• พบเครื่องสำอางอันตราย ทำหน้าพังอีก 13 ยี่ห้อ |
โพสต์โดย ตนข่าว เชียงใหม่ , วันที่ 27 ต.ค. 50 เวลา 09:52:16 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
อย.ตรวจพบเครื่องสำอางผสมสารต้องห้ามเกลื่อนตลาดกว่า 13 ยี่ห้อ พบมีทั้งปรอท แอมโมเนีย กรดวิตามินเอ ไฮโดรควิโนน เตือนซื้อใช้ทำหน้าพัง ซ้ำอีก 4 ยี่ห้อเจือสารควบคุมพิเศษ แถมไม่ขึ้นทะเบียนตำรับ เตือนร้านค้านำของเก๊ขายผิด ก.ม.หนัก
นพ.มรกตกรเกษม รมช.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางตามแหล่งจำหน่ายต่างๆ ส่งตรวจวิเคราะห์หาสารห้ามใช้ที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ได้ตรวจพบเครื่องสำอางมีสารห้ามใช้เพิ่มอีก 13 ยี่ห้อ พบกรดเรทิโนอิก หรือกรดวิตามินเอ ปรอทแอมโมเนีย หรือสารประกอบของปรอท และไฮโดรควิโนน ซึ่งสารห้ามใช้ทั้ง 3 ชนิด ทำให้เกิดการแพ้และระคายเคืองต่อผิวหน้า ทำให้หน้าพังได้ นอกจากนี้ ยังตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแสดงฉลากไม่ถูกต้อง บางผลิตภัณฑ์ที่ฉลากไม่มีการระบุผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่าย เลขที่ผลิต วันที่ผลิต หรือวันหมดอายุ
สำหรับรายชื่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง-ผิดกฎหมายทั้ง13 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.สมุนไพรรักษาสิวฝ้า 2.TALEENA CREAM ครีมสมุนไพรว่านหางจระเข้ 3.ครีมสมุนไพรหมอตะวัน โดยทั้ง 3 ยี่ห้อ พบปรอทแอมโมเนีย ฉลากไม่ระบุผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย ไม่มีเลขที่ผลิตและวันที่ผลิต 4.KARME Whitenting Cream Night Cream 5.Hymera Night Cream 6.WEiJiAO Double Night Cream ทั้ง 3 ยี่ห้อ พบกรดวิตามินเอ ฉลากไม่ระบุผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย ไม่มีเลขที่ผลิต
7.ครีมหมอตะวัน พบไฮโดรควิโนนและกรดวิตามินเอ ฉลากไม่ระบุผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย ไม่มีเลขที่ผลิตและวันที่ผลิต 8.JIAO LING ครีมสำหรับกลางวันเพื่อปรับผิวขาวขึ้น จุดด่างดำดูจางลง 9.JIAO LING ครีมสำหรับกลางคืนเพื่อผิวขาวใสขึ้น จุดด่างดำดูจางลง 10.CAI NI YA (ที่กระปุกมีรูปพระอาทิตย์)
11.CAINI YA (ที่กระปุกมีรูปพระจันทร์) ทั้ง 4 ยี่ห้อ พบปรอทแอมโมเนีย ฉลากไม่ระบุผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย และไม่ระบุวันที่ผลิต 12.Hymera Day Cream และ 13.WEiJiAO Whitening Essence พบปรอทแอมโมเนีย ฉลากไม่ระบุผู้ผลิต หรือผู้จำหน่าย และไม่ระบุเลขที่ผลิต
นพ.มรกตกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังพบเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารควบคุมพิเศษที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับให้ถูกต้อง และฉลากไม่ถูกต้องอีก 4 ยี่ห้อ ได้แก่ EAGLES BROWN HENNA ตรวจพบสารพาราเฟนิลีนไดเอมีน0.608% แต่แจ้งไว้ที่ฉลาก ว่ามี 1% อีกทั้งฉลากไม่ระบุผู้นำเข้าและเลขทะเบียน จัดเป็นเครื่องสำอางปลอม จึงอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเครื่องสำอางยี่ห้อ SPA สมุนไพรขมิ้นชันเปลี่ยนสีผิว SPA สมุนไพรน้ำแร่เปลี่ยนสีผิวสปา และ SPA ครีมน้ำนมมะขามเปลี่ยนสีผิวสปา
ทั้งนี้ ตัวผลิตภัณฑ์พบสารไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ซึ่งเป็นสารควบคุมพิเศษ โดยมิได้ขึ้นทะเบียนตำรับให้ถูกต้อง อีกทั้งยังพบในปริมาณที่เกินอัตราส่วนสูงสุดที่กฎหมายกำหนด และที่ฉลากไม่มีการระบุผู้ผลิต เลขทะเบียน เลขที่ผลิต และวันที่ผลิต จัดเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อเครื่องสำอางยี่ห้อดังกล่าวมาใช้อย่างเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายได้ เมื่อจะซื้อต้องระมัดระวัง โดยซื้อจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน มีฉลากภาษาไทยที่มีข้อความบังคับครบถ้วน ที่สำคัญไม่ควรซื้อเพียงเพราะเชื่อคำโฆษณา
พร้อมย้ำว่าร้านค้าที่ซื้อเครื่องสำอางมาจำหน่าย จะต้องซื้อจากผู้มีหลักแหล่งน่าเชื่อถือ รวมถึงมีหลักฐานการซื้อขายที่ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้ขายอย่างชัดเจน อย่านำเครื่องสำอางที่ผิดกฎหมายมาจำหน่าย หากเจ้าหน้าที่ อย.ตรวจพบจะดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยผู้ขายจะต้องมีความผิดเช่นเดียวกับผู้ผลิต ส่วนบทลงโทษผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้นำเข้าเพื่อขาย และผู้ขายเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยในการใช้ จะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มาจากหนังสือพิมพ์
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1957 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว เชียงใหม่
IP: Hide ip
, วันที่ 27 ต.ค. 50
เวลา 09:52:16
|