• ทำไมต้อง ''ยอง'' เรื่องราวของชาวยองลำพูน ที่ควรรู้ เรามาจากไหน |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 29 ก.ค. 57 เวลา 23:14:21 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ขอบคุณบทความจากเฟสบุ๊ค Montri Punyafu
..เมืองยอง หรือ มหิยังคะรัฐ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นสิบสองพันนา(อาณาจักรลื้อ) โดยก่อนสมัยพระญามังราย ลื้อมีความเจริญรุ่งเรือง เมื่อรับเอาศาสนาพุทธไป
และได้สร้างพระธาตุจอมยองขึ้น บริเวณดังกล่าวจึงถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์ลื้อได้ถวายไร่นาไว้กับพระธาตุแห่งนี้ (มหิยังคะ แปลว่า ภูเขา ชาวอยุธยานำคติความเชื่อนี้ไปสร้างวัดชื่อ วัดมเหยงค์)
...ต่อมาอาณาจักรลื้อแตกออกเป็น 2 ส่วน คือสิบสองพันนา และ เชียงแขง ความวุ่นวาย ที่เกิดขึ้นทำให้จีนยกกองทัพ มาทางยูนนาน (ฮ่อ) ช่วงนี้พระญามังราย
ได้สร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และ สถานการณ์บ้านเมืองแถบนี้ก็เต็มไปด้วยศึกเหนือใต้ ตลอดมา จนถึงสมัยพระญาสามฝั่งแกน เป็นกษัตริย์เชียงใหม่ ฮ่อยกทัพลงมาจะมาตี เชียงแสน แต่พ่ายแพ้ชาวเชียงใหม่ กองทัพเชียงใหม่ไล่ฮ่อ ไปจนถึงเมืองยอง เจ้าเมืองลื้อสิบสองพันนา ได้ยกเมืองยอง ให้เป็นเมืองขึ้น ของ เชียงใหม่
...ด้วยเหตุที่เมืองยอง ทั้งเมืองเป็นเมืองของ พระธาตุจอมยอง เชียงใหม่จึงไม่สามารถ เก็บส่วยภาษีจากคนเมืองยองได้มีหลักฐานคัมภีร์โบราณ เขียนเป็น ตัวอักษรล้านนา กล่าวว่า ให้เมืองยอง ส่งช่างหอกฟ้อนดาบ ลงไปฟ้อนเป็นบรรณาการ แด่กษัตริย์เชียงใหม่ทุกปี แต่แล้วในสมัยพระญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)เป็นกษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่ ช่างฟ้อนตายไปหมดแล้ว เมืองยองจึงหาช่างฟ้อนไปเชียงใหม่ไม่ได้ ก็ไปพึ่งเจ้าเมืองยางแดง (กะเหรี่ยง) และ เจ้าเมืองอังวะ จนกระทั่งแยกตัวออกไปจากเชียงใหม่
...เวลาผ่านไปประมาณ 100 ปี สมัยพม่าปกครอง กษัตริย์พม่า คือ พระเจ้าสุทโธธัมมราชา (King Thalun) ได้ให้แสนสุรินทร์มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองยองได้สอบถามเจ้าอาวาสว่า จะสามารถเก็บส่วย ได้หรือไม่ เจ้าอาวาสบอกว่าได้ จึงมีการเก็บส่วยภาษีในเมืองยองเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเจ้าอาวาสได้มรณภาพ และ กลายเป็นเปรต เจ้าเมืองยององค์ต่อๆ มา กลัว จึงถือเป็นประเพณีห้ามเก็บส่วยจากคนยอง เป็นเด็ดขาด
...อีกไม่กี่ปีต่อมา เมืองยองขาดเจ้าเมือง ทำให้เมืองสิบสองพันนาเชียงรุ่ง เข้ามาอ้างสิทธิครอบครอง เมืองยอง แต่เมื่อไม่สามารถเก็บภาษีได้ จึงยกให้กับเชียงแขง
