กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วิธีการใช้บัตรทองกรณีได้รับอุบัติเหตุ
1.เข้ารับการรักษากับหน่วยบริการของรัฐ และเอกชนที่เข้าร่วมโครงการที่อยู่ใกล้ที่สุด
2. แจ้งความจำนงเพื่อขอใช้สิทธิทุกครั้ง พร้อมทั้งแสดงบัตรทองและบัตรประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ ถ้าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ให้ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
3. ถ้าได้รับอุบัติเหตุจากรถ เบื้องต้นต้องใช้สิทธิ ตามความคุ้มครองของ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถก่อน ส่วนเกินถึงใช้สิทธิบัตรทองได้
แต่หากไม่มี พรบ. ต้องทำยังไง!
จากการที่ได้โทรไปสอบถามเบื้องต้นที่ "สายด่วน สปสช. 1330" สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้คำตอบว่า "รถไม่มีพรบ. ไม่สามารถใช้สิทธิ์บัตรทองก่อนค่ะ ต้องชำระเงินค่ารักษาก่อนจนถึง 30,000 บาท จึงจะใช้สิทธิบัตรทองได้ หลังจาก 30,000 นั้นได้
นั่นหมายความว่า หากค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 40,000 บาท คุณจะต้องจ่าย 30,000 บาทก่อน และ อีก10,000 ที่เหลือ บัตรทองจะจ่ายให้
หรือ หากไม่มีเงิน สามารถ ขอใช้สิทธิ์ได้ ไม่เกิน 30,000 แต่จะโดนเรียกเก็บย้อนหลัง พร้อมเพิ่มเงินอีก 20% และ ค่าปรับอีกไม่เกิน 1หมื่นบาท
ทำ พรบ.รถ ไม่ยากเลยครับ . ตามรายละเอียด รถ จยย. อยู่ที่ 332บาท ( ขนาด cc.รถมาตรฐานที่ส่วนใหญ่ใช้กัน) สามารถ จด/ต่อ พรบ. ได้ทุกสภาพรถ ไม่ว่าเก่าใหม่ ขาดภาษี ฯลฯ ต่อ พรบ. กันเถอะครับ
แอดมินแนะนำที่ คนนี้เลย ตรอ.สุวรรณโอฬาร จ.ลำพูน ง่ายๆ ครับ โทร.สอบถาม ชำระเงิน ต่อพรบ.(ได้รับการคุ้มครองมันที) และ ค่อยส่งเอกสารกันทีหลังได้ ติดต่อได้ที่ คุณเก๋ 0979979614 แอดไลน์ได้ที่ คลิ๊กที่ลิงค์ได้เลย > https://line.me/ti/p/~aiaigibka
เมื่อ รถไม่มี พรบ. 30 บาทรักษาทุกโรค(บัตรทอง) คุ้มกันเราไหม ?
รายละเอียด : ผู้ประสบภัยขี่จักยานยนต์ไม่มีพ.ร.บ. โรงพยาบาลจะเรียกเก็บเงินจากใครใช้เอกสารอะไรบ้าง และถ้าผู้ประสบภัยจ่ายเงิน จะเรียกเงินคืนได้จากที่ใดหรือไม่
คำตอบ : ผู้ประสบภัยที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. สามารถไปใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น(ค่ารักษาพยาบาลตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 30,000บาท) ได้จาก "(คปภ.)สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย ประจำจังหวัด" ในกรณีที่เป็นสถานพยาบาลต้องให้ผู้ประสบภัยเซ็นมอบอำนาจให้ในใน บ.ต.๒ ด้วย สำหรับเอกสารประกอบที่ต้องใช้ได้แก่ ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการแจ้งหนี้ และสำเนาบันทึกประจำวันของตำรวจ สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากรถไม่มีประกันภัย กองทุนจ่ายค่าเสียหายให้ผู้ประสบภัยไปก่อนแล้วจะไปไล่เบี้ยคืนจากเจ้าของรถ โดยบวกเงินเพิ่มอีก 20% พร้อมทั้งปรับเจ้าของฐานฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัย และผู้ขับขี่ฐานนำรถที่ไม่มีประกันภัยมาใช้อีกคนละไม่เกิน 10,000 บาท
สายด่วน 1791
ที่มา http://www.rvp.co.th/faq.html
ความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (แต่ไม่รวมถึงทรัพย์สินที่เสียหาย).
จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (จ่ายโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และ
รถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใน 7 วัน ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร/สูญเสียอวัยวะ จ่าย 35,000 บาท/คน
(หากเกิดความเสียหายทั้ง 2 กรณีรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาท)
หมายเหตุ : การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับค่ารักษาพยาบาล ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
เรื่องมาตรฐานกลางของรายการและจำนวนเงิน ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ที่บริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยต้องจ่ายให้กับผู้ประสบภัยจากรถ
------------------------------------------------------
จ่ายค่าสินไหมทดแทน (จ่าย เมื่อพิสูจน์ความรับผิดแล้ว) รวมค่าเสียหายเบื้องต้น ดังนี้
กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 - 300,000 บาท/คน
กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ : (ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น)
------------------------------------------
เมื่อประสบอุบัติเหตุและมีประกันภัย พ.ร.บ. กรณีเป็นผู้โดยสาร เข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 7 วัน จะได้รับค่าชดเชยเท่าไร?
เงินชดเชยรายวัน เป็นค่าสินไหมทดแทนที่นอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหายต่อชีวิต ที่กำหนดให้บริษัทประกันภัยของรถคันที่เป็นฝ่ายผิด ซึ่งจะต้องรับผิดชอบ โดยจะทำการจ่ายให้ผู้เสียหายโดยตรง สำหรับผู้ที่เป็นผู้โดยสารและหรือบุคคลภายนอกที่ถูกกระทำให้ได้รับความเสียหายต่อชีวิตหรือร่างกาย ในอัตราวันละ 200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20 วัน โดยจะพิจารณาจากหลักฐานการแสดงถึงจำนวนวันที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (เป็นผู้ป่วยใน) เป็นสำคัญ ทั้งนี้ หากผู้ประสบภัยนั้นเป็นผู้ขับขี่ และเป็นฝ่ายผิดจะไม่ได้รับเงินชดเชยรายวันดังกล่าวนี้แต่อย่างใด
จากประเด็นคำถาม ผู้ประสบภัยเป็นผู้โดยสาร หากรถประกันที่ผู้ประสบภัยโดยสารมาด้วยนั้นเป็นฝ่ายผิด และมีการนอนรักษาตัว ในโรงพยาบาล 7 วัน
บริษัทประกันภัยจะต้องจ่ายค่าชดเชยรายวันให้ จำนวน 1,400 บาท (200 บาท * 7 วัน)
ทำ พรบ.รถ ไม่ยากเลยครับ . ตามรายละเอียด รถ จยย. อยู่ที่ 332บาท ( ขนาด cc.รถมาตรฐานที่ส่วนใหญ่ใช้กัน) สามารถ จด/ต่อ พรบ. ได้ทุกสภาพรถ ไม่ว่าเก่าใหม่ ขาดภาษี ฯลฯ ต่อ พรบ. กันเถอะครับ
แอดมินแนะนำที่ คนนี้เลย ตรอ.สุวรรณโอฬาร จ.ลำพูน ง่ายๆ ครับ โทร.สอบถาม ชำระเงิน ต่อพรบ.(ได้รับการคุ้มครองมันที) และ ค่อยส่งเอกสารกันทีหลังได้ ติดต่อได้ที่ คุณเก๋ 0979979614 ใช้เวลาแป๊ปเดียวจริงๆ
แอดไลน์ได้ที่ คลิ๊กที่ลิงค์ได้เลย > https://line.me/ti/p/~aiaigibka
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|