ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ทำไมชื่อ เมอร์สคอฟ
มาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง
ต้นกำเนิดของไวรัสเมอร์สคอฟ
ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใด แต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อ และเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่ง ทั้งนี้วัสเมอร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546
ความร้ายแรงของไวรัสเมอร์สคอฟ
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอ หายใจหอบ หายใจขัด ถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
การระบาดของไวรัสเมอร์ส
“ไวรัสเมอร์ส” (MERS) การแพร่กระจายของเชื้อ จะอาศัยละอองเสมหะ และน้ำลาย เมื่อเกิดอาการไอหรือการจามจะแพร่กระจายไปยังผู้ที่ได้สัมผัสกับละอองเชื้อโรค และจะทำการเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสใหม่ จึงทำให้สามารถกระจายจากคนสู่คนได้
อาการของไวรัสเมอร์ส
“เชื้อไวรัสเมอร์ส” (MERS) มีระยะของการฟักตัวอยู่ที่ 2-14 วัน ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการไข้ ไอ จาม หายใจเร็ว และมีอาการหอบ หลังจาก 14 วันให้หลังของการฟักตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงในการติดเชื้อ หรือมีอาการติดเชื้อทางเดินในระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง แต่ไม่สามารถหาสามารถเหตุได้ ควรรีบเข้ารับการตรวจเชื้อไวรัสเมอร์สโดยด่วนที่สุด
การรักษาโรคเมอร์ส
ในทางการแพทย์ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาหรือต่อต้านเชื้อไวรัสเมอร์ส เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสตัวใหม่จึงจำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษาเพื่อการสร้างวัคซีนต่อต้าน ซึ่งตอนนี้ก็มีการเร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อที่จะต่อต้านเชื้อไวรัสเมอร์สแล้วแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนพวกเราในตอนนี้ก็คงได้แต่คอยระวังและป้องกันการติดเชื้อให้มากที่สุดเท่านั้น
ภาพ : โรงพยาบาลสมิติเวช
การป้องกันเบื้องต้นไวรัสเมอร์สคอฟ
1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง
6. มาพบแพทย์พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หากมีประวัติเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย การ์ตา จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อังกฤษ ฝรั่งเศส ตูนิเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน คูเวต มาเลเซีย กรีซ และฟิลิปปินส์
ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สคอฟอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่20กันยายน 2556 เป็นต้นมายังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน 11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย
หากสงสัยว่าตนเองมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอถึง 2 วัน หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|