• เชียงใหม่ ลำพูน ร่วมทำข้อตกลง มาตรฐานคุณภาพลำไย |
โพสต์โดย satchuset , วันที่ 25 ก.ย. 56 เวลา 16:25:25 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เชียงใหม่ -ลำพูนร่วมมือ สร้างข้อตกลง QCลำไย ก้าวไกลรับ AEC
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน ได้จัดสัมมนาทำข้อตกลงการจัดทำ QC ลำไย ตามมาตรการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการบริโภคลำไยภายใต้แผนป้องกันและแก้ไขลำไย ปี 2556 ณ โรงแรม อโมร่า ท่าแพ จ. เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้ว่าราชการจ. เชียงใหม่ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานครั้งนี้
ในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเป็นอย่างดี ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย กลุ่มเจ้าของโรงงานผลิตและแปรรูปลำไย และกลุ่มนักวิชาการ โดยกิจกรรมได้แบ่งออกเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย
ในภาคเช้าได้มีการจัดเสวนาพิเศษใน2หัวข้อได้แก่ "ทิศทางเศรษฐกิจ ความเจริญเติบโต ผลได้เสีย และผลกระทบ ด้านการนำเข้าผลไม้ลำไยจากประเทศไทย :กรณีประเทศจีน โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อักษรศรี พานิชสาส์น และการอภิปรายเปิดประเด็นเรื่องจรรยาบรรณ อนาคต และคุณภาพการส่งออกลำไย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรนุช เจริญกิจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์ลำไยม. แม่โจ้ คุณมนตรี ด่านไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ คุณศรีเทพ ใจทา นายกสมาคมผู้ปลูกลำไย คุณปณวัฒน์ วงค์สนั่น หัวหน้าสำนักเลขาฯ สภาเกษตรแห่งชาติ(ลำพูน) และตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกลำไย สภาเกษตรกรแห่งชาติ (ลำพูน) โดยอ. สัชฌุเศรษฐ์เป็นผู้ดำเนินรายการตลอดทั้งงาน
ในภาคบ่าย ได้มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็น 3กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลำไย กลุ่มผู้ค้าลำไย และกลุ่มนักวิชาการ ข้าราชการ โดยในภาคบ่าย ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละกลุ่มได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็น พร้อมทั้งเสนอแนวทางในสิ่งที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งออกลำไย โดยสามารถสรุปข้อตกลงความร่วมมือ การจัดทำ QC ลำไยได้ดังนี้
1. มีการกำหนดมาตรฐานในการปลูกลำไย เช่น ระยะเวลาการตัดแต่งกิ่ง และการใช้สารเคมี แย่างถูกต้องและเป็นรูปธรรม
2. สร้างความตระหนักและจิตสำนึกแก่เกษตรกรในการให้ความสำคัญและบทบาทการเป็นต้นน้ำในห่วงโซ่อุปทานรวมทั้งความซื่อสัตย์ในการคัดเกรดและบรรจุ
3. ให้ความรู้ จัดอบรม เผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตร โดยเกษตรกรตัวอย่าง หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการตัดแต่ง การเก็บเกี่ยว การคัดเลือกสายพันธุ์ โดยการจัดอบรมในพื้นที่หรือบริเวณแปลงสาธิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อพัฒนาชาวสวนสู่มืออาชีพ โดยการสร้างผู้ถ่ายทอด โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ +ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอุปกรณ์ที่มีในท้องที่เพื่อลดต้นทุนปัจจัยการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตปลอดภัยไม่มีสารตกค้าง
4. การจัดทำมาตรฐานการซื้อขาย คัดเกรด
5. ส่งเสริมให้เกษตรกรตระหนักในความสำคัญของ GAP ซึ่งมีความสำคัญในการส่งออก เพื่อเป็นการรับรองในเรื่องคุณภาพพัฒนาการตลาดจากภาครัฐทั้งในส่วนของการขยายตลาดใหม่ และการส่งเสริมตราสินค้าของผู้ประกอบการ
6.การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ โครงการจัดสร้างโรงรมควันซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. การรวมกลุ่มสหกรณ์ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐและเพื่ออำนาจต่อรองทางการค้า เพิ่มเครือข่ายการผลิต การตลาด แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน
จากการประชุมสัมมนาในครั้งนี้ ถือว่าเกิดปนะโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำธุรกิจลำไยทุกฝ่าย และเชื่อมั่นว่าทิศทางลำไยในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาอย่างดีขึ้นเรื่อยๆในทุกด้าน หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญดังเช่นการจัดงานในครั้งนี้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1687 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย satchuset
IP: Hide ip
, วันที่ 25 ก.ย. 56
เวลา 16:25:25
|