กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
‘ประชาไท’ แปลจากบทความ Double standards against protesters เขียนโดย ม.ล.ณัฐกรณ์ เทวกุล จากหนังสือพิมพ์ Bangkok Post, 26 July 2007
การใช้น้ำ, แก๊สน้ำตา
หรือแม้แต่สเปรย์พริกไทยในการสลายผู้ชุมนุมที่ตัดสินใจกระทำการรุนแรงโดยเจตนา
ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับกันได้และยังอยู่ในขอบเขตของกฎหมายอย่างแน่นอน
เมื่อฝูงชนรวมตัวกันกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงโดยการใช้วาจาหยาบคายและทำร้ายร่างกายเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหาร
เจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้รับสิทธิในการตอบโต้และปราบปรามผู้โจมตีได้อย่างทันทีทันใด
การกล่าวอ้างว่า
สิทธิขั้นพื้นฐานส่วนบุคคลถูกละเมิดเพราะกรณีเช่นที่กล่าวมานี้
จึงไม่ต่างจากการพูดว่าคุณสามารถล่วงละเมิดการปฏิบัติหน้าที่อย่างซื่อสัตย์ของเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฏหมายได้
หากแม้จะดูเหมือนเป็นเช่นนั้นก็ตามที สิ่งที่เราได้เห็นกันอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์เมื่อวันอาทิตย์ (22 ก.ค.2550) ที่ผ่านมา
ต้องมีคำอธิบายมากกว่านั้น
การเดินขบวนโดยกลุ่มผู้ชุมนุมสามารถเกิดขึ้นได้ในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
เราได้เห็นการเดินขบวนเหล่านี้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ทั้งที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือแม้แต่ประเทศที่ด้อยพัฒนา
แรงจูงใจของกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งปะทะกับเจ้าหน้าที่ในคืนก่อนถึงวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น
มาจากการที่พวกเขาไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปยังบริเวณที่พักอาศัยของประธานองคมนตรี
เปรม ติณสูลานนท์ ได้ เป็นเหตุให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า:
หลักเหตุผลทางกฏหมายอะไรที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาใช้ในการขัดขวางไม่ให้แกนนำกลุ่มต้านเผด็จการ
หรือที่รู้จักกันในนาม ‘แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ’ (นปก.)
มุ่งหน้าไปยังสถานที่ซึ่งพวกเขาต้องการจะไป?
ย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ผู้ประท้วงจำนวนมากรวมตัวกันในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ฝูงชนราว 50,000 คน ที่ออกมาเดินขบวนประท้วงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ
ชินวัตร ล้วนเคลื่อนขบวนไปตามสถานที่ต่างๆ
โดยที่การเคลื่อนไหวของพวกเขาได้รับการเกื้อหนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในการนำทางฝูงชนเหล่านี้
จากสนามหลวงไปถนนราชดำเนิน, จากถนนราชดำเนินไปลานพระบรมรูปทรงม้า,
จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังทำเนียบรัฐบาล และที่อื่นๆ อีกมาก
ตลอดระยะเวลายาวนานนับปีของความพยายามเรียกร้องให้
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ตำรวจให้ความร่วมมืออย่างสม่ำเสมอกับการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมแทบจะทุกครั้ง
กองทัพเองก็ไม่เคยว่ากล่าวอะไรออกมาสักคำเกี่ยวกับผู้ชุมนุม
และไม่เคยต่อว่าพวกเขาเป็นตัวการสร้างความแตกแยกในสังคม
แต่ในปัจจุบันนี้ บทบาทของทุกเหล่าทัพ
เป็นไปในทางตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง
เพราะแทนที่จะอำนวยความสะดวกให้กับการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม
เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฏหมายได้กลายเป็น ‘ผู้กีดขวาง’
ความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุมไปเสียแล้ว
เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ขอกล่าวว่า
บทความนี้ไม่ได้แบ่งแยกหรือชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างจุดมุ่งหมายของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและแกนนำกลุ่ม
นปก.เพราะทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมายทางการเมืองที่ไม่เหมือนกัน
ไม่ว่าเป้าหมายนั้นจะสมเหตุสมผลหรือขึ้นอยู่กับจุดยืนทางการเมืองของแต่ละบุคคลก็ตาม
ถึงแม้จะเป็นเรื่องช่วยไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังจำได้ดีก็คือ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อครั้งพันธมิตรประชาธิปไตยเพิ่งเริ่มก่อตัวกันใหม่ๆ
ครั้งแรกที่มีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลนั้น ตลอดทางจากสวนลุมพินี
ผู้ชุมนุมได้พยายามใช้กำลังบุกเข้าไปในรั้วทำเนียบ
ซึ่งผู้กระทำความผิดแต่ละคนถูกตั้งข้อหาในภายหลัง
ซึ่งผมสงสัยว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลชุดปัจจุบันจะตั้งข้อกล่าวหาแบบเดียวกันนี้กับแกนนำ
นปก.หรือไม่
ถ้าหากว่าวันนั้นพวกเขาตัดสินใจจะใช้กำลังพังรั้วทำเนียบเข้าไปบ้าง
ในฐานะประเทศหนึ่ง
เมืองไทยไม่เคยมีความสามารถที่จะควบคุมการชุมนุมประท้วงได้เลย
ไล่มาตั้งแต่ม็อบขนาดเล็กอย่างสมัชชาคนจนหรือกลุ่มผู้ประท้วงเขื่อนปากมูล
และม็อบขนาดกลางอย่างกลุ่มผู้ชุมนุมสหภาพแรงงานของ กฟผ.
