ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
บทความจาก หมอเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อคนไทยทั้งแผ่นดิน
ผักตบชวาเป็นพืชที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเกิดขึ้นอย่างเดียว ทำให้เราสามารถนำไปใช้ประโยชน์มากขึ้น เพราะมีปริมาณมาก และการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของผักตบชวา การลอยน้ำได้ของผักตบชวา ช่วยให้การเก็บเกี่ยวง่ายขึ้น ถ้ามีลมพัดมา หรือกระแสน้ำ ช่วยพัดพามาให้เครื่องเก็บเกี่ยว หากเป็นในแม่น้ำลำคลอง การขึงลวดสลิงติดทุนลอยขวางลำน้ำให้เป็นมุมลู่มาทางที่ตั้งเครื่องเก็บเกี่ยว ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวไปได้มาก และยังเป็นการป้องกันมิให้ผักตบชวาลอยต่อไปยังอ่างเก็บน้ำหรือแหล่งน้ำอื่นๆ แล้วไปขยายพันธุ์ในที่ซึ่งกว้างขวางซึ่งยากต่อการกำจัดผักตบชวา จึงได้นำผักตบชวามาใช้ประโยชน์ด้วยวิธีการต่างๆดังต่อไปนี้
นำผักตบชวามาทำ ปุ๋ย ผักตบชวามา มีโปแตสเซียมอยู่มากเป็นพิเศษ ส่วนธาตุในโตรเจนและฟอสฟอรัส ก็มีพอสมควรและขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่ อาจจะนำผักตบชวาไปทำปุ๋ยได้ 3 วิธี คือ
วิธีที่ 1.ปล่อยให้ผักตบชวาแห้ง แล้วนำผักตบชวาไปเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชที่ปลูก มีข้อได้เปรียบตรงที่ไม้ต้องขนให้หนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด
วิธีที่ 2.ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา ผสมดิน มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
วิธีที่ 3.ทำวัสดุคลุมดิน โดยการนำเอาผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
นำผักตบชวามาเพาะเห็ด ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดี วิธีที่เหมาะที่สุดก็คือ ใช้ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน สลับกับฟางข้าว 1 ส่วน ควรใช้ลังไม้เป็นแบบในการกองเห็ด ขนาดของลังประมาณ 30 x 30 x 50 ซม. เพื่อความสะดวกในการยกกองเห็ดออกจากลัง ควรทำลังไม้เป็น 2 ส่วน ไม่มีฝาบนและล่าง แล้วประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้สายยูเกี่ยววางลังที่ประกอบแล้วลงบนแผ่นไม้ วางผักตบชวาแห้งที่แช่น้ำให้ชุ่มลงในลัง เป็นชั้นสูงประมาณ 10 ซม. แล้วกดให้แน่น โรยเชื้อเห็ดตามริม ลึกเข้าไปประมาณ 2-3 ซม. วางฟางข้าวที่แช่น้ำให้ชุ่มเป็นชั้น แบบเดียวกับชั้นผักตบชวา แล้วโรยเชื้อเห็ดด้วยวิธีเดียวกัน วางผักตบชวาและฟางข้าวสลับชั้นเช่นนี้จนกระทั่งถึงปากลัง ด้านบนโรยเชื้อเห็ดทั้งหมด กองหนึ่งใช้เชื้อเห็ดประมาณครึ่งกระป๋อง (กระป๋องละ 3 บาท) จากนั้นก็แกะไม้แบบลังออก ยกกองเห็ดเข้าไปไว้ในที่อับลมและชื้น เพื่อช่วยให้เห็ดมีความชื้นมากๆ ควรทำที่กำบังลมโดยใช้แผงจาก แฝก หรือแผ่นพลาสติกกั้น รักษาให้ความชื้นอยู่เสมอ จะเกิดดอกเห็ดทั้งด้านข้าสี่ด้านและด้านบนประมาณวันที่ 7 ปริมาณเห็ดที่เกิดบนได้ประมาณกองละ 1 กิโลกรัม ซากผักตบชวาและฟางข้าวที่เก็บเห็ดไปหมดแล้ว ใช้เป็นปุ๋ยหมักหรือวัสดุคลุมดินได้เป็นอย่างดี การกองเห็ดกองขนาดนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที หากสามารถทำได้ทุกวันๆ ละกองจะมีเห็ดฟางรับประทานวันละ 1 กิโลกรัม ถ้าหากรับประทานไม่หมด ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาเฉลี่ยประมาณกิโลกรัม 15 บาท โดยลงทุนค่าเชื้อเห็ดเพียง 1.510 บาท หรือได้กำไรถึง 10 เท่า ทั้งขายทั้งกินคุ้มมากเลย
บทความจาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000026931
|
ไอเดียเจ๋ง "ถ่านผักตบชวาอัดแท่ง" |
|
|
