กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
พ.ร.บ. กฎอัยการศึก
1.ความรู้เกี่ยวกับกฎอัยการศึก
พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก
ประเทศไทยได้ตรากฎหมาย กฎอัยการศึก เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๕ ) คือ กฎอัยการศึก ร.ศ.126 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2450 จึงเป็นที่มาของ พระราชบัญญัติ " กฎอัยการศึก ร.ศ.126 " ซึ่งใน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก ร.ศ.126 นี้ มีเพียง 8 มาตรา และใช้อยู่เพียง 7 ปี ก็ได้ถูกยกเลิกโดย พระราชบัญญัติ " กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 " ทั้งนี้ก็เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น ปัจจุบัน พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้ประกาศใช้จนถึงวันนี้ เป็นเวลามากกว่า 91 ปี ซึ่งมีรายละเอียดของพระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก ฯ รวม ๑๗ มาตรา ดังนี้ .-
พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗
นามพระราชบัญญัติ
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า "กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457" [รก.2457/-/388/13 กันยายน 2457]
ใช้พระราชบัญญัติที่ใดเมื่อใดต้องประกาศ
มาตรา 2 เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อย ปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มี ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตรา หรือแต่บาง มาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกำหนดเงื่อนไขแห่ง การใช้บทบัญญัตินั้นบังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร หรือตลอดทั่ว ราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความ ในพระราชบัญญัติหรือบทกฎหมายใด ๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับต้องระงับ และใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน
[ มาตรา 2 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 พุทธศักราช 2485]
ลักษณะประกาศ
มาตรา 3 ถ้าไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วพระราชอาณาจักร ในประกาศนั้นจะได้แสดงให้ปรากฏว่า มณฑลใด ตำบลใด หรือเขตใดใช้ กฎอัยการศึก
ผู้มีอำนาจใช้กฎอัยการศึก
มาตรา 4 เมื่อมีสงครามหรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใดให้ผู้บังคับบัญชา ทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกำลังอยู่ใต้บังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใด ๆ ของทหารมีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอำนาจหน้าที่ของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาล ทราบโดยเร็วที่สุด เมื่อเลิกต้องประกาศ มาตรา 5 การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้ต่อมี ประกาศกระแสพระบรมราชโองการเสมอ
อำนาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา 6 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติ ตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
[ มาตรา 6 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515]
อำนาจศาลทหาร และอำนาจศาลพลเรือน เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก
มาตรา 7 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาศึก และ ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกมีอำนาจประกาศให้ศาลทหารพิจารณาพิพากษา คดีอาญา ซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกและในระหว่าง ที่ใช้กฎอัยการศึกตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ทุกข้อ หรือแต่บางข้อ และหรือบางส่วนของข้อใดข้อหนึ่งได้ ทั้งมีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ยกเลิกประกาศดังกล่าวนั้นด้วย ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในวรรคแรก ให้มีผลบังคับเฉพาะคดีที่การกระทำผิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันเวลาที่ระบุไว้ในประกาศ วันเวลาที่ระบุนั้นจะเป็นวันเวลาที่ออกประกาศนั้นหรือภายหลังก็ได้ ประกาศ เช่นว่านี้ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาด้วย นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าคดีอาญาใดที่เกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมีเหตุพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศหรือความสงบเรียบร้อย ของประชาชน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะสั่งให้พิจารณาพิพากษาคดีอาญานั้นใน ศาลทหารก็ได้
[ มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515]
มาตรา 7 ทวิ ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ตามความใน มาตรา 7 นั้น จะให้ศาลทหารในทุกท้องที่หรือแต่บางท้องที่มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามที่กล่าวในมาตรานั้นเท่ากันหรือมากน้อยกว่ากันก็ได้
[ มาตรา 7ทวิ เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2487]
มาตรา 7ตรี เมื่อได้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารคงมี อำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังคงค้างอยู่ในศาลนั้น และให้มีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีอาญาที่ยังมิได้ฟ้องร้องในระหว่างเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกนั้นด้วย
[ มาตรา 7ตรี เพิ่มความโดยพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2487]
2.มีประโยชน์อย่างไร ?
