู้ผลิตหลายแห่งเห็นว่าตัวแทนของ EAN ควรเป็นหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อมาดูแลกำหนดรหัสแก่สมาชิกมากกว่าจะเป็นบริษัทเอกชน เท่าที่ผ่านมา บริษัทตัวแทนของ EAN ในประเทศไม่มีการประชาสัมพันธ์ หรือชี้บอกข้อดีและประโยชน์ของระบบ EAN ต่อบริษัทผู้ผลิตต่าง ๆ ดีเท่าที่ควร จึงเกิดการเข้าใจผิด และไม่ยอมเข้าร่วมเป็นสมาชิกตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าบริษัทผู้ผลิตหันมาใช้ระบบ EAN กำกับรหัสแท่งกับสินค้ามาจากโรงงานอย่างเต็มที่ ห้างสรรพสินค้าจะให้บริการการซื้อขายสินค้าให้กับเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รหัสแท่ง (Bar Code) นอกจากนำมาใช้กำกับสินค้าแล้ว เรายังนำมาประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ได้อีกมาก เท่าที่พบเห็นกันมาก ๆ ได้แก่ การนำรหัสแท่งมากำกับหนังสือและบัตรสมาชิกเพื่อการยืมหนังสือในห้องสมุด การกำกับรหัสแท่งกับเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการควบคุมปริมาณและคุณภาพ เป็นต้น ระบบรหัสแท่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ ก็อยากชักชวนให้พวกเรานำมาใช้งานกันมาก ๆ ในหลาย ๆ ด้าน |
|
|
|
|
|
|