น้องนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ รวมกลุ่มกันช่วยคิดวิธีการกำจัดและลดปริมาณของผักตบชวา จนได้แนวคิดที่นำมาอัดแท่งทำเป็นถ่านใช้ในการหุงต้ม ซึ่งทางมหาวิทยาลัยมีการผลิตถ่านอัดแท่งอยู่แล้วเลยนำไปต่อยอด ทดลอง จนสำเร็จ และส่งโครงการผักตบชวา วัชพืชไร้ค่า พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เข้าร่วมประกวด “โครงการกรุงไทย ต้นกล้าสีขาว” ประจำปี 2555 ภายใต้ทีม Inspiration of weed ที่หมายถึงแรงบันดาลใจจากวัชพืช |
ทั้งนี้ ผักตบชวาสดปริมาณ 1,000 กิโลกรัม สามารถอัดเป็นแท่งที่มีน้ำหนักประมาณ 775 กิโลกรัม โดยมีขั้นตอนในการทำที่ไม่ยาก ดังนี้ |
ขั้นตอนแรกนำผักตบชวาที่เก็บได้มาสับละเอียด หรือนำเข้าเครื่องย่อยปุ๋ยพืชสด เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและสะดวก หลังจากนั้นนำผักตบชวาที่ย่อยแล้วตากแห้งประมาณ 5 -10 วัน แต่ถ้าต้องการประหยัดเวลาสามารถใช้เครื่องอบโดยอบในอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง ก็จะได้ผักตบชวาที่แห้งสนิท จากนั้นก็นำผักตบชวาที่แห้งสนิทแล้วมาผสมน้ำกับแป้งมันสำปะหลังในสัดส่วน ผักตบชวา 10 กิโลกรัม น้ำ 1 ลิตร แป้งมันสำปะหลัง 1 กิโลกรัม แล้วคนให้เข้ากัน เสร็จแล้วก็นำผักตบชวาที่ผสมน้ำและแป้งมันสำปะหลังมาอัดในท่อ PVC ตามขนาดที่ต้องการ หรือถ้าหากใครมีเครื่องอัดก็สามารถนำเข้าเครื่องอัดแท่งได้ หากมีปริมาณมาก จะช่วยประหยัดเวลา |
พอได้ผักตบชวาอัดแท่งแล้ว ให้นำไปตากให้แห้งประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นนำมาเผาแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยใช้แกลบแก่เผาถ่านประมาณ 1 วัน เมื่อเผาเสร็จก็จะได้ถ่านผักตบชวา 500 กิโลกรัม นำไปบรรจุภัณฑ์ชะลอมละ 500 กรัม จะได้ถ่านผักตบชวาทั้งหมด 1,000 ชะลอม ขายชะลอมละ 10 บาท ก็จะได้เงิน 10,000 บาท เมื่อหักต้นทุนค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท ก็จะมีกำไร 5,000 บาท |
สำหรับ สมาชิกในทีมประกอบไปด้วย นายจักรพันธ์ เลี่ยวเจริญสิริชัย นางสาวณัฐพร วงศ์ประสิทธ์ นางสาวธิดารัตน์ วาทกิจ นายชัชชัย ภมรจันทร์ และ นางสาวชาริณี ยอดดี |
“น้องบาส” นายจักรพันธ์ เลี่ยวเจริญสิริชัย ซึ่งเป็นหัวหน้าทีม บอกว่า ผักตบชวา 1 ต้นสามารถขยายได้ 300 ต้นภายในระยะเวลา 1 เดือน จัดเป็นวัชพืชที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำลาย แม้ที่ผ่านมาจะนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์เครื่องจักสาน แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาผักตบชวาให้หมดไปจากแม่น้ำลำคลองได้หมด พวกเราจึงต้องการช่วยลดปริมาณผักตบชวาที่มีจำนวนมากในแม่น้ำปิงที่ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย พอน้ำขาดออกซิเจน ก็ส่งผลต่อการเลี้ยงปลาในประชังของหลายชุมชน นอกจากนั้น ยังไปขวางทางน้ำซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วม จึงได้ร่วมกันคิดค้นวิธีการกำจัดและแปรรูปผักตบชวาที่ไร้ค่าให้มีประโยชน์เพื่อช่วยลดปริมาณของผักตบชวาลง |
ถือว่าเป็นแนวคิดและแรงบันดาลใจจากการที่มหาวิทยาลัยได้ทำถ่านอัดแท่งอยู่ก่อนแล้ว จึงดัดแปลงวัตถุดิบจากไม้มาเป็นผักตบชวา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เกินคาดเพราะถ่านจากผักตบชวาอัดแท่งสามารถใช้งานได้จริงและให้พลังงานความร้อนที่ยาวนานกว่าถ่านไม้ธรรมดาทั่วไปอีกด้วย
สำหรับใครที่สนใจอยากเรียนรู้วิธีการทำถ่านผักตบชวาอัดแท่ง สามารถเข้าไปศึกษาและขอข้อมูลได้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ชุมชนบ้านวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน หรือเข้าไปชมตัวอย่างของถ่านผักตบชวาอัดแท่งได้ที่ http://www.facebook.com/BatteryPhakTb หรือติดต่อน้องๆ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ที่ น้องบาส จักรพันธ์ โทร 083-1575109 หรือ โครงการกรุงไทยต้นกล้าสีขาว โทร 0-2208-8674-6 |
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|