- เป็นการจัดระเบีบประเทศเป็นทางออกที่ดที่สุดเพื่อให้หลุดจากการแช่แข็งประเทศคืนศักดิ์ศรให้กับประชาชน
- มาตรการณ์นี้ ประกาศใช้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องสร้างความสงบเรีบยร้อยจนมั่นใจ
- กระจายการจัดระเบียบประเทศโดย คสช. มีขั้นมีตอนที่ชัดเจน เพื่อคืนความสุขให้ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยั่งยืน
3.วิธีปฏิบัติอย่างไร ไม่ผิดกฏหมาย
มาตรา 11 การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้
(1) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน
(2) ที่จะห้ามออก จำหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพ บท หรือคำประพันธ์
(3) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุ วิทยุ กระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์
(4) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย
(5) ที่จะห้ามมีหรือใช้เครื่องมือสื่อสารหรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของ อาวุธ และเคมีภัณฑ์หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนำไปใช้ทำเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติ ดังกล่าวได้
(6) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหะสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กำหนด
(7) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้น ออกไปจากเขตนั้นภายในกำหนดเวลาที่ได้ประกาศกำหนด
(8) ที่จะห้ามบุคคลกระทำหรือมีซึ่งกิจการหรือสิ่งอื่นใดได้ตามที่รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหมได้กำหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศ ใช้กฎอัยการศึก
[มาตรา 11 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515]
4.ประกาศฉบับที่ 1 เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557
เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ
ตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆ พื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น
เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.30 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบ ดำเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพต่อไปตามปกติ ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการดังที่เคยปฏิบัติ
สำหรับข้าราชการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ที่มีอาวุธเพื่อใช้ในราชการของหน่วย ห้ามเคลื่อนย้ายกำลังและอาวุธโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่เพียงผู้เดียว
สำหรับคณะทูตานุทูต สถานกงสุล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะได้ให้ความคุ้มครอง และขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยังเป็นไปตามปกติ ตามที่รัฐบาลชุดเดิมดำเนินการไว้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะยึดมั่นในความจงรักภักดี และจะปกป้องเทิดทูนดำรงรักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทย และทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง
การดำเนินการยึดอำนาจของ คสช.
1.ประกาศฉบับที่ 1
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2557
เรื่อง การควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ
ตามสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆ พื้นที่ เป็นผลให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง และเหตุการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มขยายตัว จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยรวมนั้น
เพื่อให้สถานการณ์ดังกล่าวกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ประชาชนในชาติเกิดความรัก ความสามัคคี เช่นเดียวกับห้วงที่ผ่านมา ตลอดจนเพื่อเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมกับทั่วทุกฝ่าย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2557 เวลา 16.30 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนทุกคนอยู่ในความสงบ ดำเนินวิถีชีวิตและประกอบอาชีพต่อไปตามปกติ ให้ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบแบบแผนของทางราชการดังที่เคยปฏิบัติ
สำหรับข้าราชการทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ที่มีอาวุธเพื่อใช้ในราชการของหน่วย ห้ามเคลื่อนย้ายกำลังและอาวุธโดยเด็ดขาด เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่เพียงผู้เดียว
สำหรับคณะทูตานุทูต สถานกงสุล องค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศที่พำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย คณะรักษาความสงบแห่งชาติจะได้ให้ความคุ้มครอง และขอยืนยันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ยังเป็นไปตามปกติ ตามที่รัฐบาลชุดเดิมดำเนินการไว้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ จะยึดมั่นในความจงรักภักดี และจะปกป้องเทิดทูนดำรงรักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นศูนย์รวมจิตใจประชาชนชาวไทย และทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทั้งปวง
2.คำสั่งฉบับที่ 1
คำสั่ง กอ.รส. ฉบับที่ 1/2557
เรื่องการถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และสถานีวิทยุชุมชน
เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความถูกต้อง สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อวทันต่อสถานการณ์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 จึงให้สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ และสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิล จึงให้ดำเนินการดังนี้
1. ให้สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน งดรายการประจำของสถานีและให้ถ่ายทอด ออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกเมื่อได้รับการประสาน
2. ให้สถานีวิทยุโทรทัศน์กระจายเสียงทุกสถานี ทั้งที่เป็นของราชการและเอกชน งดรายการประจำของสถานีและให้ถ่ายทอด ออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกเมื่อได้รับการประสาน
3. ให้สถานีโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทุกสถานี งดรายการประจำของสถานีและให้ถ่ายทอด ออกรายการจากสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกเมื่อได้รับการประสาน
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนกวาจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
สั่ง ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2557
ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผบ.ทบ. ในฐานะ ผอ.รส.
