• ด่วน! เชียงใหม่เฝ้าระวัง 'ไวรัสซิก้า' ,ผจว.ยันยังไม่พบผู้ป่วยซิก้า และอย่าตื่นตะหนก |
โพสต์โดย โน้ต cmprice , วันที่ 28 ส.ค. 59 เวลา 00:17:14 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
กระทรวงมหาไทย โดยนายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีโทรสารในราชการกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0214 (ส)/ว 518 ลงวันที่ 26 ส.ค.59 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เพชรบูรณ์ บึงกาฬ และเชียงใหม่ แจ้งให้ทั้ง 4 จังหวัดสนับสนุนกระทรวงสาธารณสุขในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไวรัสซิก้า
ด้าน นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผวจ.เชียงใหม่ ยืนยันว่า ยังไม่พบการติดเชื้อหรือแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสซิกาในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ นับแต่เกิดเหตุที่ อ.สันทรายในครั้งก่อน ในเดือน มิ.ย. 59
ข่าวที่เกี่ยวข้อง > เชียงใหม่เตือนเฝ้าระวังไวรัสซิกา หญิงมีครรภ์เสี่ยงลูกพิการแต่กำเนิด
ไวรัสซิก้านั้นเป็นไวรัสซึ่งอยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (flavivirus) จำพวกเดียวกับไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซิก้าไวรัสสามารถติดต่อได้จากยุงกัด
ผู้ป่วยจากไวรัสซิก้านั้นจะมีไข้ อาจจะมีผื่น ปวดตามข้อ และตาแดง โดยปกติแล้วอาการโดยรวมจะไม่รุนแรงมากและหายได้เองภายในไม่กี่วัน ผู้ป่วยอาการหนักพบได้น้อยและอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล มีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิก้าที่ประเทศบราซิลเมื่อกลางปี 2558 การ ระบาดในประเทศบราซิลนั้นเชื่อว่าทำให้เกิดความผิดปกติของบุตรที่เกิดจากหญิง ที่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยืนยันทางแพทย์ยังไม่ชัดเจน
การติดต่อ
ยุงลาย เป็นพาหะสำคัญของไวรัสซิก้า ซึ่งเป็นพาหะนำโรคชนิดเดียวกับไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่และไข้เลือดออกชิคุ นกุนย่า ยุงลายชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด เช่น แหล่งน้ำในครัวเรือน มีรายงานพบว่าหญิงที่ใกล้จะคลอดบุตร สามารถถ่ายทอดเชื้อสู่บุตรได้ และมีรายงานว่าเชื้อไวรัสสามารถผ่านทางน้ำนมได้ อย่างไรก็ตาม กลไกในการถ่ายทอดผ่านการตั้งครรภ์และน้ำนมนั้นยังไม่ชัดเจน และพบได้น้อยมาก
อาการแสดง
โดยทั่วไปพบว่าราว 1 ใน 5 ของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิก้านั้นจะ ป่วยและแสดงอาหาร ระยะฟักตัวของโรคยังไม่แน่ใจ แต่น่าจะอยู่ในช่วงเดียวกับไข้หวัดใหญ่ คือ สองสามวันไปจนถึงเป็นสัปดาห์ อาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ โดยจะมีไข้ มีผื่นขึ้น ปวดตามข้อ และตาแดง บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักอาจต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล อัตราตายพบน้อย
การวินิจฉัย
ขณะนี้ยังไม่มีเครื่องมือวินิจฉัยที่ทำได้ในสถานพยาบาลทั่วไป แพทย์อาจซักประวัติว่าผู้ป่วยเดินทางไปยังประเทศที่เสี่ยงมาหรือไม่ อาการของโรคโดยรวมนั้นคล้ายกับไข้หวัดใหญ่หรือไข้เลือดออก ดังนั้นในประเทศไทย แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกด้วย
การรักษา
ส่วนใหญ่เป็นการดูแลตามอาการเป็นหลัก ยาต้านไวรัสหรือวัคซีนยังไม่มีในขณะนี้ เนื่องจากในประเทศนั้นตัวโรคมีความคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ จึงมีข้อควรระวังเนื่องจากอาจจะแยกโรคได้ยากในช่วงต้น คือการงดใช้ยาแก้ปวดและลดไข้กลุ่ม NSAIDs เนื่องจากรบกวนการทำงานของเกร็ดเลือดและเสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย
การป้องกัน
ทำได้โดยป้องกันยุงกัดเป็นหลัก หลักการป้องกันและควบคุมโรคในไทยสามารถใช้หลักการเดียวกับการป้องกันไข้ เลือดออก โดยธรรมชาติของยุงลายนั้นจะชอบกัดในเวลากลางวัน การสวมเสื้อผ้ามิดชิด อยู่ในมุ้งหรือใช้มุ้งลวด สามารถลดความเสี่ยงของการโดนยุงกัดได้ สิ่งสำคัญคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งมักเป็นภาชนะที่มีน้ำขังในครัวเรือน เช่น ถ้วยชามที่มีน้ำขัง แม้แต่เศษขยะก็มีน้ำขังได้
สถานการณ์โรค
ขณะนี้ยังไม่พบรายงานของการติดเชื้อไวรัสซิก้าในไทยหรือประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศที่พบผู้ป่วยนั้น อยู่ในทวีปอเมริกา ตั้งแต่เม็กซิโกลงไปถึงกลุ่มประเทศอเมริกากลางและอเมริกาใต้ พบการติดเชื้อในเกาะประปรายในมหาสมุทรแอตแลนติค หากเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ภายใน 30 วัน และเกิดอาการเจ็บป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ให้แจ้งประวัติเหล่านี้ให้แพทย์ทราบ
เนื่องจากมีความกังวลถึงความเชื่อมโยงระหว่างการติดเชื้อไวรัสซิก้ากับ ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ จึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หรือมีแนวโน้มจะตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไป ยังพื้นที่ที่มีการระบาด
เนื่องจากไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด ดังนั้น ตัวไวรัสจะไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยตรงจากการสัมผัส หรือไอจาม อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยนั้น บางครั้งอาการเจ็บป่วยแยกจากไข้หวัดใหญ่ได้ยาก จึงควรมีมาตรการป้องกันเสมอ เมื่อเข้าใกล้ผู้ที่มีกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น การล้างมือ การไอจามต้องปิดปากทุกครั้ง
โดยสรุป
- ไวรัสซิก้าติดต่อจากยุงลายกัด
- ยังไม่มีรายงานของผู้ป่วยในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตามควรเฝ้าระวังใกล้ชิด เพราะประเทศไทยมียุงลาย
- กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดและมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่
- อาการของโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดข้อ อาจมีผื่นและตาแดง
- ระยะฟักตัวไม่แน่ชัด แต่คาดว่าคล้ายไข้หวัดใหญ่คือสองสามวันถึงสัปดาห์
- อาหารของโรคไม่รุนแรงและหายได้อง ส่วนน้อยจะมีอาการหนักและต้องรักษาในโรงพยาบาล
- ยังไม่มีการรักษาจำเพาะ ส่วนใหญ่ให้การรักษาตามอาการ
- ผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ยังคงต้องแยกโรคจากไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออก
- ป้องกันยุงลายกัด และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ที่มา http://www.bangkokhospital.com/
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 5760 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย โน้ต cmprice
IP: Hide ip
, วันที่ 28 ส.ค. 59
เวลา 00:17:14
|