ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
‘อีสาน’ ไม่รับพุ่งลิ่ว ‘เหนือ’ คะแนนสูสี ‘กลาง-ใต้’ ชนะขาด
ผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ผ่านฉลุย ชาวบ้านแห่ใช้สิทธิเกินครึ่ง
“กทม.-กลาง-ใต้” โหวตรับร่างท่วมท้น ส่วน “อีสาน” ฐาน “ไทยรักไทย”
ชาวบ้านรวมตัวแสดงพลังคว่ำตามคาด คะแนนไม่เห็นชอบถล่มทลาย ขณะที่ภาคเหนือ
“ถิ่นแม้ว” คะแนนยังคู่คี่สูสี “สวนดุสิตโพล” ฟังธงรับร่างเกิน 60
เปอร์เซ็นต์ แฉเหตุเห็นชอบเพราะคิดว่า “รธน. 50” ดีกว่าเดิม
และอยากให้เลือกตั้งเร็ว ขณะที่ “กกต.” แจงให้เวลาร้องคัดค้านการนับคะแนน
24 ชั่วโมง
โพลฟันธงเห็นชอบเกิน 60%
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 19 ส.ค.
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศหลังปิดหีบการลง ประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2550
โดยทันทีที่ปิดหีบบรรดาโพลสำนักต่าง ๆ ได้ออกมาเปิดเผยผลเอ็กซิทโพล
ซึ่งส่วนใหญ่ฟันธงตรงกันว่าประชาชนเกินกว่า 60%
ลงประชามติเห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 โดย “สวนดุสิตโพล” ระบุ
ว่ามีประชาชนลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 67.94% ไม่เห็นชอบ 32.06% ขณะที่
“เอแบค โพลล์” ระบุว่าประชาชนเห็นชอบ 70.70% ไม่เห็นชอบ 29.30% และ
“รามคำแหงโพล” ระบุว่าประชาชนเห็นชอบ 60.19% และไม่เห็นชอบ 39.81%
ขณะเดียวกัน สวนดุสิตโพล ยังแบ่งการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ตามพื้นที่ดังนี้คือ กทม. เห็นชอบ 75.49% ไม่เห็นชอบ 24.51 % ภาคกลาง
เห็นชอบ 77.73% ไม่เห็นชอบ 22.27% ภาคเหนือ เห็นชอบ 65.58% ไม่เห็นชอบ
34.42% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เห็นชอบ 57.07% ไม่เห็นชอบ 42.93%
ภาคใต้ เห็นชอบ 78.17% ไม่เห็นชอบ 21.83%
และเปรียบเทียบการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญทั่วประเทศ
ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ปรากฏว่าผู้ชายเห็นชอบ 66.32% ไม่เห็นชอบ 33.68%
ส่วนผู้หญิงเห็นชอบ 69.26% ไม่เห็นชอบ 30.74%
เผยเหตุผลรับ-ไม่รับ “รธน.”
