• ป.ป.ช.ปัดสอบสินบนตุลาการ |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 10 ส.ค. 50 เวลา 09:51:33 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ันที่ 9 ส.ค. เมื่อเวลา 16.30 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.แถลงผลการประชุมว่า ที่ประชุม ป.ป.ช.ได้พิจารณากรณีที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรมยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช.ตรวจสอบ กรณีมีผู้พยายามติดสินบนตุลาการรัฐธรรมนูญ 2 คนในการพิจารณาคดียุบพรรค แต่ตุลาการรัฐธรรมนูญไม่รับสินบนดังกล่าว ซึ่งจากการพิจารณาข้อกฎหมายเบื้องต้นพบว่าการติดสินบนเจ้าพนักงาน เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมตามมาตรา 144 และ 167 ในการให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงานอัยการ ผู้พิพากษา เพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. เพราะกรณีที่ ป.ป.ช.จะเข้าไปดำเนินการตรวจสอบได้ ต้องเป็นกรณีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการทุจริตหรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147-166 หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 200-205 ดังนั้น การร้องเรียนกรณีนี้จึงไม่เข้าข่ายอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช. ขอข้อมูลศาลฎีกาพิจารณาเพิ่มเติม นายกล้านรงค์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม จากการที่ศาลยุติธรรมได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงคดีสินบนตุลากา และพบว่าผลสอบสวนคดีมีมูล โดยมีบุคคล 2 คน ที่เป็นคนนอกและคนในวงการตุลาการเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ที่ประชุม ป.ป.ช.จึงมีมติให้นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.ทำหนังสือขอทราบผลการสอบสวนและเอกสารหลักฐานต่อประธานศาลฎีกาเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาของ ป.ป.ช.ว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือไม่ และมีบุคคลใดบ้างที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 10 ส.ค. นายปานเทพจะลงนามในหนังสือเพื่อส่งให้ประธานศาลฎีกาต่อไป แต่ประธานศาลฎีกาจะให้ข้อมูลหลักฐานหรือไม่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานศาลฎีกา ยัน ป.ป.ช.ต้องเล่นงานคดีสินบน ด้านนายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีการขยายผลคดีพยายามติดสินบนตุลาการรัฐธรรมนูญอาจสะดุดเพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไม่มีอำนาจสอบ สวนในทางอาญา และเป็นคดีที่หาหลักฐานได้ยากว่า ใน ส่วนของกระทรวงยุติธรรม โดยเฉพาะตนเป็นผู้เสนอให้ มีการตรวจสอบเรื่องการวิ่งเต้นเสนอให้สินบนดังกล่าว ดังนั้น ขั้นตอนการเอาผิด กระทรวงยุติธรรมจึงไม่ควรเข้า ไปก้าวก่าย แต่เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะเอาผิด เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ย่อมรู้ดีว่ามีกฎหมายใดเอาผิดได้บ้าง แม้จะเป็นนายหน้าม้าใช้ที่มาเสนอให้สินบน ก็มีกฎหมายเอาผิด แต่จะเป็นข้อใด เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ต้องรู้ดี ป.ป.ช.ฟัน “ปลอดประสพ” ส่งเสือไปจีน ขณะเดียวกัน เมื่อเวลา 09.00 น. ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช.เป็นประธานการประชุม โดยมีวาระสำคัญคือการพิจารณาชี้มูลความผิดนายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตอธิบดีกรมป่าไม้กับพวกกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามที่กองตำรวจป่าไม้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเรื่องมาให้ ป.ป.ช.พิจารณาไต่สวนใน 3 กรณีได้แก่ 1. การละเว้นไม่ ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนที่แจ้งการครอบครองเสือโคร่งและการพิจารณาอนุญาตให้บริษัทดังกล่าวครอบครองเสือโคร่งเบงกอลจำนวน 125 ตัว โดยมิชอบ 2. การละเว้นไม่ดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนที่เพาะพันธุ์เสือโคร่งโดยไม่ได้ รับอนุญาต และพิจารณาให้บริษัทเอกชนเพาะพันธุ์เสือโคร่ง โดยมิชอบ 3. การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีพิจารณาอนุญาตส่งออกเสือโคร่งที่อยู่ในความครอบครองของบริษัทเอกชนจำนวน 100 ตัว ไปยังประเทศจีนโดยมิชอบ พบบริษัทส่งออกมีหุ้นส่วนสวนสัตว์จีน ภายหลังการประชุม นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.แถลงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ไต่สวนข้อเท็จจริงจากปากคำพยาน 18 ปาก และรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พบว่าข้อกล่าวหาที่ 1 และ 2 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานว่าอดีตอธิบดีกรมป่าไม้กับพวกกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา จึงมีมติให้ข้อกล่าวหาตกไป ส่วน ข้อกล่าวหาที่ 3 จากการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่าบริษัท เอกชนแห่งหนึ่งได้ทำเรื่องขออนุญาตอธิบดีกรมป่าไม้เพื่อขอส่งออกเสือโคร่งจำนวน 100 ตัว ไปยังสวนสัตว์เอกชน ประเทศจีน กรรมการผู้จัดการบริษัทเอกชนที่ขออนุญาตส่งออกเสือโคร่งเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทเอกชนที่ประเทศ จีน โดยอ้างว่าเพื่อกิจการเพาะพันธุ์หรือกิจการสวนสัตว์ สาธารณะโดยกระทำในนามกรมป่าไม้ และต่อมาอธิบดีกรมป่าไม้ได้ลงนามอนุญาตเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2545 ให้ บริษัทเอกชนดังกล่าวส่งออกเสือโคร่ง 100 ตัว ในนามกรมป่าไม้ไปยังประเทศจีนได้ ชี้ราชการเสียหายผิดวินัยร้ายแรง นายกล้านรงค์กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่อดีตอธิบดีกรมป่าไม้ลงนามให้บริษัทเอกชนในประเทศไทย ส่งออกเสือโคร่ง 100 ตัวไปยังสวนสัตว์เอกชน ประเทศจีน เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 23 และ 26 ที่ระบุห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า หรือส่งออกสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ในการสำรวจ การศึกษาและวิจัยทางวิชาการ การคุ้มครองสัตว์ป่า การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่กระทำโดยทางราชการและได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมป่าไม้โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ แต่กรณีดังกล่าวพบว่าเป็นการขออนุญาตส่งออกเพื่อประโยชน์ในกิจการสวนสัตว์เอกชน มิใช่การเพาะพันธุ์ หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะที่กระทำโดยทางราชการ แต่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนได้รับประโยชน์จากการส่งออกเสือโคร่ง เป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย การกระทำของอดีตอธิบดีกรมป่าไม้และพวกจึงเป็นความผิดทางวินัยร้ายแรงและความผิดทางอาญาฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ให้ส่งรายงานความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อพิจารณาโทษทางวินัยและอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีทางศาลต่อไป ข่าวจาก ไทยรัฐ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1540 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 10 ส.ค. 50
เวลา 09:51:33
|