3.เหตุผลประการหนึ่งที่มีในการกระทำครั้งนี้คือ การเจรจา 2 ครั้งที่ผ่านมาในส่วนแรกของการประกาศกฏอัยการศึก
-คณะ คสช. ต้องการคืนความสุขให้ประเทศชาติและประชาชนอย่างยั่งยืนนั่นคือเป้าหมายในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง
-ประเทศชาติเสียเวลาพัฒนาบ้านเมืองมานานแล้ว ประชาชน ปากท้อง สำคัญที่สุดหากเป็นเช่นนี้ต่อไป จะเสียหายไม่รู้จบสิ้น
การบังคับใช้กฏหมายออกนอกเคหะสถานในเวลา 2200-0500
1.ทำไมถึงต้องออกมาตราการณ์
- จำเป็นที่ต้องให้พื้นที่มีความสงบ ลดอิทธิพลทุกกลุ่ม ให้สังคมนิ่งแล้วค่อยผ่อนปลน
- วันนี้ต้องเสียสละความสุขผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อชาติ
- กระจายการจัดระเบียบประเทศโดย คสช. มีขั้นมีตอนที่ชัดเจน เพื่อคืนความสุขให้ประเทศชาติ และประชาชนอย่างยั่งยืน
- อาจอึดอัด เสียเวลา และจำกัดจนดูไม่ดี แต่จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาของชาติ ในอนาคตน่คือวาระของชาติ
- เพื่อความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนรู้ไหมคับว่ามีหลายประเทศที่จัดโซนนิ่งเวลาของประชาชนทั่วประเทศถึงกับออกกฏหมายของชาติควบคุมจัดระเบียบคนและเวลาในอัตราส่วนสัมพันธ์ที่เหมาะสมทั้งการกิน อยู่ หลับ นอน วันนี้ประเทศนั้นเป็นมหาอำนาจแม้จะผ่านวิกฤตินานานับประการแต่สามารถข้ามผ่านวิกฤตินั้นได้อย่างสง่างามและมีศักดิ์ศรีนี้แหละคือจุดเริ่มต้น การสร้างวินัยของชาติอย่างแท้จริง
- รัฐนิยม / ชาตินิยมภาวะผู้นำของประเทศ ครวมทั้งสามัคคีของคนในชาติทำให้ชาติอยู่รอดอย่างมีศักดิ์ศรี
ความมุ่งมั่นของคณะรักษาความสงบ และ ความจริงใจในกาแก้ไขปัญหาของชาติ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จัดโครงสร้าง คสช. แบ่งงานให้ข้าราชการ 6 กลุ่ม มี คสช. กำกับดูแล ย้ำ ต้องแก้ปัญหาโครงการจำนำข้าวภายใน 15-20 วัน
ในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่สโมสรกองทัพบก เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (23 พฤษภาคม 2557) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะประธานคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วย พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร, พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย, พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้เข้าชี้แจงถึงเหตุผลที่ต้องทำรัฐประหาร
โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่า ขณะนี้เกิดความขัดแย้งขึ้นจะส่อว่าจะเกิดความรุนแรงเสียหายมากขึ้น จึงต้องแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ให้ดีที่สุด โดยตนยอมเสียสละที่จะรับผิดชอบทุกอย่าง พร้อมยืนยันว่า สถาบันไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ คสช. จะดำเนินการต่อผู้ละเมิดสถาบันอย่างเต็มที่ โดยจะดูแลสถาบันอย่างดีที่สุด
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้มอบนโยบายให้หัวหน้าส่วนราชการ ปฏิบัติหน้าที่สมศักดิ์ศรีข้าราชการของแผ่นดิน พร้อมกับแบ่งงานให้ข้าราชการดำเนินการ 6 กลุ่ม ดังนี้
1. ฝ่ายความมั่นคง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงไอซีที มี พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้กำกับดูแล
2 .ฝ่ายเศรษฐกิจคลัง ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม มี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้กำกับดูแล
3. ฝ่ายสังคมจิตวิทยา ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ มี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นผู้กำกับดูแล
4. ฝ่ายกฎหมายและยุติธรรม ประกอบด้วย สำนักอัยการสูงสุด สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กระทรวงยุติธรรม มี พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นผู้กำกับดูแล
5. ฝ่ายกิจการพิเศษ ประกอบด้วย สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักปลัดฯ มี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นผู้กำกับดูแล
6. หน่วยขึ้นตรง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกอบด้วย กองอำนวยการรักษาความมั่น คงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), สำนักข่าวกรองแห่งชาติ, สำนักงบประมาณ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกลุ่มงานรักษาความสงบ
นอกจากนี้ ยังได้มีการแบ่งกลุ่มงานรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งขึ้นตรงกับคณะ คสช. โดยมอบหมายให้แม่ทัพภาคของแต่ละภาคเป็นผู้ดูแล
สำหรับประเด็นสำคัญที่หัวหน้าคณะ คสช. ย้ำต่อข้าราชการ และผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด คือ ต้องไม่ปล่อยให้มีขบวนการหมิ่นสถาบันเบื้องสูง โดยให้ถือเป็นนโยบายหลัก หากพบมีการกระทำผิดจะดำเนินการอย่างเด็ดขาด ไม่มีการละเว้น
ส่วนเรื่องเร่งด่วนที่ต้องแก้ไขในขณะนี้ คือ ปัญหาโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีการจัดงบประมาณสำหรับแก้ไขปัญหาได้แล้วส่วนหนึ่ง และเชื่อว่าภายใน 15 - 20 วัน จะสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับชาวนาได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ หัวหน้าคณะ คสช. ยังได้ยกตัวอย่างแผนพัฒนาประเทศแบบบูรณาการที่จะดำเนินการในอนาคต คือ โครงการถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อบริหารจัดการน้ำ และแก้ไขปัญหาจราจรอย่างเป็นระบบด้วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|