กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันนี้ มินโน้ต ไปอ่านเจอ เรื่องราวของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่ง มันทำให้รู้ถึงรากเหง้า ของบรรพบุรุษของเรา ชาวยอง(ประตูป่า) มันเป็นสิ่งที่หลงเหลือ และสืบทอดจากบ้านเกิดเมืองนอนของบรรพบุรุษ ของพวกเรา จากเมืองยอง(พม่า) ในยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" ชาวบ้านจากหมู่บ้านบ่าม่วงจุม(เมืองยอง พม่า) จึงได้ อพยพ มาตั้งรกราก ณ บ้านประตูป่าใน ปัจจุปัน
หมู่บ้านบ่าม่วงจุม ในความหมายคือ หมู่บ้านที่มีมะม่วงเยอะนั่นเอง และ มะม่วงคือสัญลักษณ์และหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงได้นำเมล็ดพันธ์มะม่วง จากเมืองยอง นำมาปลูกที่ บ้านประตูป่า เพื่อให้ลูกหลาน ได้กินมะม่วงพันธ์ดั้งเดิม จากบ้านเกิดเมืองนอน และที่สำคัญ จะได้ไม่ลืมชาติกำเนิด ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน
จากคำบอกเล่า ครูบาธรรมชัย ได้หวงแหนต้นม่วงคำเป็นอย่างมาก จนถึงขนาด กิ่งไม้แห้งก็ห้ามนำออกไปไหน!! แต่เมื่อ ครูบาธรรมชัยได้ มรณะภาพ (มรณภาพลง เมื่อวันที่ ๒๑ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๓ สิริรวมอายุได้ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕) ได้มีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ได้มาตัด ต้นมะม่วงคำ ไปซะจนเกือบหมด เป็นที่ น่าเสียดายนัก
แต่ยังโชคดี ที่ ต้นมะม่วงคำ ได้ได้แพร่ออกลูกออกหลาน สืบทอดเชื้อสาย แห่งเมืองยอง บ้านมะม่วงจุม ตราบจนทุกวันนี้
โดยต้นมะม่วงคำ รุ่นลูกหลาน ยังมีให้เห็น อยู่ที่ ตลาดประตูป่า ณ ปัจจุปัน โดยตามรูป ที่เห็นข้างล่างนี้
1. ต้นที่เหลือแต่ตอ ในร้านขายของ ในตลาดประตูป่า
2. ต้นที่ถูกตอนเหลือ 2-3 เมตร. ที่ข้างตลาดประตูป่า ทิศเหนือ
3. ต้นมะม่วงข้างลำน้ำ ด้านทิศเหนือของตลาดประตูป่า ที่ยังมีชีวิตอยู่
และอาจจะยังมีต้นอื่นๆ อีกตามบ้าน ของชาวบ้าน ซึ่งปัจจุปัน คาดว่าคงเหลือ เพียงไม่มากแล้ว
มินโน้ต สืบเชื้อสายคนยองประตูป่า มากึ่งหนึ่ง(ลูกครึ่งยอง-เมือง) จึงอยากให้ พี่น้องทุกคน เห็นค่า ของ ต้นมะม่วงคำ นี้ .. อันเป็น จิตวิญญาณของพวกเรา
ต่อไปจากนี้ ก็เป็นหน้าที่ พวกเรา แล้ว ที่ จะ รักษาจิตวิญญาณ สายเลือด แลศักดิ์ศรี เราไว้ไหม?
1. ต้นที่เหลือแต่ตอ ในร้านขายของ ในตลาดประตูป่า
2. ต้นที่ถูกตอนเหลือ 2-3 เมตร. ที่ข้างตลาดประตูป่า ทิศเหนือ
3. ต้นมะม่วงข้างลำน้ำ ด้านทิศเหนือของตลาดประตูป่า
ภาพ และเรื่องราวจาก Phrakrusamu Patiphan Púripañyo และ Freefree Tor Lpn
เพิ่มเติม จากคุณ
มะม่วงคำลูกพันธุ์ดั้งเดิมไม่ได้กลมป้อมลูกเรียวเล็กคล้ายมะม่วงน้ำดอกไม้ขนาดเล็ก เม็ดในใหญ่ ตอนเด็กๆ เวลาสุกจะบีบเอาเม็ดออกแล้วเอาข้าวเหนียวยัดไส้รสชาดหอมหวานค่ะ
วัดประตูป่า ตั้งอยู่เลขที่ ๙๕ หมู่ที่ ๔ ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดประตูป่า สร้างราวปีพุทธศักราช ๒๓๐๑ ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๐๐ กองทัพพม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองเหนือในเขตดินแดนล้านนา เจ้านายฝ่ายในเวียงนครหริภุญไชยหรือเวียงหละปูน(ปัจจุบันคือจังหวัดลำพูน) พระสงฆ์องค์เจ้าและชาวบ้าน ในเมืองหริภุญไชย ได้อพยพหลบภัยสงคราม มาอาศัยอยู่แถบบริเวณปากลำเหมืองไม้แดง ตั้งอยู่เหนือเวียงหละปูน ทั้งไพล่พลข้าราชการฝ่ายในเมืองหริภุญไชยได้ร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น บริเวณที่วัดร้าง ในบริเวณเหนือเวียงหริภุญไชย