รวมถึงม็อบของจำลอง
ศรีเมืองและธรรมกายที่ออกมาต่อต้านกลุ่มบริษัทไทยเบเวอเรจ
ไม่จำเป็นต้องพูดถึงเวลาที่เรามีกลุ่มผู้เดินขบวนประท้วงขนาดใหญ่อย่างกลุ่มพันธมิตรฯ
หรือ นปก.
เพราะมันไม่มีประโยชน์อะไรที่จะถามว่าเราสามารถควบคุมหรือจัดการกับผู้ชุมนุมประท้วงเหล่านั้นโดยสันติวิธีได้หรือไม่
สิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจนเด็ดขาดคือการสร้างมาตรฐานสำหรับผู้ชุมนุมทุกกลุ่ม
และการปฏิบัติตามมาตรฐานเหล่านี้ต้องเที่ยงธรรม เสมอภาค
และสามารถนำไปใช้กับเจตนารมณ์ต่างๆ โดยยึดหลักเดียวกัน ถ้าสนธิ ลิ้มทองกุล
และสุริยะใส กตะศิลา แห่งพันธมิตรฯ
สามารถเคลื่อนขบวนไปยังสยามพารากอนและถนนพระราม 1 ได้ เพราะอะไร เหวง
โตจิราการ และจักรภพ เพ็ญแข จึงไม่ควรเคลื่อนไปยังสี่เสาเทเวศร์
ซึ่งเป็นบ้านพักของพลเอกเปรม?
ถ้าหากตำรวจพยายามขัดขวางไม่ให้กลุ่มพันธมิตรฯ เคลื่อนขบวนในเวลานั้น
เป็นไปได้ไหมว่าอาจจะมีการปะทะกันเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อปลายปีก่อน
ในทำนองเดียวกับที่เราได้เห็นมันเกิดขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา?
ที่พำนักของประธานองคมนตรีต้องได้รับการคุ้มครองเป็นกรณีพิเศษและห้ามไม่ให้มีการรบกวนใดๆ
มีคนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่จะตั้งข้อสงสัยต่อมติดังกล่าว
และในฐานะประชาชนพลเมืองไทยคนหนึ่ง
การขว้างก้อนหินหรือของแข็งเข้าใส่ที่พักอาศัยหรือผู้บริสุทธิ์ที่ยืนสังเกตุการณ์อยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะควรอย่างยิ่ง
แต่ถึงกระนั้น สังคมยังต้องเผชิญกับความจริงของสถานการณ์ดังกล่าวด้วยว่า
การแบ่งแยกและดูถูกกลุ่มคนที่รวมตัวกันด้วยจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่นั้นมีอยู่จริง
แต่นี่ไม่ใช่การจะมาบอกว่าฝูงชนที่รวมตัวกันประท้วงควรได้รับอนุญาตให้เคลื่อนไหวเสมอไป
และไม่ใช่การบอกว่าพวกเขาสมควรถูกสลายการชุมนุมด้วยวิธีการอันรุนแรงเช่นกัน
การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมจะต้องถูกกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหลายเดือนก่อน
นักกิจกรรมทางสังคมที่ต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้รวมตัวกันจัดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะของชุมชนที่มีต่อการสร้างโรงไฟฟ้า
การครุ่นคิดไตร่ตรองอย่างละเอียดถึงวิธีที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานของผู้ชุมนุมเหล่านี้
ช่วยสร้างความเข้มแข็งแก่ประเทศชาติให้สามารถมุ่งไปสู่โครงการพัฒนาอื่นๆ
ได้เป็นอย่างดี
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ บางทีอาจเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป
เมื่อยังมีเรื่องหนึ่งซึ่งต้องตระหนักว่า
เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ได้รับคำสั่งให้ควบคุมการเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม
และบางครั้งพวกเขาก็ติดตามกลุ่มผู้ชุมนุมด้วยวัตถุประสงค์อื่นๆ
เหมือนอย่างที่กองทัพเคยช่วงชิงอำนาจจากกลุ่มพันธมิตรมาแล้ว
โดยการใช้ประโยชน์จากกลุ่มผู้ชุมนุมนับแสนคน (ตามจำนวนที่กล่าวอ้าง)
ที่ชุมนุมต่อต้านทักษิณ มาเป็นเหตุผลในการทำรัฐประหาร
หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากองทัพคงมีการวางแผนที่ดีกว่านี้สำหรับแกนนำและกลุ่มผู้ชุมนุมต่อต้านเผด็จการ
ในฐานะที่เราขยับเข้าใกล้วันอันตรายทางการเมือง เช่น
วันลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งเข้าไปทุกที
หวังว่าเมื่อถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่พูดและทำกันมาตลอดทั้งปีนี้
จะทำให้ประเทศนี้หาหนทางที่จะปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมทุกกลุ่มอย่างยุติธรรมโดยปราศจากการฉวยโอกาสได้เสียที
ประชาไท
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|