สำหรับเหตุผลของผู้ที่เห็นชอบนั้น สวนดุสิตโพล ระบุว่าอันดับแรก
คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้น่าจะดีกว่าเดิม 16.19% อันดับที่ 2
ต้องการให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว
ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 14.98% อันดับที่ 3
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ประชาชนได้ประโยชน์มากขึ้น มีส่วนร่วมมากกว่าเดิม
14.57% อันดับที่ 4 ต้องการให้ประเทศสงบสุข เกิดความเรียบร้อย
หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประเทศชาติอาจจะเกิดความวุ่นวาย 9.72% และอันดับที่ 5
ต้องการให้รัฐธรรมนูญเป็นตัวขับเคลื่อนการเมืองไทยให้ก้าวหน้าต่อไป 8.50%
ฯลฯ
ส่วนผู้ที่ไม่เห็นชอบ อันดับ 1 ให้เหตุผลว่า
เป็นวิธีการรับรองรัฐธรรมนูญที่ผิดให้ถูกต้อง
เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่สมบูรณ์แบบ และไม่เป็นอัตตาธิปไตย 45.68% อันดับที่ 2
มีช่องว่างมากเกินไป บางมาตรามีเนื้อหาไม่ชัดเจน 23.46% อันดับที่ 3
เนื้อหารัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นภาษากฎหมายที่ซ้ำซ้อน ขาดความเข้าใจที่ชัดเจน
7.41% อันดับที่ 4 ไม่ชอบคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
ไม่ชอบการปฏิรูปแบบรัฐประหาร 6.17% และอันดับที่ 5 คิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี
2540 ดีกว่า 6.17%
คอเว็บฯคึกคักส่วนใหญ่ไม่รับ
ขณะเดียวกันมีชาวเว็บฯ
เข้าไปแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ชื่อดังต่าง ๆ อาทิ
เว็บไซต์พันทิปดอทคอม ห้องสนทนาการเมือง “ราชดำเนิน” และห้องสนทนา
“เฉพาะกิจร่างรัฐธรรมนูญ 2550” และเว็บไซต์ประชาไทยดอทคอม
ตลอดช่วงเปิดหีบลงประชามติจำนวนน้อยมาก
แต่ส่วนใหญ่ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ
กระทั่งหลังปิดหีบซึ่งมีผลโพลสำนักต่าง ๆ ออกมา
ส่งผลให้บรรยากาศการแสดงความ คิดเห็นคึกคักขึ้นทันตา แต่ส่วนใหญ่ยังคงไม่
เห็นชอบ แต่ก็พร้อมจะยอมรับผลประชามติที่ออกมา ส่วนเว็บไซต์สื่อสิ่งพิมพ์
โทรทัศน์ และหน่วยงานราชการ อาทิ เว็บไซต์สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
(http://cda.parliament. go.th) เว็บไซต์ อสมท (www.mcot.net)
ซึ่งรายงานผลการนับคะแนนจากฐานข้อมูล และ เว็บไซต์
เนชั่น(www.bangkokbiznews. com)
มีการเกาะติดการรายงานผลการลงประชามติแบบนาทีต่อนาที
พร้อมนำเสนอรูปแบบการรายงานที่สวยงามดูง่าย โดยแบ่งการ นับผลคะแนนตามภาค
และจังหวัดอย่างละเอียด สำหรับเว็บไซต์ ทรูทักษิณดอทคอม (www.
truethaksin.com) ไม่มีความเคลื่อนไหวแต่อย่างใด
กกต.แจงคัดค้านนับคะแนน
ทางด้านนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.
แถลงถึงรายงานการร้องเรียนปัญหาการเลือกตั้งว่า ภายหลังการปิดหีบบัตร
โดยระเบียบ กกต.จะให้เวลาในการร้องคัดค้านผลการนับคะแนนนาน 24 ชั่วโมง
ดังนั้น ระยะเวลาในการร้องคัดค้านการนับคะแนน จะมีไปจนถึงเวลา 16.00 น.
