• ประวัติสลากย้อม และสลากย้อมในปัจจุปัน ของเมืองลำพูน |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 11 ก.ย. 56 เวลา 13:37:21 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
การทานสลากย้อม ภาคเหนือนิยมเรียกว่า “การทานก๋วยสลาก” สำหรับจังหวัดลำพูน โดยเฉพาะที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ทำเป็นประเพณีทุกปี (ปัจจุบันการทานสลากย้อมยังมีอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากสลากย้อมเป็นสลากที่มีขนาดใหญ่และต้องใช้เวลามากในการจัดเตรียมข้าวของและจัดทำสลากดังกล่าวนี้) คือการทานสลากภัตต์ในวันเพ็ญเดือนสิบ ส่วนวัดอื่นๆจะทานก็ได้ไม่ทานกได้ แล้วแต่การตกลงของชาวบ้าน ถ้าวัดใดจะทานสลากต้องทานหลังจากวัดพระธาตุหริภุญชัยทานแล้วถือเป็นประเพณีปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้
การทานสลากย้อมเป็นทานใหญ่ชนิดหนึ่งที่ต้องใช้เงิน ใช้เวลาในการแต่งดา โดยเฉพาะในตำบลริมปิง ประตูป่า และตำบลอุโมงค์อำเภอเมืองลำพูน ในการทานสลากของเขามีการทานสลากย้อมด้วย การทานสลากย้อมนี้ โดยในอดีตเชื่อกันว่าเป็นหน้าที่ของหญิงสาวที่จะพึงทานโดยเฉพาะ ฉะนั้น เมื่อหญิงสาวคนใดอายุขัยอยู่ในวัยการเป็นสาว มีความสามารถพอที่จะทำงานได้ พ่อแม่ก็จะแนะนำให้ลูกทราบถึงหน้าที่ที่หญิงสาวพึงปฏิบัติเป็นเบื้องแรก คือการเก็บหอมรอมริบเงินทองที่หามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง เพื่อรักษาไว้ทานสลากย้อม โบราณกล่าวว่าหญิงใดยังไม่ได้ทานสลากย้อมหญิงนั้นไม่สมควรจะแต่งงาน ถ้าหญิงใดทานสลากย้อมแล้วเขาถือว่าแต่งงานเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ เพราะประเพณีทำให้เกิดผลดี คือเป็นการหัดให้เด็กรู้จักการเก็บหอมรอมริบ รู้จักมัธยัสถ์ ซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บเงินเพื่อทำสลากย้อมประมาณ 4-5 ปี พอจะทำนิสัยมัธยัสถ์เกิดขึ้นได้ เมื่อหญิงสาวมีเงินพอที่จะทานสลากย้อมแล้ว เขาจะเริ่มซื้อของตระเตรียมไว้ทีละเล็กละน้อยตั้งแต่สร้อยคอท้องคำ เข็มขัดเงิน และเครื่องเรือนครบทุกชิ้น นอกนั้นเป็นส้มสูกลูกไม้ โดยเฉพาะกล้วยใส่ทั้งเครือ มะพร้าวใส่ทั้งทะลาย และยังมีขนมนมเนยทุกอย่างใส่อีกด้วย ต้นสลากย้อมนิยมทำสูงประมาณ 5-6 วา ที่สุดยอดของต้นสลากย้อมนี้ เขามักปักร่มกางกั้นไว้ ตามกลอนและเชิงชายของร่ม จะห้อยย้อยไปด้วยสร้อยคอ และเข็มขัดตลับเงินและเงินเหรียญประดับประดาอย่างสวยงาม ลำต้นของสลากย้อมใช้ฟางมัดล้อมรอบเพื่อง่ายแก่การปักไม้สำหรับแขวนผลไม้และสิ่งของต่างๆ ตามแต่เจ้าภาพจะปรารถนา การแต่งดาใช้เวลาร่วมเดือน กระดาษสีที่นำมาประดับนับเป็นร้อยแผ่น ที่จะเรียกว่าย้อมสมบูรณ์นั้น จะต้องมีประวัติของเจ้าของสลากอ่านให้คนทั้งหลายฟังด้วย การเขียนประวัติเจ้าของสลากย้อมนี้ จะต้องไปจ้างผู้ที่มีความชำนาญในการแต่งกลอนพื้นเมือง เป็นผู้แต่ง เขาเรียกว่า”ครรโลง” ผู้แต่งจะบรรยายด้วยลีลากลอนอันไพเราะ เล่าถึงชีวประวัติของเจ้าของสลากย้อม นับตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ในบทกลอนคือ “ค่าว” หรือ “ครรโลง” นี้ ผู้แต่งจะสอดแทรกคติธรรม ตลกขบขัน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังและเจ้าของสลากย้อม ตามจังหวะที่เหมาะสม ตอนท้ายเป็นคำแผ่บุญและปรารถนาที่เจ้าของสลากย้อมได้ตั้งไว้ จบลงด้วยครรโลงธรรม ขณะแต่งดาสลากย้อมในเวลากลางคืน”ครรโลง”นี้จะช่วยกล่อมบรรยากาศในการแต่งดานั้น ครึกครื้นขึ้น โดยมีผู้มีเสียงอันไพเราะและอ่านเป็นจะมาช่วยกันอ่านให้ฟัง การอ่านต้องอ่านรวมกันตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไป ถ้าครรโลงใครแต่งดีจะมีคนมาอ่านไม่ขาด เป็นที่เชิดหน้าชูตาแก่เจ้าของสลากย้อมเป็นอันมาก ฉะนั้นเขาจึงเลือกจ้างคนที่มีฝีปากดีจริงๆ แม้ค่าจ้างนั้นจะแพงก็ยอม เมื่อแต่งดาเสร็จถึงวันทานสลากแล้ว เขาจะช่วยกันหามแห่จากบ้านไปสู่วัดที่งานทานสลากภัตต์ สลากย้อมจะใช้คนหามอย่างน้อย 12 คน เพราะหนักมาก การถวายทานก็เหมือนกับการทานสลากภัตต์โดยทั่วไป เมื่อสลากย้อมตกแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปใดแล้ว ก่อนประเคนรับพร พระหรือสามเณรรูปนั้น ต้องหาคนมาอ่านครรโลงของเขาจบก่อน และเขาจึงจะประเคนรับพร เป็นเสร็จพิธี
การทานสลากย้อมสมัยก่อนจะเป็นที่นิยมมาก ปัจจุบันมีเพียงบางหมู่บ้านเท่านั้นที่ยังคงหลงเหลือประเพณีดังกล่าวอยู่ เช่นที่ตำบลริมปิง ตำบลต้นธง ตำบลประตูป่า ตำบลหนองช้างคืน ตำบลอุโมงค์ และคติความเชื่อก็ต่างจากสมัยก่อน โดยศรัทธาแต่ละวัดจะช่วยกันจัดทำถวายเท่านั้น ปัจจุบันนี้เราจะได้พบเห็นเพียงแต่ต้นสลากเท่านั้น
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ชมรม มสธ. ลำพูน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 4719 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 11 ก.ย. 56
เวลา 13:37:21
|