• ปิดช่องไทยรักไทยอุทธรณ์ “จรัญ”ชี้คำวินิจฉัยเป็นที่สิ้นสุด |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 01 มิ.ย. 50 เวลา 14:22:33 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
จากกรณีที่นายจาตุรนต์
ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้มอบหมายให้นายพงศ์เทพ
เทพกาญจนา ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ไปศึกษาว่า
จะสามารถอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของตุลาการรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
วานนี้ (31 พ.ค.) นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม
กล่าวถึงคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคการเมือง ว่า
เป็นคดีประวัติศาสตร์ ที่จะเป็นแบบอย่างให้กับสังคมไทย
ในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
และเห็นว่าพรรคที่ถูกยุบไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้
เนื่องจากเป็นระเบียบของศาลรัฐธรรมนูญที่ถือว่า คำวินิจฉัยเป็นที่สิ้นสุด
“พรรคการเมืองที่ถูกตัดสินให้ยุบพรรค
แม้ว่าจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ เพราะระบบของศาลรัฐธรรมนูญเป็นศาลเดียว
วินิจฉัยแล้วก็จบ
แต่คิดว่าสังคมไทยน่าจะให้โอกาสแก่คนของพรรคดังกล่าวให้มีที่ยืนอยู่ในสังคม
ทำกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ โดยอยากให้ปรับแก้กฎระเบียบต่าง ๆ
เพื่อให้โอกาสสมาชิกพรรคที่ถูกยุบ
ไม่รู้เห็นเกี่ยวข้องกับการทำผิดพลาดของพรรค
ได้มีโอกาสจัดตั้งพรรคขึ้นมาใหม่โดยเร็วที่สุด
จะได้ร่วมกันตั้งต้นนับหนึ่งใหม่
ใช้เหตุการณ์ในอดีตเป็นบทเรียน
และให้โอกาสร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองให้กับบ้านเมืองต่อไปให้เร็วที่สุด
ซึ่งการแก้กฎระเบียบต้องช่วยกันทุกฝ่าย
โดยกฎระเบียบที่จำเป็นต้องปรับปรุงแน่นอนที่สุด คือ
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15” ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าว
สำหรับกรณีที่คณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ทั้ง 111 คน
ที่ถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง นายจรัญ กล่าวว่า
กฎหมายห้ามไปใช้สิทธิ์ในการสมัครรับเลือกตั้ง
แต่ไม่ได้ห้ามการที่จะทำงานให้กับบ้านเมือง คือ ทั้ง 111 คน
อาจจะเสียสละไม่รับตำแหน่งอะไรในทางการเมือง แต่น่าจะทำกิจกรรม
ทำประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ให้แก่สถาบันการเมืองและแวดวงการเมืองของประเทศได้
ต่อกรณีการขอยื่นจดทะเบียนในชื่อพรรคการเมืองเดิมนั้น นายจรัญ
กล่าวว่า ไม่คิดว่าจะมีกฎหมายใดที่ห้าม ขึ้นอยู่กับการตีความ
และการตีความน่าจะตีความไปในทางที่ส่งเสริม
หรือเปิดโอกาสให้คนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ
จะดีกว่าการตีความกฎหมายไปในทางที่กีดกัน
ส่วนการอ่านคำวินิจฉัยที่ค่อนข้างใช้เวลา ปลัดกระทรวงยุติธรรม
กล่าวว่า ในคดีสำคัญ ๆ ก็มี นานๆ จะมีสักครั้ง แต่อาจจะรวบรัดในเวลาอ่าน
โดยไม่อ่านทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ 100-200 หน้า
แต่คดีนี้เป็นโอกาสสำคัญที่ประชาชนสนใจและประชาชนเคลือบแคลง
อาจจะถูกชี้นำไปในทางใดทางหนึ่ง
การอ่านทั้งหมดอย่างละเอียดก็เป็นการช่วยบรรเทาปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนได้บ้าง
จำเป็น ถึงแม้ว่าจะเป็นภารกิจที่ต้องเหนื่อยยาก แต่ผลออกมาคิดว่าคุ้มค่า
ที่มาจาก
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1135 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 01 มิ.ย. 50
เวลา 14:22:33
|