• เจ๋ง เด็กมงฟอร์ต รับรางวัล ในระดับอาเซียน สาขา Biological Science |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 30 ก.ค. 60 เวลา 13:45:31 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ทีมโครงงานวิทยาศาสตร์โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้รับรางวัล 2nd Prize ในสาขา Biological Science ในการแข่งขัน ASEAN Student Science Project Competition หรือ ASPC 2017
ASEAN Student Science Project Competition หรือ ASPC 2017 การแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาระดับ ASEAN นี้จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กับ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 3 แล้ว โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการเชิญตัวแทนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จาก10ประเทศอาเซียนมาทำการแข่งขัน ในปีนี้มีประเทศส่งตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ลาว และไทย มีการเชิญกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภายในประเทศไทย และประเทศต่างๆในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมการตัดสินด้วย โดยการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น3สาขา ได้แก่ Physical Science (วิทยาศาสตร์กายภาพ) Biological Science (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) และ Applied Science (วิทยาศาสตร์ประยุกต์) การแข่งขันจัดขึ้นเมื่อวันที่ 22-27 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า ทีมโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยได้รับรางวัล 2nd Prize ในการแข่งขันสาขา Biological Science หรือ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากโครงงาน “The Studying Antibacterial Property of Extracts from Thai Herbs for Developing Hydrogel Dressing” หรือ “การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของพืชสมุนไพรไทยเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ปิดแผลไฮโดรเจล” โดยมีนักเรียนผู้พัฒนาโครงงานได้แก่ นาย นาวินธิติ จารุประทัย นาย กฤฎติโชค ดวงศรี และนาย ณัฐวัฒน์ ชัยยอง นักเรียนชั้นม.5 และมีอาจารย์ที่ปรึกษาคือ มาสเตอร์ ปิยะ ไชยอ้าย
โครงงานดังกล่าวเป็นการนำพืชสมุนไพรที่คนไทยใช้ในการรักษาแผลมาตั้งแต่สมัยโบราณมาศึกษาคุณสมบัติ รวมไปถึงสารที่อยู่ภายในพืชชนิดต่างๆได้แก่ หมาก ใบบัวบก ผักบุ้งไทย และเสลดพังพอนตัวเมีย เริ่มจากการศึกษารอบระยะเวลาการเจริญเติบโตของพืชชนิดต่างๆดังกล่าว เพื่อแบ่งระยะเวลาในการแบ่งศึกษาคุณสมบัติของพืชที่มีอายุต่างกันโดยการนำมาสกัดด้วยวิธีที่ต่างกัน และใช้ตัวทำละลายในการสกัดที่ต่างกัน จากนั้นนำมาศึกษาปริมาณของสารออกฤทธิ์ในพืชชนิดต่างๆ ปริมาณของสารสกัดที่ได้ และฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆที่พบบนแผลที่ถูกอ้างอิงจากงานวิจัยทั่วโลก จากนั้นเลือกสารสกัดที่สามารถยับยั้งเชื้อแต่ละชนิดได้ดีที่สุดมาผสมกันเพื่อพัฒนาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียเพื่อนำไปเพิ่มลงในผลิตภัณฑ์ปิดแผลไฮโดรเจลต่อไป โดยมีการทดลองและคำนวณหาสูตรที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมต่อไปอีกด้วย โครงงานนี้เกิดจากความร่วมมือของทางโรงเรียนกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศไทยภายในจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่ อาจารย์อัศวิน ดาดูเคล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่ อาจารย์ ผศ.ดร.คณารัฐ ณ ลำปาง หน่วยวิจัยพอลิเมอร์ทางการแพทย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ รศ.ดร.ชนากานต์ เทโบลต์ พรมอุทัย ภาควิชาเกษตรพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ อาจารย์ ดร.ชูชาติ สันธทรัพย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่ามกลางการสนับสนุนของสมาคมผู้ปกครองและครู และสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย นับเป็นครั้งที่2ของกลุ่มผู้พัฒนาที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขันดังกล่าว เนื่องจากการแข่งขันในปี 2559 (ASPC 2016) กลุ่มผู้พัฒนากลุ่มนี้ได้รับรางวัล 3rd Prize ในรุ่น Junior Level สาขา Biological เช่นกัน โดยก่อนจะได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศในการแข่งขันในรายการดังกล่าวในปีนี้ โครงงานนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ในงานสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2559 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่1 จากเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์แห่งชาติ ครั้งที่12 (TYSF 12) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐมเมื่อเดือนตุลาคม ปี2559 ที่ผ่านมา
ต้องการรายละเอียด ติดต่อกลับมาได้ที่ Email : premier31032544@gmail.com เบอร์ 063-5425926 หรือติดต่อมาทางโรงเรียนมงฟอร์ตเพื่อเข้ามาสอบถามข้อมูลได้
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2713 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 30 ก.ค. 60
เวลา 13:45:31
|