• คลิป พญาเบิกเข้าคนงานก่อสร้างชาวอีสาน ที่มาก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 15 ธ.ค. 58 เวลา 14:57:49 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
คลิป พญาเบิกเข้าคนงานก่อสร้างชาวอีสาน ที่มาก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน (เป็นคลิป มีตอนก่อสร้างใหม่ๆ เพราะตอนนี้ อนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน ได้ทำการบวงสรวงไปเมื่อวันที่ 28 เม.ย.58 เรียบร้อยแล้ว)
ขอบคุณคลิปที่มาจาก Tok Navi
โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม
คลิป 1...พญาเบิกเข้าคนงานก่อสร้างชาวอีสาน ที่มาก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน CLIP1
Posted by Tok Navi on 14 ธันวาคม 2015
กำลังโหลดคลิป รอสักครู่
คลิป 2...พญาเบิกเข้าคนงานก่อสร้างชาวอีสาน ที่มาก่อสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน CLIP2
Posted by Tok Navi on 14 ธันวาคม 2015
ประวัติเจ้าพ่อขุนตาน
เจ้าพ่อขุนตาน มีพระนามว่า " พญาเบิก" เป็นเจ้าเมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) และเจ้าเมืองเวียงตานในอำเภอห้างฉัตรเป็น ราชบุตรของพญายีบาเจ้านครหริภุญชัย (ลำพูน)ในราชวงศ์แห่งจามเทวี เป็นธรรมเนียมและราชประเพณีแห่งราชวงศ์จามเทวีราชบุตร ใดจะครองนครหริภุญชัย (ลำพูน) สืบต่อในราชวงศ์จามเทวีจะแต่งตั้ง เป็นยุพราชในครองเมืองเขลางค์นคร(ลำปาง)เสียก่อน
ในปี พ.ศ.1814 ครั้งพญายีบาเป็นเจ้าครองนครหริภุญชัย(ลำพูน) ก็ได้ให้พญาเบิกราชบุตรในฐานะยุพราช ไปครองเมือง เขลางค์นคร(ลำปาง) จนกระทั่งปี พ.ศ.1838กองทัพพญาเม็งราย เจ้าเมืองเชียงรายและเจ้าเมืองฝางได้ยกไพร่พลมาตีเมืองหริภุญชัย(ลำพูน) และยึดเมืองหริภุญชัยได้พญายีบาจึงเสด็จหนีไปพึ่งพญาเบิกผู้เป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นครพญาเบิกเข้าเมืองเขลางค์นคร จึงสะสมไพร่พลและเพื่อความมั่นคงของเมืองเขลางค์นคร จึงไปสร้างเมืองต้านศึกในบริเวณพื้นที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอห้างฉัตรใกล้กับ ทิวเขาใหญ่เมืองนั้นต่อมามีนามว่า "เวียงต้าน" (เวียงตาลซึ่งเป็นเมืองร้างในปัจจุบัน)ส่วนทิวเขาสูงยาเหยียดนั้นระหว่างลำปางและลำพูน ซึ่งเป็นแนววางกำลังไพร่พลตีสกัดทัพพญาเม็งราย ต่อมาเรียกว่า ดอยขุนต้าน(ดอยขุนตาลในปัจจุบัน)
การสู้รบที่เมืองต้นศึก และตามแนวทิวเขาขุนต้านเป็นการสู้รบอย่างหนักในที่สุดก็พ่ายแพ้ทัพพญาเม็งรายถอยร่นมาติด หล่มหนองใหญ่แห่งหนึ่ง ปัจจุบันคือบ้านหนองหล่มและแพ้อย่างสิ้นเชิง่ที่ตำบลเนินทุ่งแห่งหนึ่ง ปัจจุบันก็คือ บ้านหลิ่งก้าน ในตำบลหนองหล่ม อำเภอห้างฉัตรนั่นเองร่องรอยการเดินทัพของพญายีบาพญาเบิกและพญาเม็งรายในการรบกันในครั้งนั้นยังมีอยู่ บนทิวเขาดอยขุนตาน จนกระทั่งบัดนี้ เช่นที่แนวขุนห้วยสานต่อแนวที่จะลงเขาในเขตอำเภอแม่ทาและตอนใกล้ วิทยาลัยการเกษตรลำพูนในปัจจุบัน บนสันเขายังมีทางเดินเชื่อมกันยนยอดเขาตอนกลางจะราบเรียบกว้างประมาณ 6 เมตร มีก้อนหินวางเรียงสองฟากติดต่อกันตลอดแนวดุจถนนบนภูเขา จนถึงดอนกู่พญายีบาดอยบาไห้(พญาร้องไห้ด้วยความเสียใจ ในขณะที่หนีขึ้นเดินอยู่ดอย เหลียวไปดูเมืองหริภุญชัย เห็นไฟลุกโชติช่วง)เนื่องจากพญาเม็งรายยึดเมืองได้จึงเอาไฟเผาเมือง พญาเบิกเป็นยอดนักรบคงกระพันชาตรี มีกุศโลบายในการวางผังรบอย่างลึกซึ้งและฉกาจฉกรรจ์ เช่น การตั้งลำเลเวียงต้าน
การชุ่มรี้พลตามแนวเขาราบแบบกองโจรรบกวนทัพพญาเม็งรายที่จะเข้าตีถึงเมืองเขลางค์ นับว่าเป็นอัจฉริยะในการรบอย่างยิ่ง ขณะที่พญาเบิกเสียทัพอย่างสิ้นเชิงจนถึงถูกจับได้ก็ไม่อาจปลงพระชนม์ได้เนื่องจากคงกระพันชาตรีเป็นที่ยิ่ง จึงได้นำตัวพญาเบิก ขึ้นไปขุดหลุมฝังจนสิ้นพระชนม์ ณ ยอดดอยแห่งหนึ่งในทิวเขาขุนตานปัจจุบันเรียกว่า "ดอยพญาลำปาง"ในเขตบ้านทุ่งเกวียน ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร ต่อเขตอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เพื่อเทิดทูนอัจฉริยะประวัติพญาเบิก ทั้งช้างเผือกคู่บารมี หรือเจ้าพ่อขุนตานเป็นมิ่งขวัญของชาวอำเภอห้างฉัตรและ เป็นปูชนียบุคคลพร้อมชาวอำเภอห้างฉัตรจึงพร้อมใจกันเสียสละเพื่อก่อสร้าง
อนุสาวรีย์เจ้าพ่อขุนตาน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2528 ฯพณฯบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ สมัยร้อยตรีชัยโรจน์ ประภาสวัต ดำรงตำแหน่งนายอำเภอห้างฉัตร ไว้เป็นเกียรติประวัตินักรบชื่อก้องของอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูนสืบมา ...
ที่มา สภาวัฒนธรรม อ.ห้างฉัตร
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 9567 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 15 ธ.ค. 58
เวลา 14:57:49
|