• ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง " |
โพสต์โดย จ.ส.อ.ชยกร วัจนลักษณ์ , วันที่ 08 พ.ย. 56 เวลา 13:34:16 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือย่านบริเวณเทือกเขาภูพานทรงสังเกตว่า
มีปริมาณเมฆมากปกคลุมเหนือพื้นที่ระหว่างเส้นทางบินแต่ไมสามารถรวมตัว
จนเกิดเป็นฝนตกได้ ทั้งที่เป็นช่วงฤดูฝน และทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา
พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคและการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในฤดูเพาะปลูกเกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง
ในระยะวิกฤติของพืชผล ทำให้ผลผลิตต่ำหรืออาจไม่มีผลผลิตเลย และอาจทำให้
ผลผลิตที่มีอยู่เสียหายได้จึงเป็นความเดือดร้อนอย่างสาหัสและก่อให้เกิดความสูญเสีย
ทางเศรษฐกิจ แก่เกษตรกรอย่างใหญ่หลวง นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้น
เพราะการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรกรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากร
ซึ่งมีผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ซึ่งเห็นได้ชัด
จากปริมาณ น้ำในเขื่อนภูมิพลที่ลดลงอย่างน่าตกใจ ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล
และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต
วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498
แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตก
นอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติ โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์
กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้ เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ"ฝนเทียม"
จึงกำเนิดขึ้นโดยประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ
เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจาก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติ
การฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึงปัจจุบัน
พระบรมราโชบายในการพัฒนาโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"
รร.กร.กร.ทบ.
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 385 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย จ.ส.อ.ชยกร วัจนลักษณ์
IP: Hide ip
, วันที่ 08 พ.ย. 56
เวลา 13:34:16
|