ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
หลังจากที่ กรมอุตุวิทยาฯ ได้พยากรณ์อากาศว่า ระหว่างวันที่ 23-26 นี้ ภาคเหนือจะมีสภาพอากาศแปรปรวน มีทั้งฝนลมแรง และหลังจากนั้นจะเกิดอากาศหนาวเย็นลงฉับพลัน และดังนั้น ความชื้น และความเย็น อาจจะทำให้เกิดหิมะ(ตามที่ เว็บไซต์พยากรณ์อากาศต่างประเทศได้ทำนายไว้)

ที่มา http://th.freemeteo.com/weather/doi-inthanon/7-days/list/?gid=1153169&language=thai&country=thailand

ที่มา http://www.yr.no/place/Thailand/Chiang_Mai/Doi_Inthanon/
หิมะเกิดขึ้นได้อย่างไร?
หิมะ เกิดจากละอองน้ำในชั้นบรรยากาศ เกิดการเกาะรวมตัวกันหรือที่เรียกว่าการควบแน่น (Deposition - การที่ไอน้ำ เปลี่ยนเป็นน้ำแข็งโดยไม่ผ่านสถานะของเหลว Process กลับกันเรียกว่า Sublimation) ในชั้นบรรยากาศ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 C (32 F) และตกลงมา ในสภาวะความชื้นที่เหมาะสม อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียกว่าเกล็ดละอองหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน หิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส
หิมะจะตกได้อย่างไร ???
เราคงต้องใช้ความรู้พื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยามาพิจารณากันว่า การที่หิมะจะตกจะต้องมีปัจจัยอะไรบ้าง ได้แก่ อุณหภูมิอากาศระดับผิวพื้นเฉลี่ยจะต้องต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ตลอดเวลา ทั้งตอนมีแดดและไม่มีแดด ซึ่งบ้านเราอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมันมีไหม เย็นๆช่วงเช้า พอสายๆ บ่าย ๆก็ร้อนเปรี้ยง มามีอากาศเย็นตอนกลางคืนตอนใกล้รุ่งไปแล้ว แค่ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาวูบวาบ มันไม่ทำให้เกิดอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยที่ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสได้ โดยเฉพาะเวลากลางวันรังสีคลื่นสั้นหรือแสงแดดมันทำให้เกิดความร้อนที่พื้นผิว
ในยุโรปหรือละติจูดสูงๆมุมที่แสงอาทิตย์ทำมุมเฉียงกับโลกบริเวณนั้น ทำให้แสงแดดไม่เข้มพอจึงร้อนไม่มาก แต่บ้านเราผมหมายถึงประเทศไทยมุมของแสงอาทิตย์พุ่งเข้ามาแบบเต็มๆ เพราะอยู่ในเขตร้อน เมืองหนาวหรือประเทศที่อยู่ในละติจูดสูงๆเขาจะมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยผิวพื้นต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และเกิดแนวปะทะอากาศ เลยทำให้เกิดเมฆ เมื่อเมฆกลั่นตัวตกลงมายังพื้นโลกเราเรียกว่าหยาดน้ำฟ้า นั่นคือฝน และหิมะ โดยที่หยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมาผ่านบรรยากาศใกล้พื้นดินที่มีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยผิวพื้นต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ก็จะกลายเป็นหิมะ แต่ถ้าตกลงมาผ่านบรรยากาศใกล้พื้นดินที่มีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยผิวพื้นสูงกว่า เช่น 10 องศาเซลเซียส ก็จะกลายเป็นฝน แต่ถ้าฟ้าโล่งๆไร้เมฆแบบนี้จะเอาหยาดน้ำฟ้าที่ไหนมาตกเป็นหิมะ ประกอบกับตำแหน่งของประเทศไทยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ซึ่งไม่เกิดแนวปะทะอากาศ เหมือนในเขตหนาว เราอยู่เขตร้อนชื้นนะครับ
การเกิดหิมะต้องมีเมฆหรือพายุปั่นป่วน แต่บ้านเราดูภาพเมฆดาวเทียมได้เลยว่าฟ้าไร้เมฆ คุณสมบัติของมวลอากาศเย็นหรือความกดอากาศสูง อากาศบริเวณนั้นจะจมตัวลงนะครับ ดังนั้นเมฆมันถึงไม่ก่อตัว ดังนั้นฝนจึงไม่มี ประกอบกับอากาศหนาวจะมีความชื้นน้อยมาก หรือเป็นอากาศแห้ง
ดังนั้นองค์ประกอบต่างๆที่ผมได้อธิบายไว้ข้างต้นจึงเป็นเหตุผลที่หิมะไม่น่าจะมาตกในประเทศไทยในขณะนี้ ผมเข้าใจว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงนะครับ แต่เราสามารถใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์อธิบายได้
ถามว่าในเขตร้อนเคยมีหิมะตกไหม ตอบเลยว่ามีครับ ที่ยอดเขาคิลิมันจาโร เพราะว่ายอดเขานี้ มีความสูง 5,895 เมตร ทำให้อากาศยอดเขาดังกล่าวมีอุณหภูมิอากาศเฉลี่ย ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จึงทำให้เกิดหิมะตกได้
(ดร.วัฒนา กันบัว 27 มกราคม 2014 ที่มา https://www.facebook.com/WeatherLoverClub/posts/730429110309930)
ถามว่าเมืองไทยเคยมีหิมะตกไหม? พ.ศ. 2498 เคยมีแล้วที่เชียงราย
ข่างล่างนี้คือพยากรณ์อากาศ และคำเตือนว่าจะเกิด อากาศแปรปรวนในภาคเหนือ
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 21 มกราคม 2559 - 27 มกราคม 2559 |
การคาดหมาย |
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-22 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนจะมีกำลังอ่อนลงทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ในขณะที่มีลมใต้และ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าว มีฝนเกิดขึ้นได้ในระยะนี้
ในช่วงวันที่ 23- 26 ม.ค. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปก คลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ประกอบกับในช่วงวันที่ 25-26 ม.ค. จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนจากประเทศเมียนมา เข้ามาปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรกหลัง จากนั้นอากาศจะหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 6-10 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมบริเวณอ่าวไทยและภาค ใต้ ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร หลังจากนั้น ความกดอากาศสูงจะอ่อนกำลังลง
สรุปการคาดหมาย ในช่วงวันที่ 21-22 ม.ค. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ จะมีฝนได้บางแห่ง
ในช่วงวันที่ 23-26 ม.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้นโดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร
ข้อควรระวัง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 23-27 ม.ค.ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงอย่างรวดเร็ว และ ขอให้ประชาชนในภาคใต้ที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งระมัดระวังคลื่นซัดเข้าฝั่ง และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กควรงดออก จากฝั่ง
|
ภาคเหนือ |
ในช่วงวันที่ 21 - 23 ม.ค. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่
ตอนบนของภาคอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-18 องศาเซลเซียส ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอย อากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม. /ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 24-27 ม.ค. มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ในระยะแรก และลมแรง
หลังจากนั้น อากาศจะหนาวเย็นลง โดยอุณหภูมิจะลดลง 4-8 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม. /ชม.
|
แสดงโฆษณา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|