• คลังภาพ - ประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงแห่งนครเชียงใหม่ (30 มิ.ย. 56) |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 30 มิ.ย. 56 เวลา 14:46:08 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
"ประเพณีฟ้อนบวงสรวงบรรพกษัตริย์อารักษ์หลวงแห่งนครเชียงใหม่"
ภาพบรรยากาศในตอนเช้า ร่วมด้วยช่วยกันหากผู้รู้ผู้ใดยากเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีนี้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่เด็กรุ่นหลังได้ศึกษา สามารถโพสบอกเล่าเรื่องตามภาพได้เลยครับ ภาพข่าวโดย Chiangmai Event Weekly เชียงใหม่ อีเว้นท์วีคลี่
ผีมด - ผี เม็ง คืออะไร?
ผีมด - ผีเม็ง ก็คือ ผีบรรบุรุษ การฟ้อนผีมดผีเม็งก็คือ การรำเพื่อสังเวย ต่อผีบรรพบุรุษที่อยู่ในตระกูลลหรือเครือญาติเดียวกัน ซึ่งจะจัดเมื่อครบรอบปี 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง หรือแล้วแต่สะดวกว่า หรือว่าจะฟ้อนแก้บนก็มี
การฟ้อนผีมดผีเม็งนี้ คาดว่ามาจากพวกมอญ เพราะเครื่องแต่งตัวจะแต่งแบบมอญโบราณ และพวกมอญ คนล้านนาจะเรียกว่า "เม็ง" ส่วน ผีมด กับ ผีเม็ง นั้น จะแตกต่างกันอยู่ที่สัญลักษณ์อย่างหนึ่งซึ่งก็คือ การฟ้อนผีเม็ง จะมีกระบอกปลาร้าเป็นเครื่องสังเวย และมีคำพูดติดปากคนล้านนาว่า "เมงน้ำฮ้า" และก่อนที่จะมีพิธี ก็จะสร้าง ผาม หรือ ปะรำ ภายในก็จะมีเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ เช่น หัวหมู ไก่ต้มทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ฯลฯ ใส่ไว้ในภาชนะวางไว้บนร้าน ซึ่งเป็นเหมือนกับศาลเพียงตา สูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร และมีราวผ้า ซึ่งมีผ้าโสร่งใหม่ ผ้าพาดบ่า และผ้าโพกหัว พาดไว้ ส่วนตรงกลางผาม จะมีผ้าขาวห้อยลาดถึงพื้น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2408 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 30 มิ.ย. 56
เวลา 14:46:08
|