• มช.ไอเดียเจ๋ง คิดค้น "เครื่องยนต์เชื้อเพลิงคู่"ประหยัดน้ำมัน |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 30 มิ.ย. 50 เวลา 01:53:48 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน (สวพ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิจัยพัฒนาและคิดค้น "เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่" แบบใหม่ CMU-800
ใช้ก๊าซชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันดีเซล
มั่นใจช่วยประหยัดน้ำมันได้มากถึง 80-90%
พร้อมขยายองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ
เพื่อลดค่าใช้จ่ายได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผศ.ดร.อนุชา
พรมวังขวา รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน (สวพ.)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันก๊าซชีวภาพ
เป็นพลังงานทดแทนอีกทางเลือกหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าโดยใช้ชุดเครื่องยนต์
ซึ่งเครื่องยนต์ที่ใช้จะดัดแปลงมาจากเครื่องยนต์ดีเซล หรือแก๊ซ โซลีน
โดยติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมให้สามารถทำงานได้
แต่ก็ยังพบว่าเครื่องยนต์ที่ได้ยังให้ประสิทธิภาพต่ำและมีการสึกหรอของเครื่องยนต์สูง
มีอายุการใช้งานสั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน(สวพ.) มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ จึงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
กระทรวงพลังงาน ให้ดำเนินงานโครงการ "พัฒนาเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่"
ที่สามารถใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับน้ำมันดีเซลได้ ทั้งนี้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตกระแสไฟฟ้า ยืดอายุการทำงานของเครื่องยนต์
และลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผศ.ดร.อนุชา กล่าวต่อว่า การดำเนินงานในช่วงระยะแรกของโครงการฯ
ได้ทำการทดสอบเครื่องยนต์ดีเซลระบบเชื้อเพลิงคู่ขนาดเล็กของเกษตรกร
พบปัญหาหลักที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่คือเครื่องยนต์ดับโดยไม่ทราบสาเหตุ
เดินไม่เรียบ เกิดเขม่ามากเกินไป เครื่องยนต์ทำงานไม่ต่อเนื่อง
และมีการสึกหรอสูง จึงได้ทำการศึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยพบว่า
สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องยนต์ดับอยู่บ่อยครั้ง คือ
ปริมาณความชื้นในก๊าซชีวภาพ
ส่วนสารประกอบกำมะถันหรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องยนต์ดับ
แต่จะมีผลในระยะยาวต่อเครื่องยนต์คือ จะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆ
ของเครื่องยนต์เกิดการสึกหรอ
ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ดีควรกำจัดหรือลดปริมาณความเข้มข้นของปริมาณความชื้นและสารประกอบกำมะถันลง
ก่อนที่จะนำก๊าซชีวภาพไปใช้กับเครื่องยนต์ต่อไป
นอกจากนี้
ยังได้ทำการปรับแต่งเครื่องยนต์และการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางอย่าง
เพื่อทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
รวมถึงการคิดค้นและออกแบบอุปกรณ์ที่จะทำให้เครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่มีอายุการทำงานที่ยาวนานขึ้น
โดยเริ่มจากการปรับปรุงระบบวิธีการนำก๊าซชีวภาพมาเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับน้ำมันดีเซลใหม่
และใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ผสมอากาศกับก๊าซชีวภาพ
เป็นไอดีเข้าห้องเผาไหม้ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า
ท่อเวนทูรี่เป็นตัวเพิ่มแรงดูดก๊าซชีวภาพ
และช่วยผสมคลุกเคล้ากับอากาศให้เป็นส่วนผสมเดียวกัน
สำหรับการจุดระเบิดยังใช้น้ำมันดีเซลประมาณ 10-20%
ฉีดเข้าห้องเผาไหม้เหมือนเดิม ส่วนอีก 80-90 % ได้จากการใช้ก๊าซชีวภาพ
หรือกล่าวได้ว่า จะช่วยประหยัดน้ำมันได้มากถึง 80-90%
แต่เนื่องจากก๊าซชีวภาพที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงนั้นจะมีปริมาณความชื้นและสารประกอบกำมะถันสูง
ทำให้มีฤทธิ์เกิดการกัดกร่อน
ส่งผลต่อเครื่องยนต์ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นลง ดังนั้น ทางโครงการฯ
จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาออกแบบอุปกรณ์สำหรับการบำบัดก๊าซชีวภาพ
ก่อนจะนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ระบบเชื้อเพลิงคู่
หรือที่เรียกว่า ชุดอุปกรณ์ทำความสะอาดก๊าซชีวภาพ
ซึ่งจะทำหน้าที่ลดปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
และปริมาณความชื้นในก๊าซชีวภาพให้เหลือน้อยลง
ช่วยยืดอายุการทำงานและชั่วโมงการทำงานของเครื่องยนต์ให้เทียบเท่ากับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล
100% และทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ผศ.ดร.อนุชา กล่าวทิ้งท้ายว่า ขณะนี้ ทางโครงการฯ
ได้สร้างเครื่องยนต์เชื้อเพลิงคู่ CMU-800 จำนวน 2 ชุด คือ
เครื่องยนต์ขนาดกลางเป็นเครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 89 แรงม้า จำนวน 1 ชุด
และเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กทางการเกษตรกรรมสูบเดียว ขนาด 8 แรงม้า จำนวน
1 ชุด โดยจะทำการสาธิต ณ ฟาร์มตัวอย่าง
พร้อมกับการตรวจวัดและการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ
สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหา- วิทยาลัยเชียงใหม่ โทร.0-5394-2007-9 ต่อ
109 ในวันและเวลาราชการ.
ที่มา ไทยนิวส?
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1988 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 30 มิ.ย. 50
เวลา 01:53:48
|