• แหลมผักเบี้ย-หนองหาร โครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม |
โพสต์โดย จ.ส.อ.ชยกร วัจนลักษณ์ , วันที่ 15 พ.ค. 56 เวลา 13:44:13 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
สิ่ง แวดล้อมเป็นอีกปัญหาที่ได้รับการแก้ไขด้วยโครงการพระราชดำริ โดยส่วนของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยเป็นโครงการตาม แนวพระราชดำริในการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอย และรักษาสภาพป่าชายเลน ทั้งนี้ แบ่งการบำบัดเป็น 2 ส่วนคือระบบบำบัดหลักและระบบบำบัดรอง สำหรับระบบบำบัดหลักนั้น ซึ่งมีบ่อสำหรับตกตะกอนและปรับสภาพน้ำเสียจำนวน 5 บ่อ โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อไปยังบ่อบำบัดและในบ่อสุดท้ายจะมีคณะวิจัยตรวจสอบ คุณภาพน้ำก่อนส่งต่อ
ส่วนระบบบำบัดรองนั้นอาศัยการบำบัดโดยธรรมชาติ ประกอบด้วย
1.ระบบบึงชีวภาพ ซึ่งจะปลูกพืชที่สามารถเจริญได้ดีในน้ำขังเสีย ดูดซับสารพิษและสารอินทรีย์ได้ เช่น กก อ้อ เป็นต้น
2.ระบบกรองน้ำเสียด้วยหญ้า เช่น หญ้าเนเปีย หญ้าแฝก หญ้านวลน้อย หญ้ารูซี่ เป็นต้น โดยจะส่งน้ำเสียไปขังในแปลงหญ้าเป็นระยะ ๆ
3.ระบบกรองด้วยป่าชายเลน โดยในพื้นที่ป่าชายเลนจะปลูกโกงกาง แสมขาว เป็นต้น เพื่อให้มีสภาพใกล้เคียงธรรมชาติ น้ำที่ผ่านป่าชายเลนก็จะได้การบำบัดตามธรรมชาติ
นอก จากนี้ยังมีโครงการตามพระราชดำริเพื่อบำบัดน้ำเสียใน อ.เมือง จ.สกลนคร ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้วิจัยและพัฒนาระบบ บำบัดน้ำเสีย โดยได้ทรงทอดพระเนตรน้ำเสียบริเวณหนองสนม ข้างโรงงานผลิตน้ำประปา ซึ่งมีแนวทางแก้คือรวบรวมน้ำเสียมาระบายลงหนองหารเป็นจุดเดียวกัน เพื่อจัดทำโครงการบำบัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติรวมกับการใช้เทคโนโลยีแบบ ประหยัด
น้ำเสียจากตัวเมืองสกลนครจะถูกรวบรวมโดยระบบท่อส่งและผ่านการบำบัดให้ดีใน ระดับหนึ่ง ก่อนส่งต่อไปยังแปลงพืชน้ำบำบัดแล้วระบายลงสู่หนองหารต่อไป สำหรับพืชน้ำที่ใช้บำบัดน้ำเสีย ได้แก่ ธูปฤาษี กกเล็ก แพงพวยน้ำ บอน ผักตบชวา หญ้าปล้องละมาน เป็นต้น
แกล้งดิน เร่งกำมะถันทำปฏิกิริยา ไล่หน้าดินเปรี้ยว จาก ปัญหาดินเปรี้ยวในบริเวณป่าพรุที่ถูกน้ำท่วมในจังหวัดนราธิวาส เนื่องจากมีสารประกอบไพไรท์ซึ่งมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริให้ทดลอง “แกล้งดิน” ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนแล้วปลดปล่อยกำมะถันออกมา ทำให้ดินเปรี้ยวจัดจากนั้นปรับปรุงดินด้วยการใช้น้ำร่วมกับปูนมาร์ลหรือปูน ฝุ่นแล้วไถพลิกกลบดิน ความเป็นเบสของปูนจะทำให้ดินซึ่งเปรี้ยวจัดถูกกระตุ้นให้ “ช็อก” จึงปรับสภาพสู่สภาวะปกติ จนกระทั่งเพาะปลูกข้าวได้
การ ปรับพื้นที่และยกร่องก็เป็นวิธีระบายกรดบนหน้าดินอีกทางหนึ่ง ส่วนจะปลูกพืชชนิดใดนั้นต้องปรับพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น หากจะปลูกข้าวต้องปรับดินให้ลาดเอียงเพื่อให้น้ำไหลออก หากจะปลูกผักหรือพืชไร่อื่นให้ยกร่องและทำคูเพื่อป้องกันน้ำท่วม นอกจากนี้ยังต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับให้ดินเป็นกลาง หรืออาจจะใช้น้ำจืดชะล้างก็ได้แต่ใช้เวลานาน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 790 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย จ.ส.อ.ชยกร วัจนลักษณ์
IP: Hide ip
, วันที่ 15 พ.ค. 56
เวลา 13:44:13
|