• ลำพูนเตือน! ระวังโรคระบบทางเดินหายใจ และโรคมือเท้าปาก ในเด็ก |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 11 ก.ค. 59 เวลา 10:18:58 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
นายปัจจุบัน เหมหงษา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า ช่วงนี้คงจะได้ยินการระบาดของโรคมือเท้าปากในเด็กกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งช่วงเด็กเปิดเทอมการระบาดของโรคยิ่งเพิ่มขึ้น เนื่องจากเด็กยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่มากเพียงพอ หากมีการระบาดมากทำให้บางโรงเรียนในเด็กเล็กต้องประกาศหยุดการเรียนการสอน ซึ่งที่มาของโรคมือเท้าปาก เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ได้แก่ คอกซากี่ไวรัส (Coxsackie virus) บางชนิด และเอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในกลุ่มเด็กทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และโรคดังกล่าวจะเกิดประปรายตลอดปีแต่จะเพิ่มมากขึ้นในหน้าฝน ที่อากาศเย็นและชื้น
อาการของโรค จะแสดงชัดเจนหลังจากได้รับเชื้อ 3-6 วัน ผู้ติดเชื้อจะเริ่มมีอาการป่วย มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ต่อมาอีก 1-2 วัน จะมีตุ่มแดงขนาด 2-8 มิลลิเมตรที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมาจะเห็นเป็นตุ่มน้ำสีเทาเล็กๆ แต่ตุ่มน้ำจะแตกเร็ว เห็นเป็นแผลตื้นๆสีออกเหลืองเทา และมีผื่นแดงล้อมรอบแผลเล็กๆ อาจรวมเป็นแผลขนาดใหญ่ ซึ่งแผลเหล่านี้จะเจ็บและทำให้เด็กไม่รับประทานอาหาร อีกทั้งยังทำให้ลิ้นมีสีแดงและบวมได้ แต่รอยโรคเหล่านี้มักจะหายไปใน 5-10 วันส่วนผื่นที่ผิวหนังนั้น อาจเกิดพร้อมกับแผลในช่องปาก หรือเกิดหลังแผลในช่องปากเล็กน้อย อาจมีเพียง 2-3 จุด หรือมากกว่า 100 จุด โดยพบที่มือมากกว่าที่เท้า รอยโรคมักเป็นที่หลังมือ ด้านข้างของนิ้วมือ หลังเท้าและด้านข้างของนิ้วเท้า มากกว่าที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้นได้ด้วย รอยโรคที่ผิวหนังระยะแรกจะเป็นผื่น หรือตุ่มแดงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-10 มิลลิเมตร ที่ตรงกลางมีตุ่มน้ำสีเทา มักเรียงตามแนวเส้นของผิวหนัง และมีผื่นแดงล้อมรอบ ผื่นเหล่านี้จะคงอยู่ได้ 2-3 วัน อาจมีอาการเจ็บ กดเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ ต่อมาจะเป็นสะเก็ดและตกสะเก็ดใน 7-10 วัน จนผิวแลดูปกติไม่มีแผลเป็นสำหรับ ความรุนแรงของโรคนั้น มีตั้งแต่น้อยจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งการติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรงและในสัปดาห์ แรกของการป่วยจะติดต่อง่าย โดยเชื้อไวรัสอาจติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วย รวมถึงการไอจามรดกัน ซึ่งการแพร่กระจายเชื้อจะเกิดง่ายมากในเด็กเล็กที่ชอบเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกัน ในโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือญาติพี่น้องที่อยู่รวมกันมากๆ รวมถึงการเล่นของเล่นในที่สาธารณะ ซึ่งในระยะที่เด็กมีอาการทุเลาหรือหายป่วยแล้วประมาณ 1 เดือน ยังคงพบเชื้อในอุจจาระแต่การติดต่อในระยะนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยสำหรับ วิธีการรักษา โรคนี้ไม่มีวัคซีนป้องกันและไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง เช่น หากมีไข้แพทย์จะให้ยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆ รสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ โดยพิจารณาให้ครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง หากเป็นเด็กอ่อนอาจต้องป้อนนมให้แทนการดูดจากขวดตามปกติ และการรับประทานนมเย็น อมน้ำแข็งก้อนเล็กๆหรือไอศกรีม จะทำให้แผลไม่ค่อยเจ็บ แต่หากแผลในปากเจ็บมากแพทย์อาจใช้ยาชาเพื่อทุเลาอาการเจ็บ ซึ่งตามหลักแล้วโรคมักไม่รุนแรงและไม่มีอาการแทรกซ้อน แต่เชื้อไวรัสบางชนิดอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้ จึงควรสังเกตอาการของเด็กอย่างใกล้ชิด หากพบมีไข้สูง ซึม ไม่ยอมรับประทานอาหารและดื่มน้ำ อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง อาจเกิดภาวะสมองหรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือน้ำท่วมปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันทีส่วน การป้องกันโรคมือเท้าปากนั้น สามารถป้องกันได้โดยการรักษาสุขอนามัย ผู้ปกครองควรแนะนำบุตรหลานและผู้เลี้ยงดูเด็กให้รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย และก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น สำหรับสถานเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือ ที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วยหากพบเด็กป่วย ต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์และหยุดพักรักษาตัวที่บ้านประมาณ 7 วัน หรือจนกกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก อาจจำเป็นต้องปิดสถานที่ชั่วคราวประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค โดยใช้สารละลายเจือจางของน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วนอย่างไรก็ตาม โรคมือเท้าปากโดยทั่วไปกรณีที่เป็นไม่รุนแรงสามารถหายได้เองภายในเวลา 5-7 วัน หรือไม่เกิน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเด็กมีไข้สูง รับประทานอาหารได้น้อยมาก ซึมลง หรือมีอาการชัก ควรรีบพบแพทย์และที่สำคัญที่สุดในการดูแลตัวเอง คือ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ ช้อนกลาง และล้างมือ
ข่าวโดย : รุจิรา เสนานุช
หน่วยงาน : ส.ปชส.ลำพูน
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 31451 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 11 ก.ค. 59
เวลา 10:18:58
|