กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
|
ปี พ.ศ. 2544 นี้ เป็นปีที่ 32 นับแต่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้เริ่มมีการทดลองปฏิบัติการจริง ในท้องฟ้าครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512 และเป็นปีที่ 46 นับแต่ทรงเริ่มมีพระราชดำริเมื่อ พ.ศ. 2498
เทคโนโลยีฝนหลวงที่ทรงทุ่มเทคิดค้นขึ้นมานี้ มิได้ยังประโยชน์ ต่อพสกนิกรไทยทุกหมู่เหล่าเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติทั่วไป ดังจะเห็นได้ว่า นับแต่ประเทศไทยได้จดทะเบียนกิจกรรมฝนหลวง กับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก แห่งสหประชาชาติ เป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ. 2525 เทคโนโลยีฝนหลวง จึงได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่การยอมรับ และถ่ายทอดตามคำร้องขอ ให้แก่สมาชิกที่มีกิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รวม 28 ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ถ่ายทอดโดยตรงให้กับมิตรประเทศ ทั้งในกลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ และนอกกลุ่ม เช่น ประเทศศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถาน โอมาน เป็นต้น รวมทั้งมีการ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลระหว่างกันกับประเทศ สหรัฐ อเมริกา แคนนาดา ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั่งกลุ่มประเทศอาเซียน และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ยกให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการดัดแปรสภาพอากาศ ในภูมิภาคเขตร้อน ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกจึงได้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ในฐานะที่ทรงพระปรีชาสามารถ และทรงเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิก ให้กิจกรรมดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดฝนในภูมิภาคเขตร้อน มีความเป็นไปได้ และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนั้น รัฐบาลได้ตระหนักถึงพระปรีชาสามารถในทางเทคนิค จึงมีมติคณะรัฐมนตรี ถวายพระเกียรติให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย" เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2544 และมีมติเลือกวันที่ทรงสาธิต ปฏิบัติการฝนหลวง แก่นักวิทยาศาสตร์สิงค์โปร์ จากเขื่อนแก่งกระจาน โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ จนประสบความสำเร็จ เป็นที่อัศจรรย์ และประจักษ์ในพระปรีชาสามารถ ต่อนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในวันนั้น เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ให้เป็น "วันเทคโนโลยีของไทย" มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เทียบเท่าวันที่รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตร สุริยุปราคา ณ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรำลึกถึง และทรงปรารภกับคณะบุคคลต่างๆ ที่มีโอกาสเข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท ไม่ว่าจะเป็น คณะผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ด้านการดัดแปรสภาพอากาศ หรือคณะผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติ ในโครงการพระราชดำริฝนหลวง อยู่เสมอว่า ผู้ที่ทำให้โครงการพระราชดำริเป็นจริง และก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิจัยประดิษฐ์ ด้านเกษตรวิศวกรรม ผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทยในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม รับพระราชทานแนวพระราชดำริ และข้อสมมติฐานมาดำเนินการค้นคว้าทดลอง วิจัยและพัฒนา ปฏิบัติการจนสำเร็จ และก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้ ทรงยกย่อง "ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล" ว่าเป็น "บิดาแห่งฝนหลวง"
สำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในกิจกรรมโครงการพระราชดำริฝนหลวงตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ทุกหมู่เหล่า นอกจากจะซึมซับอยู่ในความทรงจำแล้ว ยังตระหนักดีว่า เหนือกว่า "บิดาแห่งฝนหลวง" แล้ว ยังมี "พระบิดาแห่งฝนหลวง" ผู้ทรงจุดประกายให้ "ฝนหลวง" ขึ้นมาในมนุษย์โลก และทรงเป็นหลักชัยของโครงการพระราชดำริฝนหลวง มาตราบเท่าทุกวันนี้ และตลอดไปชั่วกาลนาน
ข้าราชการ รร.กร.กร.ทบ.
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|