• ประวัติที่มา งานประเพณีสรงน้ำวัดพระธาตุหริภุญชัย ลำพูน |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 23 เม.ย. 59 เวลา 12:24:14 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

บารเมศ วรรณสัย เรียบเรียง
ภาพ องค์การบริหารส่วนจังหวัด ลำพูน
งานสรงน้ำพระธาตุฯ จัดมีขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเดือน 8 เหนือเพ็ญ ตรงกับเดือน 6 ใต้เพ็ญ นับว่า เป็นงานใหญ่ประจำปีของจังหวัดลำพูนทีเดียว ส่วนมากเริ่มงานตั้งแต่วันขึ้น 9 ค่ำเดือน 8 เหนือเป็นต้นไป แต่จะทำพิธีสรงน้ำพระธาตุฯ ในวันเดือน 8 เหนือเพ็ญ น้ำที่นำมาสรงพระธาตุนั้น เป็นน้ำทิพย์นำมาจากยอดดอยขะม้อ อยู่ในตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน น้ำนี้เกิดขึ้นที่บนยอดภูเขาสูง ที่ยอดเขานั้นเป็นบ่อลึกเข้าไปในภูเขา ไม่ทราบว่าจะลึกสักเท่าใด เพราะหยั่งไม่ถึง นอกจากน้ำทิพย์จากดอยขะม้อแล้ว ก็มีน้ำสรงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรวมอยู่ด้วย นอกนั้นเป็นสุคันโธทกะของศรัทธาประชาชน ที่หลั่งไหลมาจากทุกทิศ โดยเฉพาะคนเกิดปีระกา โบราณาจารย์ถือว่า พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีนี้ ต้องหาโอกาสมานมัสการสรงน้ำพระธาตุเจ้าหริภุญชัยจนได้ เพราะถือว่าเป็นสิริมงคลแก่คนเกิดปีระกาอย่างยิ่งใหญ่ทีเดียว คนเกิดปีอื่น ๆ ก็มีพระธาตุคู่กับปีเกิดทุกแห่ง นับว่าโบราณาจารย์ท่านมีนโยบายเป็นเลิศ
ที่มาของประเพณี เริ่มมาตั้งแต่เมื่อไร ยังหาการบันทึกเป็นหลักฐานไม่เจอ แต่การทำบุญอบรมสมโภช มีมาตั้งแต่พญาอาทิตยราช ตามที่กล่าวอ้างตามตำนาน และคงมีการทำอย่างต่อเนื่องแม้ในยุคของพญาสรรพสิทธิ์ พุทธศาสนาในเมืองหริภุญชัยเจริญรุ่งเรืองมาก พระองค์ทรงออกผนวช นับเป็นต้นแบบของกษัตริย์ที่ครองเมือง สืบต่อมา จากนั้นกษัตริย์ทุกพระองค์จักต้องทำนุบำรุงพระธาตุ มีการบูรณะนำทองคำขึ้นพระธาตุอย่างมากมาย ถ้าอ่านจากตำนานพระธาตุก็จะรู้ว่าในองค์พระธาตุเต็มไปด้วยทองคำอย่างมหาศาล
ประเพณีอันดีงามการอบรมสมโภช คงสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ผู้ที่มีบทบาทในกิจกรรมของพระธาตุสมัยนั้นส่วนมากก็เป็นเจ้าเมือง ถ้าเราศึกษาเรื่องประเพณีล้านนาเราจะทราบว่าการทำบุญมักจะทำกันตามเทศกาล อ้างอิงจากฤดูกาล วิถีชีวิต เช่นก่อนจะทำนา ต้องมีการเลี้ยงผีฝาย ผีขุนน้ำ คนล้านนามักจะมีงานที่สอดคล้องกับฤดูกาลเช่น เดือนสี่ แปงข้าวจี๋เผาเข้าหลามผิงไฟพระเจ้า เดือนห้าเดือนหก ซ่อมเหมืองฝาย ลางร่องเหมือง เข้าป่าหากิน เดือนเจ็ด ปีใหม่เมือง เดือดแปดหดน้ำธาตุ ไปจนถึงเดือนเก้าเป็ง เดือนสิบก็จะบวชเตรียมเข้าพรรษา เป็นต้น
งานสรงน้ำพระธาตุ ก็จะเกิดจากการที่พระธาตุผ่านหน้าร้อนต้องสละสลง ให้งดงาม เป็นศิริมงคล คือเอาน้ำศักดิ์สิทธ์ น้ำมาจากดอยขะม้อ น้ำขมิ้นส้มป่อย ซึ่งเป็นของดีบริสุทธ์ ชองหอม และที่สำคัญน้ำส้มป่อยยังสามารถทำให้ ทอง เงินใสวับขึ้นมา
ในสมัยก่อนจะถือกันอย่างเคร่งครัดเรื่องการสรงน้ำ ในเมืองล้านนาถือกันว่าพระธาตุหริภุญชัยเป็นองค์จอมเจดีย์ที่สำคัญยิ่ง จะต้องสรงน้ำก่อนพระเจดีย์องค์ใดในล้านนา เมื่อเสร็จแล้วจึงจะสรงพระธาตุองค์อื่นได้ ในปัจจุบันลำดับความสำคัญแบบเก่าได้หายไป อาจเป็นเพราะความไม่รู้หรือขาดการค้นคว้าศึกษา หรือตั้งใจกระทำโดยเน้นเอาความสะดวกเป็นหลัก จะเป็นประการใดก็ต้องศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง
คนที่ทำหน้าที่นี้ในสมัยก่อนก็เป็นเจ้าหลวงเจ้าเมืองเพราะวัดพระธาตุหริภุญชัยตั้งอยู่ในเขตคุ้มหลวงของเจ้าเมืองสมัยก่อนจึงเหมือนกับเป็นวัดของเจ้าผู้ครองนครกิจกรรมในวัดจึงเป็นหน้าที่โดยปริยาย จึงมีหน้าที่ไปเอาน้ำมาจากดอยขะม้อมาสรงองค์พระธาตุ มีการเล่าต่อมายุคหลังว่ามีการจัดขบวนแห่จากดอยขะม้อมาพักที่วัดพระยืนหนึ่งคืนแล้วจึงแห่สู่วัดพระธาตุหริภุญชัยจริงหรือไม่ยังไม่แน่ชัด แต่ก็พยายามหาหลักฐานมาเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบให้ได้
นอกจากนี้ยังมีกษัตริย์หลายพระองค์ในราชวงค์จักรี ได้เสด็จมาที่องค์พระธาตุแห่งนี้หลังจากกรมพระยาดำรงราชานุภาพคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในแปดจอมเจดีย์แห่งสยาม เป็น”สัตตมหาสถาน”ของประเทศไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 8449 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 23 เม.ย. 59
เวลา 12:24:14
|