ของวันที่ 20 ส.ค.นี้ ซึ่งผู้ต้องการร้องค้าน ต้องรวมตัวประชาชนให้ได้ 10%
ของผู้มาใช้สิทธิ ในหน่วยนั้น และร้องค้านได้เฉพาะในหน่วยนั้น
จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนและหากมีมูล
โดยการร้องค้านส่งผลให้คะแนนประชามติเปลี่ยนแปลง ก็จะส่ง
กกต.กลางวินิจฉัยต่อไป ทั้งนี้ ทางประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)
ได้มีหนังสือถึง กกต.ขอให้ส่งผลประชามติ ไปให้ ส.ส.ร.ทราบภายในเวลา 18.30
น. วันที่ 20 ส.ค.นี้ และเมื่อไรที่ ส.ส.ร.ประกาศผล
ก็ถือว่าคำประกาศนั้นเป็นที่สุด
ภาคใต้ฝนเทนับคะแนนกร่อย
สำหรับบรรยากาศการนับคะแนนตามหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ กว่า 80,000
หน่วยทั่วประเทศ ที่ภาคใต้ ปรากฏว่าในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง
จ.นราธิวาส ยะลา ปัตตานี มีกำลังตำรวจ-ทหาร และอาสาสมัครฯ
ติดอาวุธครบมือมายืนดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยตามหน่วยเลือกตั้งต่าง ๆ
โดยเฉพาะในพื้นที่รอบ นอก บรรยากาศไม่ค่อยคึกคักเท่าที่ควร
เพราะมีชาวบ้านมาดูการนับคะแนนกันน้อย
และการนับคะแนนเป็นไปอย่างขลุกขลักเนื่องจากมีฝนตก เช่นเดียวกับ จ.สตูล
พัทลุง สงขลา และ จ.ตรัง รวมทั้งจังหวัดภาคใต้ตอนบน ทั้ง จ.สุราษฎร์ธานี
ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ภูเก็ต และประจวบคีรีขันธ์
ซึ่งการนับคะแนนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยไม่มีการประท้วงหรือกระทำผิดกฎหมาย
หน่วยที่อยู่ในเขตชุมชน มีประชาชนมาดูการนับคะแนนหนาตา
ส่วนบางหน่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีเพียงเจ้าหน้าที่
ประจำหน่วยและประชาชนไม่กี่คนมาคอยดูการนับคะแนนเท่านั้น
แต่ทุกจังหวัดต้องผจญกับปัญหาฝนตกเช่นกัน
สำหรับผลการนับคะแนนเกือบทุกจังหวัด เมื่อผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง
มีแนวโน้มว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนนสูงถึง 80%
เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้เป็น ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์
และหลังการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น
ทางพรรคก็ประกาศตัวชัดเจนรณรงค์ให้ประชาชนไปลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นโดยเร็ว
“เหนือ”ถิ่นทรท.คะแนนสูสี
ส่วนบรรยากาศหลังปิดหีบนับคะแนนในหลายจังหวัดภาคเหนือ ที่ จ.นครสวรรค์
มีประชาชนมาดูการนับคะแนนกันบางตา ไม่ให้ความสนใจมากนัก
ยกเว้นบางหน่วยในตัวเมืองมีหัวคะแนนพรรคการเมืองไปเฝ้าเกาะติดและบันทึกวิดีโอการนับคะแนนทุกระยะไว้
ขณะที่ จ.เชียงราย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง
เป็นที่น่าสังเกตว่าทุกหน่วยที่มีการนับคะแนน
แทบจะไม่มีประชาชนมายืนลุ้นการนับคะแนนเหมือนกับการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ
ส.ว. สำหรับที่หน่วยเลือกตั้งโรงเรียนบ้านสันโค้งจรูญราษฎร์
ซึ่งมีหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 3 หน่วย และมีผู้มีสิทธิทั้งหมด 2,061 คน
มีผู้มาใช้สิทธิ 1,706 คน คิดเป็น 67.56% และอยู่ระหว่างการนับคะแนน
ส่วนบางหน่วยมีคนมาใช้สิทธิน้อย ทางด้าน จ.เชียงใหม่ กับ จ.แม่ฮ่องสอน
ประสบปัญหาการนับคะแนนในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะหน่วยใกล้ชายแดนไทย-พม่า
กกต.ต้องประสานงานตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความโปร่งใสมากที่สุด
แต่บรรยากาศการนับคะแนนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือโดยรวมยังถือว่าคึกคัก
สำหรับผลการนับคะแนนในภาคเหนือเป็นไปอย่างสูสี
โดยฝ่ายเห็นชอบและไม่เห็นชอบผลัดกันแซงนำ
แม้เกือบทุกจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ถือเป็นถิ่นของอดีต
ส.ส.พรรคไทยรักไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
อีสานลุ้นคึกคักไม่รับทิ้งห่าง
ทางด้านภาคอีสาน ฐานเสียงใหญ่ของอดีตพรรคไทยรักไทย
บรรยากาศการนับคะแนนเป็นไปอย่างคึกคัก
ประชาชนจำนวนมากต่างไปดูการนับคะแนนตามหน่วยเลือกตั้ง โดยเฉพาะใน
จ.บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา
โดยฝ่ายที่ไม่เห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญจะแต่งกายในชุดสีแดงประกาศตัวอย่างชัดเจน
และหลายหน่วยเลือกตั้ง
มีชาวบ้านคาดว่าเป็นลูกน้องนักการเมืองในพื้นที่นำกล้องวิดีโอมาบันทึกการนับคะแนนไว้ด้วย
ส่วนผลการนับคะแนนในเกือบทุกจังหวัดเป็นไปตามคาด
โดยแนวโน้มคะแนนของผู้ไม่เห็นชอบมีมากกว่าแบบถล่มทลาย
หรือมากกว่าถึงเท่าตัว เช่นที่ จ.ขอนแก่น
ผลการลงประชามติอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่าไม่เห็นชอบ 68.0% เห็นชอบ 32%
มีบัตรเสีย 1.8% โดยมีผู้มาใช้สิทธิ 700,806 คน จากจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
1,294,074 คน หรือคิดเป็น 54.16% ต่ำกว่าเป้าที่ทางจังหวัดวางไว้คือ 60%
“กทม.”ลุ้นหน้าศาลาว่าการฯ
ส่วนที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก
บรรยากาศการนับคะแนนตามหน่วยเลือกตั้งไม่คึกคักเท่าที่ควร
เนื่องจากส่วนใหญ่ประชาชนจะคอยดูผลการนับคะแนนอยู่ที่บ้าน
จะมีเพียงบางหน่วยเลือกตั้งในตัวเมืองเท่านั้นที่มีผู้คนหนาตา
แนวโน้มการนับคะแนนส่วนใหญ่จะให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่ กทม.
หลังปิดหีบ บรรยากาศบริเวณศาลาว่าการกทม.
ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ประสานงานการออกเสียงประชามติกรุงเทพมหานคร
และเป็นสถานที่ในการรวบรวมผลการนับคะแนนออกเสียง
มีบรรดาสื่อมวลชนจำนวนมากมาปักหลักรอดูความคืบหน้าส่วนประชาชนก็เริ่มทยอยมาดูการรวบรวมคะแนนที่ลานคนเมือง
โดย กทม.ได้นำรถเคลื่อนที่ซึ่งมีจอ โทรทัศน์ขนาดราว 29 นิ้ว
ถ่ายทอดผลการนับคะแนนทางโทรทัศน์ช่องต่าง ๆ จอดไว้บริเวณหน้าลานคนเมือง
เพื่อให้ประชาชนลุ้นคะแนน
กระทั่งถึงเวลาประมาณ 19.30 น. ประชาชนก็เริ่มมารอดูผลคะแนนมากขึ้นราว 100
คน
ขณะเดียวกันที่ลานคนเมืองมีการจัดตลาดนัดขายสินค้าราคาถูกทำให้บรรยากาศยิ่งคึกคัก
ขึ้น เพราะต่างเดินมาสอบถามผลรวมคะแนนที่ศูนย์อำนวยการจำนวนมากเช่นกัน
และผลคะแนนที่ออกมามีแนวโน้มว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญมากกว่า
ประชามติรธน.50ผ่านฉลุย
สำหรับผลการลงคะแนนประชามติร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 นับอย่างไม่เป็นทางการ
อ้างอิงข้อมูล โดยเว็บไซต์ http://www.nation
channel.com/special/2007/19aug/ เมื่อเวลา 20.30 น. หรือผ่านไป 4
ชั่วโมงครึ่ง ปรากฏว่าจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด 45,658,178 คน หรือ 100%
มีผู้มาใช้สิทธิ 15,719,915 คน หรือ 34.40% จำนวนหน่วยที่ได้รับรายงาน
39,672 หน่วย จาก 87,824 หน่วย หรือ 45.17% คะแนนเห็นชอบ 8,869,998 คน
หรือ 56.43% คะแนนไม่เห็นชอบ 6,540,692 คน หรือ 41.61% และคะแนนบัตรเสีย
309,225 คน หรือ 1.97%
ขณะที่ข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเวลา 20.30 น.
ผลสรุปประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างไม่เป็นทางการจากทั้งประเทศ
ปรากฏว่าเห็นชอบ 58.34% ไม่ เห็นชอบ 41.66% จำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด
45,658,178 คน หรือ 100% มีผู้มาใช้สิทธิ 22,316,351 คน หรือ 54.38%
จำนวนหน่วยที่ได้รับรายงาน 75,113 หน่วยจาก 88,662 หน่วย หรือ 85.10%
คะแนนเห็นชอบ 12,712,219 คน หรือ 58.34% คะแนนไม่เห็นชอบ 9,077,057 คน
หรือ 41.66% และคะแนนบัตรเสีย 440,093 คน หรือ 1.97%
ผลคะแนนบางจังหวัด
สำหรับผลการนับคะแนนการลงประชามติอย่างไม่เป็นทางการบางจังหวัดที่นับเสร็จแล้ว
ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้มีสิทธิ 684,803 คน มาใช้สิทธิ 386,733 คน
คิดเป็นร้อยละ 56.5 เห็นชอบ 350,884 คน คิดเป็นร้อยละ 90.7 ไม่เห็นชอบ
30,970 คน คิดเป็นร้อยละ 8.8 บัตรเสีย 4,953 คน คิดเป็นร้อยละ1.6 จ.ระนอง
ผู้มีสิทธิ 112,516 คน มาใช้สิทธิ 67,095 คน คิดเป็นร้อยละ 59.63 เห็นชอบ
60,759 คน คิดเป็นร้อยละ 90.56 ไม่เห็นชอบ 5,312 คน คิดเป็นร้อยละ 7.92
บัตรเสีย 926 คน คิดเป็นร้อยละ 1.38 จ.ภูเก็ต ผู้มีสิทธิ 209,877 คน
มาใช้สิทธิ 123,183 คน คิดเป็นร้อยละ 57.56 เห็นชอบ 109,493 คน
คิดเป็นร้อยละ 89.29 ไม่เห็นชอบ 11,878 คน คิดเป็นร้อยละ 9.64 บัตรเสีย
1,812 คน คิดเป็นร้อยละ 1.47 จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผู้มีสิทธิ 361,679 คน
มาใช้สิทธิ 198,180 คน คิดเป็นร้อยละ 55.72 เห็นชอบ 162,370 คน
คิดเป็นร้อยละ 81.90 ไม่เห็นชอบ 32,263 คน คิดเป็นร้อยละ 16.34 บัตรเสีย
3,430 คน คิดเป็นร้อยละ 1.73
จ.ชุมพร ผู้มีสิทธิ 346,646 คน มาใช้สิทธิ 208,530 คน คิดเป็นร้อยละ 60
เห็นชอบ 192,487 คน คิดเป็นร้อยละ 92 ไม่เห็นชอบ 11,365 คน คิดเป็นร้อยละ
6.7 บัตรเสีย 1,884 คน คิดเป็นร้อยละ 1 จ.นครศรีธรรมราช ผู้มีสิทธิ
1,077,900 คน มาใช้สิทธิ 559,398 คน คิดเป็นร้อยละ 51.90 เห็นชอบ 508,545
คน คิดเป็นร้อยละ 90.91 ไม่เห็นชอบ 43,528 คน คิดเป็นร้อยละ 7.78 บัตรเสีย
7,409 คน คิดเป็นร้อยละ 1.32 จ.กระบี่ ผู้มีสิทธิ 272,466 คน มาใช้สิทธิ
174,025 คน คิดเป็นร้อยละ 63.9 เห็นชอบ 150,470 คน คิดเป็นร้อยละ 86.5
ไม่เห็นชอบ 15,558 คน คิดเป็นร้อยละ 8.9 บัตรเสีย 2,597 คน คิดเป็นร้อยละ
1.5 และ จ.พังงา ผู้มีสิทธิ 175,300 คน มาใช้สิทธิ 111,921 คน
คิดเป็นร้อยละ 63 เห็นชอบ 95,974 คน คิดเป็นร้อยละ 87.09 ไม่เห็นชอบ
14,229 คน คิดเป็นร้อยละ 12.91 บัตรเสีย 1,718 คน คิดเป็นร้อยละ 1.5
“บุรีรัมย์”เห็นชอบมากกว่า
ส่วนผลนับคะแนนในบางจังหวัดที่ยังไม่เสร็จ ณ เวลา 21.40 น. จ.เชียงใหม่
ผู้มีสิทธิ 1,173,018 คน เห็นชอบ 260,057 คน คิดเป็นร้อยละ 45.5
ไม่เห็นชอบ 294,488 คน คิดเป็นร้อยละ 51.6 จ.เชียงราย ผู้มีสิทธิ 841,638
คน เห็นชอบ 151,737 คน หรือร้อยละ 34.5 ไม่เห็นชอบ 275,886 คน หรือร้อยละ