ด้วยประวัติศาสตร์นครหริภุญไชยนั้น เป็นเมืองประวัติศาสตร์เป็นนครรัฐที่เก่าแก่ที่สุดก่อนใครในภูมิภาค เป็นต้นแบบทางวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานอารยะธรรมทุกด้านแก่อาณาจักรที่ก่อเกิดขึ้นในภายหลัง เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในภูมิภาคแถบนี้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จากเหตุผลดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่า บริเวณวัดร้างที่เป็นที่ตั้งของวัดประตูป่าในปัจจุบันตลอดจนวัดร้างกู่ต่างๆซึ่งอยู่ในบริเวณหมู่บ้าน ที่รายรอบชุมชนวัดประตูป่าเคยเป็นชุมชนที่เจริญรุ่งเรืองและเลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน
หลังจากนั้นเมื่อเดือน ๗ ขึ้น ๕ ค่ำ ตรงกับวันจันทร์ พ.ศ.๒๓๔๘ พระเจ้ากาวิละได้มอบหมายให้เจ้าคำฟั่นและบริวารจากเมืองเชียงใหม่และเจ้าบุญมา น้องคนสุดท้องและบริวารจากเมืองลำปาง เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง ๔ ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยองนับ ๑๙,๙๙๙ คน เข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ จนถึงวันพุธขึ้น ๘ ค่ำ จึงเข้ามารื้อฟื้นลำพูนได้ พระสงฆ์จำนวน ๑๙๘ รูป สวดมงคลพระปริตรในที่ไชยยะมงคล ๙ แห่ง ในเมืองลำพูน
หลังจากแล้วเสร็จจากการ แผ้วถางเมืองหละปูนที่รกร้าง ได้มีการแบ่งพื้นที่ให้ชาวยองได้อาศัยในบริเวณที่ราบลุ่มใกล้น้ำนอกเวียง ชาวยองบ้านป่าม่วงทั้งหลาย จึงเลือกเอาพื้นที่บริเวณพื้นที่วัดห่าง (วัดร้าง)ใกล้ปากลำเหมืองป่าไม้แดง เป็นที่อาศัย เพราะเป็นพื้นที่ติดน้ำ มีที่ราบสำหรับปลูกพืชและข้าวไร่ได้ มีพื้นที่กว้างขว้างเหมาะแก่การตั้งบ้านเรือน ชาวยองจึงช่วยกันแผ้วถางพื้นที่และบูรณะวัดห่างแห่งนี้ขึ้นมาใหม่และได้อาราธนาพระมหาเถระครูบาเหล็ก และพระสงฆ์จากเมืองยองป่าม่วงที่มาด้วยกัน โดยนิมนต์ให้ครูบาเหล็กเป็นเจ้าอารามแห่งนี้
จากนั้นชาวบ้านได้ร่วมกันปลูกต้นมะม่วง จากเมล็ดของมะม่วงที่นำมาจากเมืองยองในคราวที่ได้อพยพมา นำไปปลูกไว้รอบบริเวณวัดและบริเวณเขตบ้านพื้นที่ที่ได้เข้าไปอยู่อาศัย ประมาณหลายร้อยต้นตามอาณาเขตที่อยู่ เพื่อเป็นหลักฐานไว้คู่หมู่บ้าน และเพื่อรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอนที่บ้านป่าม่วงเมืองยอง คนยองที่อพยพมาตั้งรกรากที่แห่งนี้ ส่วนมากเป็นครอบครัวที่มาจากบ้านป่าม่วง จึงได้นำชื่อบ้านเดิมมาใช้เรียกชื่อวัดและบ้านดั่งเช่นเดิม ประกอบกับต้นมะม่วงที่ปลูกไว้เติบโตขึ้นเกิดร่มเงาลำต้นสูงใหญ่ เกิดเป็นป่ามะม่วงขนาดใหญ่เหนือเวียงหริภุญไชย ชาวบ้านจึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านประตูป่าม่วงจุมหัวเวียงหริภุญไชย หรือป่าโหม่งโหลง (ป่าม่วงหลวง) มีมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองมากมาย หลายชนิดตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เรียกขาน คือ มะม่วงคำ, มะม่วงขี้ยา, มะม่วงจี้ฮีต, มะม่วงม้า, มะม่วงตับเต่า, มะม่วงรอสอ, มะม่วงตอง, มะม่วงฝ้าย ปัจจุบันต้นมะม่วงอายุกว่า ๒๔๐ กว่าปี ยังมีให้เห็นเป็นหลักฐานในการตั้งถิ่นของคนยองบ้านป่าม่วงประตูป่า ปัจจุบันต้นมะม่วงเหลือประมาณ ๑๐ กว่าต้น บริเวณทิศเหนือของวัดตรงหน้าโรงเรียนวัดประตูป่า
วัดประตูป่าม่วงจุม หัวเวียงหริภุญไชย หลักฐานอ้างอิงจากเอกสารจารึกใบลาน ในหอธรรมวัดประตูป่า ในคัมภีร์ อัฏฐังคิกมัคค์ จารในปี จ.ศ.1222 (พ.ศ. 2403) กล่าวว่า "สิทธิภิกขุริกขิตตะ ปางอยู่วัดปตูป่าม่วงชุมหัวเมืองหริภุญไชย."เลขที่เอกสาร ลพ 06 010 031 09
<
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|