กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
พายุ เลกีมาชุบชีวิตเขื่อนภูมิพล
.............เขื่อนภูมิพล..........
ศูนย์อุตุนิยมวิทยา เตือนภาคเหนือ ลมหนาวกำลังมาเยือน และอากาศจะหนาวกว่าปีที่ผ่านมาส่วนปัญหาภัยแล้ง เขื่อนภูมิพลยันน้ำเพียงพอทั้งอุปโภค - บริโภค ช่วงหน้าแล้งหลังพายุเลกีมาช่วยให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมาก ส่วนเชียงรายหลังเจอพิษเลกีมา ถกเครียดแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากแล้ว
เมื่อเวลา 07.00 น. วันที่ 10 ต.ค. 2550 ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้ออกประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือว่า ปีนี้ฤดูหนาวจะเริ่มต้นตามปกติประมาณกลางเดือนตุลาคม 2550 เนื่องจากตรวจพบมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน และ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมและมีกำลังแรงขึ้นเป็นระยะๆ ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตก จะเคลื่อนผ่านเป็นครั้งคราว ทำให้มีเมฆมากขึ้น และฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในระยะแรก จากนั้นอากาศจะเย็นลงกับมีหมอกในตอนเช้า ช่วงกลางฤดูหนาว เดือนธันวาคม 2550 ถึงมกราคม 2551
มวลอากาศเย็นกำลังแรงจากประเทศจีน จะเสริมเข้ามาปกคลุมบ่อยครั้งขึ้น ทำให้อากาศหนาวเย็นโดยทั่วไป และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยเฉพาะยอดดอย เดือนกุมภาพันธ์ 2550 มวลอากาศเย็นจะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง และจะสิ้นสุดฤดูหนาว กลางเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยปีนี้อากาศจะหนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา และมีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่วนภัยธรรมชาติ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูหนาว คือ พายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง ในเดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2550 ส่วนมากตอนบนของภาค อาจทำความเสียหายแก่ทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร ตลอดจนในเดือนธันวาคม 2550 ถึง มกราคม 2551 จะมีน้ำค้างแข็งบนเทือกเขาและยอดดอย และมีหมอกหนา เป็นอุปสรรค์แก่การคมนาคม จึงขอให้ประชาชนรักษาสุขภาพ เพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรไปมา และ วางแผนในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้ติดตามรับฟังสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง ในระยะนี้ด้วย
ขณะที่ทางด้าน นายบุญอินทร์ ชื่นชวลิต ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก เกล่าวว่า จากพายุเลกีมา ที่ผ่านมาส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถรองรับน้ำได้มากจากครั้งแรกหวั่นวิตกว่าน้ำจะไม่เพียงพอในฤดูแล้งนี้ แต่หลังพายุเลกีมาผ่านเข้ามาทำให้เก็บกักน้ำได้เพียงพอและคาดว่าจะไม่กระทบกับฤดูแล้งนี้แน่นอน ทั้งนี้ มีน้ำไหลเข้าอ่างวันละกว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำกักเก็บ10,100 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ ยังสามารถรับน้ำได้อีกจำนวนมาก
ทางด้าน นายเชษฐา โมสิกรัตน์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย กล่าวว่า หลังจากมีน้ำป่าไหลทะลักใน 6 อำเภอ คือ อ.เมือง,อ.แม่สาย, อ.พาน,ดอยหลวง,อ.เชียงแสน,องแม่จัน ล่าสุดน้ำป่าเริ่มลดระดับลงแล้ว ยังมีน้ำท่วมขังในที่ลุ่มเช่น นาข้าว บ้างในพื้นที่ ต.จันจว้า,ต.แม่คำ,ต.ป่าตึง และ ต.ศรีดอนมูล อ.เชียงแสน แต่ภาพรวมพื้นที่สูงเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้ทาง ปภ.เชียงราย ได้เสนอต่อ นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดขอประกาศให้ อ.แม่จัน เป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติฉุกเฉินเพื่อนำงบประมาณไปให้การช่วยเหลือก่อนนอกจากนี้ทาง อบจ.เชียบงราย และหลายหน่วยงานได้นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ อ.แม่จัน และ องเชียบแสน แล้ว กว่า 200 ชุด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่วนแม่น้ำหลายสาย เช่น แม่น้ำโขง,แม่น้ำคำ,แม่น้ำกก,แม่น้ำสาย ระดับน้ำมีสูง
ทางด้าน นายปรีชา กมลบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้เรียกหัวหน้าส่วนราชการ และผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้วนท้องถิ่น ในอำเภอแม่จัน ร่วมประชุมเพื่อรับทราบปัญหาในพื้นที่ พร้อมแนวทางในการแก้ไข จากการรายงาน ของเจ้าหน้าที่ ทราบว่า อำเภอแม่จัน ประสบกับปัญหายาเสพติด เนื่องจากเป็นพื้นที่ ที่มีชาวไทยภูเขาหลายชนเผ่าอาศัยอยู่ และชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นแนวเขตแดน ทำให้เป็นเส้นทางการลักลอบขนยาเสพติดเข้ามายังตอนในของประเทศ ซึ่งในปัญหานี้ได้มีการดำเนินการแก้ไขด้วยการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เพื่อเป็นแนวแนวปราการในการทลักเข้ามาของยาเสพติด ปัญหาการเกิดโรคระบาดในพื้นที่อยู่อาศัยชาวไทยภูเขา
สาเหตุเนื่องจากไม่สามารถสื่อสารกับทางการได้อย่างเข้าใจ ได้มีการแก้ไขปัญหาด้วยการจัดตั้งอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่สามารถสื่อสารกับทางการได้เป็นผู้คอยเฝ้าระวัง รวมถึงปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ และปัญหาดินถล่มด้วยด้วย ส่วนปัญหาที่ที่สำคัญเกิดขึ้นซ้ำซาก และรอการแก้ไข คือ ปัญหาอุทกภัย เนื่องจากอำเภอแม่จัน มีพื้นทีเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำที่สำคัญไหลผ่านอยู่ 2 สาย คือนำแม่จัน และน้ำแม่คำ ทำให้เกิดพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในพื้นที่ ตำบลป่าตึง ตำบลแม่คำ ตำบลจันจว้า และตำบลจันจว้าใต้ ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายทุกปี
มีแม้ทางราชการได้เสนอขอรับงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันน้ำท่วมในหน้าฝน และนำน้ำมาใช้ในการเพาะปลุกในช่วงหน้าแล้ง แต่ด้วยที่เป็นโครงการขนาดใหญ่จึงไม่ได้รับการพิจารณา ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ให้แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว ด้วยการจัดทำแก้มลิงเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการรองรับน้ำในช่วงหน้าฝน และสามารถนำกลับมาใชได้ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ก่อนที่จะสามารถสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ต่อไป
ข่าวจาก เชียงใหม่นิวส์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|