62.6 จ.บุรีรัมย์ ผู้มีสิทธิ 1,100,316 คน เห็นชอบ 232,559 คน หรือร้อยละ
56.2 ไม่เห็นชอบ 173,128 คน หรือร้อยละ 41.8 จ.ร้อยเอ็ด ผู้มีสิทธิ
964,679 คน เห็นชอบ 85,540 คน หรือร้อยละ 23.8 ไม่เห็นชอบ 267,946 คน
หรือร้อยละ 74.7
กทม.ใช้สิทธิน้อยแต่ผ่าน
ขณะที่ศูนย์ประสานงานการออกเสียงประชามติ กรุงเทพมหานคร
รายงานผลการออกเสียงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 อย่างไม่เป็นทางการ
ปรากฏมีผู้มาใช้สิทธิ 1,987,313 คน คิดเป็นร้อยละ 53.34
มีผู้เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ 1,291,560 คนคิดเป็นร้อยละ 66
และผู้ไม่เห็นชอบ 673,779 คนคิดเป็นร้อยละ 34 มีบัตรเสียจำนวนทั้งสิ้น
22,512 ใบ คิดเป็นร้อยละ 1.13
ขณะที่มีประชาชนจำนวนมากออกมาลุ้นผลการออกเสียงประชามติ ผ่านจอแอลซีดี
ขนาด 200 นิ้ว
หน้าลานคนเมืองท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
และเทศกิจอย่างเข้มงวด
กกต.แถลงผลไม่เป็นทางการ
ต่อมาเวลา 21.40 น. นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) แถลงผลการนับคะแนนการลงประชา
มติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หลังนับผลคะแนนได้ประมาณ 90% ว่า
ล่าสุดยอดผู้มาใช้สิทธิออกเสียงทั่วประเทศ 23.8 ล้านคน คิดเป็น 55
เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชา มติจำนวน 45.6 ล้านคน
แยกเป็นภาคเหนือ ภาพรวมเห็นชอบ 58.32 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 41.68
เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 1.97 เปอร์เซ็นต์ ภาคใต้ เห็นชอบ 87.67 เปอร์เซ็นต์
ไม่เห็นชอบ 12.33 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 2.20 เปอร์เซ็นต์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นชอบ 36 เปอร์ เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 63 เปอร์เซ็นต์
บัตรเสีย 1.8 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง เห็นชอบ 66.89 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ
33.11 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 1.9 เปอร์เซ็นต์ สำหรับกรุงเทพมหานคร เห็นชอบ
65.58 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ 34.42 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสีย 1.12
เปอร์เซ็นต์ สรุปเห็นชอบภาพรวม ทั้งประเทศ 58.34 เปอร์เซ็นต์ ไม่เห็นชอบ
41.66 เปอร์เซ็นต์ บัตรเสียเฉลี่ย 1.97 เปอร์ เซ็นต์
ทั้งนี้ผลอย่างเป็นทางการ กกต.จะประกาศวันที่ 20 ส.ค.นี้ เวลา 16.00 น.
และจะต้องส่งรายงานผลการลงประชามติอย่างเป็นทางการให้กับประธาน ส.ส.ร.
ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ เวลา 18.30 น. เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา.
ที่มา เดลินิวส์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|