• บริษัทรับเหมาซ่อม"วัดพระธาตุลำปางหลวง" ลายทองอายุ300ปี เละ! |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 23 มี.ค. 55 เวลา 09:20:43 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
|
|
ซ้าย: ก่อนซ่อม , ขวาหลังซ่อม |
ขวา ก่อนซ่อม | ซ้ายหลังซ่อม |
นายสุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร้องเรียนหนังสือพิมพ์ข่าวสด ว่าบริษัทรับเหมาที่กรมศิลปากรเป็นผู้คัดเลือกให้ซ่อมแซมวัดพระธาตุลำปาง หลวง โบราณสถานสำคัญคู่เมืองลำปาง ตั้งอยู่ที่ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ได้ทำลาย ลายคำ ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทวดาพนมมือ อายุไม่น้อยกว่า 300 ปี ประดับอยู่ที่ประตูวิหารพระพุทธ ที่มีอายุ 500 ปี ได้รับการยกย่องว่าเป็นลวดลายขนาดใหญ่ และงดงามที่สุดของศิลปะล้านนาที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้รับความเสียหายจากการปิดทอง และเขียนลวดลายใหม่ทับลวดลายเดิม กลายเป็นของใหม่ เช่นเดียวกับวิหารน้ำแต้มที่ซ่อมแซม และส่งผลให้ลายคำเสียหาย
นายสุรชัยกล่าวว่า โบราณสถานในวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ วิหารน้ำแต้ม เป็นรูปแบบศิลปกรรมดั้งเดิมของอาณาจักรล้านนายุครุ่งเรืองไว้มากที่สุด และสมบูรณ์ที่สุดเพียงแห่งเดียวที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่จ.เชียงใหม่ อันเป็นเมืองหลวงของล้านนา ก็ยังเหลืออยู่ไม่สมบูรณ์เท่าวัดพระธาตุลำปางหลวง โดยเฉพาะวิหารพระพุทธ อายุราว 500 ปี เหลือเพียงไม่กี่หลังในปัจจุบัน
อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ กล่าวต่อว่า แต่การซ่อมแซมวิหารพระพุทธครั้งล่าสุด ที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา จากบริษัทรับเหมาที่ผ่านการคัดเลือก และควบคุมการซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร สร้างความเสียหายต่อลายคำ รูปเทวดาพนมมือขนาดใหญ่ 2 องค์ ที่ประดับอยู่ที่ประตูวิหาร ซึ่งถูกซ่อมด้วยการปิดทอง แล้วเขียนลายใหม่ทับลงไปบนลวดลายเดิม จนไม่เหลือร่องรอยฝีมือช่างของเดิมแม้แต่น้อย ทำให้กลายสภาพเป็นลวดลายของใหม่โดยสิ้นเชิง อีกทั้งเป็นฝีมือช่างที่หยาบ ต่างจากลวดลายเดิมก่อนการซ่อมที่มีความประณีตงดงาม เส้นสายในลวดลายเต็มไปด้วยความมีชีวิต
นายสุรชัยกล่าวอีกว่า งานลายคำฝีมือช่างแต่เดิมของวิหารพระพุทธ มีอายุไม่น้อยกว่า 300 ปี เป็นการสร้างลวดลายบนผิวทองคำเปลว ด้วยเทคนิคพิเศษ คือใช้วัสดุปลายแหลมขูดเป็นเส้นที่เล็กราวเส้นผม เป็นลายเทวดาประดับด้วยเครื่องทรงอย่างละเอียดประณีต เทคนิคการขูดลายเส้นบนผิวทองคำเปลวนี้ ช่างล้านนาเรียกว่า ฮายดอก เป็นเทคนิคการทำลายคำ หรือลายทองที่พบเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น และไม่ปรากฏการสืบทอดฝีมือช่างเช่นนี้อีกแล้วในปัจจุบัน หาชมได้เฉพาะลำปางเท่านั้น และลายเทวดาของเดิมเป็นลวดลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าคนจริง และเป็นลายฮายดอก หรือขูดลายทองที่ได้รับการยกย่องว่า งดงามที่สุดของศิลปะล้านนา
(เนื้อหานี้ จะลบตัวเองภายใน 24 ชม. หากใครต้องการอ่านเนื้อหาจะลิงค์ไปยังที่มาต้นฉบับ)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 4397 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 23 มี.ค. 55
เวลา 09:20:43
|