ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

22 กรกฎาคม ครบรอบวันสถาปนา
โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
ขอเชิญชวนศิษย์ปัจจุบัน และ ศิษย์เก่า พร้อมใจกันเปลี่ยนรูปโปร์ไฟลเป็น "โลโก้โรงเรียนส่วนบุญ"
เพื่อน้อมรำลึกถึงบูรพคณาจารย์ตั้งแต่รุ่นก่อตั้งอันมี เจ้าหญิงส่วนบุญ เป็นประธาน รวมถึงครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ได้สอนสั่งวิชา
#เลือดน้ำเงินขาว เพราะมีส่วนบุญ ศิษย์จึงมีวิชา
ปี พ.ศ. 2471 สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพได้พิจารณาการจัดตั้งโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดลำพูนขึ้น เนื่องจากเห็นว่าการจัดตั้งโรงเรียนแบบสหศึกษาไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในสมัยนั้น นอกจากนี้กระทรวงธรรมการ(กระทรวงศึกษาธิการ) ก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงเรียนร่วมในโรงเรียนเดียวกัน สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพจึงมีหนังสือกราบทูลมหาอำมาตย์เอกพระเจ้าวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีวิวัติ เสนาบดีกระทรวงธรรมการขอประทานอนุมัติแยกโรงเรียนสตรีออกมาจากโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนวิทยาคม เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวสตรีเป็นการเฉพาะ ในการนี้สมุหเทศาภิบาลมลฑลพายัพได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ราชพัสดุ เลขที่ 8281 (สรรพากร) ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนอัฏฐารสด้านเหนือของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารสำหรับก่อสร้างอาคารเรียนเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร้จได้มีพิธีการทำบุญฉลองเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2471 โดยมี นางคำปัน โภคะกุล เป็นผู้อำนวยการคนแรก ในปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนชายจักรคำคณาธรได้ย้ายออกจากบ้านสันดอนรอมไปอยู่ที่บ้านหนองเส้ง โรงเรียนสตรีจังหวัดลำพูนจึงย้ายมาแทนที่ ที่บ้านสันดอนรอมแทน และใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดลำพูน "ส่วนบุญโญปถัมภ์" ต่อมา เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2542 ได้มีการเปิดเป็นแบบสหศึกษา และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรีงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน และถือเอาวันที่ 22 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียน
โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน คู่กับ โรงเรียนจักรคำคณาทร เป็นสถาบันการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ) โดยได้รับชื่อมาจากนามของพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน เจ้าผู้ครองนครลำพูนคนที่ 10 กับนามของเจ้าหญิงส่วนบุญ จักรคำขจรศักดิ์ ชายาเจ้าจักรคำฯ ผู้ให้การอุปถัมภ์โรงเรียนประจำจังหวัดลำพูน ทั้ง 2 แห่งมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มก่อตั้ง เจ้าหญิงส่วนบุญ จักรคำขจรศักดิ์ เป็นธิดาเจ้าราชสัมพันธ์วงค์ ณ เชียงใหม่ กับเจ้าคำย่น ณ ลำพูน สมภพเมื่อวันแรม 7 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู ตรงกับ วันพุธที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2440 มีพี่น้องร่วมอุทร 4 คนคือ
เจ้าเผ่าพรหม ณ เชียงใหม่ เจ้าชมชื่น ณ เชียงใหม่ เจ้ากุศลวงศ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าหญิงส่วนบุญ ณ เชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2488 เจ้าหญิงส่วนบุญ ณ เชียงใหม่ เจริญชันษาได้ 15 ปี ได้สมรสกับพลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน มีทายาทสืบสกุล 1 คน คือ เจ้าพัฒนา ณ ลำพูน เจ้าหญิงส่วนบุญจักรคำขจรศักดิ์ ได้ปฏิบัติกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการภายในนครลำพูนเคียงคู่พลตรีเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ณ ลำพูน นานัปการได้แก่ การสนับสนุนงานช่างฝีมือด้านการทอผ้าโดยได้ตั้งโรงงานทอผ้าขึ้นภายในคุ้มของท่านซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนวังขวา ส่วนภารกิจที่มีความสำคัญต่ออนาคตกุลธิดาในจังหวัดลำพูน คือการอุปถัมภ์ด้านการศึกษาแก่เยาวสตรีให้เข้าศึกษาในสถานศึกษาสำหรับเยาวสตรเป็นการเฉพาะ ทั้งนี้เป็นผลพวงสืบเนื่องมาจากปลายปี 2471 สมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพได้พิจารณาว่าการจัดตั้งโรงเรียนแบบสหศึกษาไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมในขณะนั้นนอกจากนี้กระทรวงธรรมการ(กระทรวงสึกษาธิการ) ก็ไม่มีนโยบายส่งเสริมให้นักเรียนชายกับนักเรียนหญิงเรียนร่วมในโรงเรียนเดียวกันสมุหเทศาภิบาลมณฑลพายัพจึงมีหนังสือกราบทูลมหาอำมาตย์เอกพระเจ้าวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีวิวัติ เสนาบดีกระทรวงธรรมการขอประทานอนุมัติแยกโรงเรียนสตรีออกมาจากโรงเรียนประจำจังหวัดลำพูนวิทยาคม เพื่อจัดตั้งเป็นโรงเรียนสำหรับเยาวสตรีเป็นการเฉพาะในการนี้สมุหเทศาภิบาลมลฑลพายัพได้ขออนุญาตใช้พื้นที่ราชพัสดุ เลขที่ 8281 (สรรพากร) ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนอัฏฐารสด้านเหนือของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารสำหรับก่อสร้างอาคารเรียนเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร้จได้มีพิธีการทำบุญฉลองเปิดโรงเรียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2491ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 โรงเรียนชายจักรคำคณาธรได้ย้ายออกจากบ้านสันดอนรอมไปอยู่ที่บ้านหนองเส้ง คือที่ตั้งในปัจจุบันโรงเรียนสตรีจังหวัดลำพูนจึงย้ายมาแทนที่บ้านสันดอนรอมแทน ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนสตรีประจำจังหวัดลำพูน ส่วนบุญโญปถัมภ์”
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|