จนกระทั่งถึงปลายปี 2280 มีโจรจากเมืองเชียงแขง มาขโมยควายของชาวบ้านในเมืองยองเมื่อไปขึ้นศาลเจ้าเมืองเชียงแขง ตัดสินให้คนเชียงแขง ชนะคดี ชาวเมืองยองจึงรวมตัวกันไปประท้วง ถือดาบต่อสู้กัน และ ไปเผาหอคำเจ้าเชียงแขง เหตุวุ่นวายนี้มีการขึ้นศาลกันอีกที่ กรุงอังวะ กษัตริย์พม่าตัดสินให้เชียงแขง จ่ายค่าเสียหายห้าหมื่นเงิน แต่เชียงแขงไม่ยอมทั้งสองเมืองจับอาวุธขึ้นต่อสู้กัน จนถึงปี 2290รบกันที่บ้านยู้ (ต่อมาคือเมืองหลวยใต้) พม่าจึงเรียกสองเมืองไปเจรจากันผลของการสู้รบครั้งนี้ เมืองยอง ได้เป็นอิสระ จากเชียงแขง
...หลังจากเหตุการณ์นี้อีก 50 ปี ต่อมา คือ ปี 2346 เมืองยองถูกกองทัพล้านนาตีแตก ทำให้เกิดการกวาดต้อนชาวเมืองยองลงมาอยู่เชียงใหม่ ลำปาง น่าน แพร่ ซึ่งต่อมา เชียงใหม่ แยกมาตั้ง เมืองลำพูน คนยองจึงมาตั้งเมืองอยู่ที่ลำพูน "เวียงยอง" นอกจากนี้ยังมีป่าซาง (แล้วแยกเป็นบ้านโฮ่งอีก)
...เกร็ดประวัติศาสตร์ คือ คนในอดีตจะรู้ว่าจะเก็บส่วยจากคนยองไม่ได้เพราะคนยองเป็น ข้ามหาธาตุจอมยอง ที่กษัตริย์ลื้อหยาดน้ำเวนทาน เอาไว้กับแผ่นดิน
ผู้ที่ไม่ถือตาม จะตายเป็น เปรต (คนเมืองไม่ได้เรียกเปรต แต่เข้าใจว่าเป็น ผีกะในตำนานที่เจ้าอาวาสตายเป็นเปรต คนเมืองเรียกว่า ผีกะหลวง)ดังนั้น กษัตริย์เชียงใหม่สมัยก่อน จึงต้องนำเจ้าเมืองยอง และ ชาวยองมาอยู่ที่ลำพูน ตั้งเป็นเมืองยอง ในล้านนา ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญไชย เพื่อให้รักษาพระธาตุด้วย.
..สำหรับเมืองแพร่ คนเมืองจะสอนลูกหลานว่าห้ามขโมยสิ่งของหรือลักของ คนบ้านถิ่นเพราะ จะกลายเป็นผีกะ คนในอดีตจะถือเรื่องนี้มาก เพราะผีคนเมือง กับ ผีลื้อบ้านถิ่น จะถือคนละจารีต
...สรุปโดยรวมคนเมืองจะนับถือว่า คนยอง เป็นผู้มีศีลธรรม เคร่งครัดใน ศาสนา ซึ่งหากจะให้หาความหมายของคำว่า ยอง แล้ว คำว่า "ยอง" แปลว่า วาง ในภาษาล้านนา น่าจะหมายถึงการนำสิ่งของที่ทูนไว้บนหัววาง ลงสักการพระบรมธาตุจอมยอง อีกความหมายหนึ่งเป็นพุทธะนัยยะ หรือ ปริศนาธรรม ยอง คือวางลง ตรงกับคำว่า ปลงวางคือการปลง ปล่อยวาง หรือการทำใจให้ว่างเปล่า ปราศจากเพื่อนทั้ง 3 คือ โทสะ โมหะ โลภะ..
.ในเรื่องนี้ก็พบว่า ร.3 ให้เกียรติ เชื้อสายเจ้าเมืองยอง ที่ ลำพูน มากเช่นกัน ในปี 2385 เจ้าอุปราช และ เจ้าราชวงษ์เมืองลำพูนได้มีหนังสือกราบบังคมทูลว่า
พระยาเมืองเหล็ก เมืองยอง ป่วยถึงแก่กรรม ร.3 ได้พระราชทานสิ่งของให้ แสนปัญญา และ แสนเทพ ขึ้นมาปลงศพ โปรดให้ทำการศพ เหมือนอย่างเจ้าสุริยวงษ์
ของเมือง นครลำปาง
เรื่องจาก---- ชัยวุฒิ ไชยชนะ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1703 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 29 ก.ค. 57
เวลา 23:14:21
|