สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ออกจดหมายด่วนที่สุด ถึงผู้อำนวยการสำนัก และหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2554
เรื่องขอเรียนเชิญร่วมพิธีไล่น้ำ
ด้วยกรุงเทพมหานครได้กำหนดจัดพิธีไล่น้ำ ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 เวลา 14.39 น. ณ ศาลหลักเมือง เพื่อวิงวอนร้องขอแม่พระคงคาช่วยบันดาลให้น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงขอเชิญท่านร่วมในพิธีดังกล่าว โดยมีกำหนดการดังนี้
เวลา 14.39 น. พิธีบวงสรวง (พิธีพราหมณ์)
เวลา 15.09 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
โดยพร้อมกัน เวลา 14.00 น. ณ ศาลหลักเมือง การแต่งกายชุดผ้าไทย หรือ ชุดสุภาพ
Mthai News
หาก ย้อนไปสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงฤดูน้ำหลากจนเกิดน้ำท่วมเรือกสวนไร่นา จนไม่สามารถที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้คนสมัยก่อนเขาก็จะมีประเพณีที่จะทำให้ น้ำลดหรือให้น้ำไหลออกไปจากไร่นาเพื่อที่จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ซึ่งเขาจะเรียกพิธีนี้ว่า การไล่เรือหรือ
พิธีไล่น้ำ ซึ่งนับว่าเป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างมาก
ซึ่ง เรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมดังกล่าวได้ปรากฏเอกสารโบราณเช่น ทวาทศมาส รวมทั้งบันทึกของชาวต่างชาติที่เดินทางเขามากรุงศรีอยุธยา ดังเช่นในบันทึกของนิโคลาส แชรเวส ระบุว่า สมเด็จพระนารายณ์ฯ เสด็จไปประกอบพระราชพิธีฟันน้ำเพื่อมิให้น้ำท่วมมากขึ้นแต่ในกฎมณเทียรบาล เรียกพิธีกรรมดังกล่าวว่า “ไล่เรือ”
ในส่วนของขั้นตอนของการประกอบ
พิธีไล่น้ำนั้น กล่าวกันว่า พระเจ้าแผ่นดินต้องประทับเรือพระที่นั่ง และขุนนางผู้ใหญ่ตามเสด็จเป็นขบวนใหญ่ โดยขบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคจากพระนครศรีอยุธยาแล้วล่องตามลำแม่น้ำลงไปทาง ทิศใต้ เมื่อล่องเรือไปถึงสถานที่ที่กำหนดก็ทำพิธีอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาก่อน เช่น ตั้งเครื่องบัดพลีทำพิธีเรียกขวัญสู่ขวัญแม่พระคงคา มีการร้องลำนำเห่กล่อม
หลังจากนั้นพระเจ้าแผ่นดิน “เสด็จออกยืน” กลางเรือพระที่นั่ง แล้ว “ทรงพัชนี” ซึ่งก็คือการถีอพัดศักดิ์สิทธิ์โบกไปมาเหนือน้ำ โดยจะโบกในลักษณะจากเหนือลงใต้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้พัดที่ทรงถือและโบกนั้น ขอให้เกิดลมมาพัดกระแสน้ำให้ไหลลงเร็วๆ น้ำจะได้ลดลงนอกจากนี้แล้วในการประกอบพิธีก็อาจจะมีการใช้ดาบศักดิ์สิทธิ์ ฟันสายน้ำให้ขาดเพื่อเร่งรัดให้น้ำลดลงอีกด้วย
ดังที่ปรากฏอยู่ในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า พิธีไล่เรือ หรือ
พิธีไล่น้ำ แต่ก่อนนั้นพระเจ้าแผ่นดินเสด็จทรงเรือพระที่นั่งในเวลาน้ำขึ้น “รับสั่งให้น้ำลด แล้วทรงพระแสงฟันลงไป น้ำก็ลดตามพระราชประสงค์”
ใน ส่วนของช่วงเวลาที่มีการประกอบพิธีดังกล่าวนั้นกล่าวกันว่าเป็นประเพณีที่ทำ กันในช่วงเดือนอ้ายนะคะแต่ก็อาจจะไม่ได้ทำกันทุกปีหรอกค่ะแต่อาจจะทำกัน เฉพาะปีที่เกิดน้ำท่วมค่ะ แม้ว่าในปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวก็ได้มีการยกเลิกไปแล้วแต่เราก็คงจะเห็น ถึงความสำคัญของพิธีกรรมดังกล่าวนะคะว่าเป็นพิธีกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจ ให้แก่ประชาชนในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก
ขอบคุณข้อมูลจาก ฝ่ายวิชาการ EQ Plus
http://news.mthai.com/headline-news/133952.html