ทั้งนี้กระทรวงได้วาง 4 มาตรการสำคัญ เพื่อคัดกรอง ประเมิน บำบัดรักษา เพิ่มการเข้าถึงบริการ ค้นหาเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญ เช่นผู้ที่มีประวัติฆ่าตัวตาย ติดสุรา ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ให้เข้าสู่ระบบบริการช่วยเหลือดูแล พร้อมพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ทันสมัยเพื่อเสนอปัญหาของแต่ละพื้นที่ วางแผนแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และยกระดับปัญหาการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาระดับชาติ รณรงค์ให้ประชาชนใส่ใจสัญญาณเตือน ป้องกันการฆ่าตัวตาย
ขณะที่ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า กรมสุขภาพจิตยังคงเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ วิเคราะห์ปัจจัยสาเหตุการฆ่าตัวตาย พบว่า ความรักความหึงหวงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำร้ายตนเองมากที่สุด รองลงมาคือ โรคซึมเศร้า ช่วงอายุที่ฆ่าตัวตายสูงสุดอยู่ในวัยแรงงาน 30ปีขึ้นไป เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 4 เท่า โดยกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด คือแรงงานชาย อายุ 35-39ปี และ ผู้สูงอายุ 70-74ปี สาเหตุสำคัญจากปัญหาความสัมพันธ์ นอกจากนี้ผู้ที่ฆ่าตัวตายสำเร็จประมาณร้อยละ 2 จะมีการทำร้ายผู้อื่นร่วมด้วย
นอกจากนี้หากประชาชนต้องการผู้รับฟังหรือคำปรึกษา โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Sabaijai ทั้งในระบบ Android และ iOS เพื่อประเมินภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
ข้อมูลข่าวจาก