• ยอดหญิงไทยดื่มเหล้าพุ่งเหตุมีปัญหาสามี-แม่ผัว |
โพสต์โดย ตนข่าว เชียงใหม่ , วันที่ 22 พ.ย. 50 เวลา 10:33:51 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ยอดหญิงไทยดื่มเหล้าพุ่งเหตุมีปัญหาสามี-แม่ผัว
ปริมาณจำหน่าย-นำเข้าสุราในไทยเพิ่มขึ้น47% ในช่วง10 ปีเตือนนักดื่มเสี่ยงติดเอดส์ หลังพบผู้ป่วยโรคเอดส์วัดพระบาทน้ำพุ กว่า 70% ติดเชื้อเพราะเมาขณะที่งานวิจัยชี้ชัดต้นเหตุหญิงไทยติดเหล้าเพราะปัญหาครอบครัวกับสามี-แม่ผัว
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ที่โรงแรมริชมอนด์จ.นนทบุรีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวในการเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการสุราระดับชาติครั้งที่ 3
เรื่องสุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา ระหว่างวันที่21-22 พฤศจิกายน จัดโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีนักวิชาการนักวิจัย และผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 200 คนว่า
จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องช่วยดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งต้องทำทั้งด้านการรณรงค์และให้การศึกษาแก่เด็ก เยาวชนและประชาชนทั่วไป และผู้ดื่มต้องมีจิตสำนึกดื่มหรือดื่มให้น้อย
หรือดื่มแล้วไม่ไปมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น รวมทั้งชุมชนต้องร่วมมือกันสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการลดละเลิกการดื่ม และมาตรการทางกฎหมายที่จะควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ไม่สามารถมอมเมามาก ขายมาก ราคาถูกได้ง่ายเกินไป
นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สัดส่วนผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้งลดลง ขณะที่นักดื่มประจำเพิ่มขึ้นจาก 16.4% ในปี2539 เป็น18.5% ในปี2549 หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้น13% โดยคนจนหรือผู้มีรายได้ไม่เกิน5,000 บาทต่อเดือนเป็นกลุ่มที่ดื่มมากที่สุดถึง 66% ที่น่าห่วงคือเยาวชนอายุ15-19 ปีมีสัดส่วนของการเพิ่มขึ้นของนักดื่มประจำถึง 45%
อายุ20-24 ปีมีนักดื่มประจำเพิ่มขึ้น 30% และกลุ่มผู้หญิงมีสัดส่วนนักดื่มหน้าใหม่เพิ่มขึ้น30 % นอกจากนี้สถิติข้อมูลการจำหน่ายสุราที่ผลิตในประเทศไทยและปริมาณการนำเข้าสุราจากต่างประเทศของกรมสรรพสามิต พบว่า ปริมาณการจำหน่ายและนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มจาก 1,650 ล้านลิตรในปี2540 เป็น2,424 ล้านลิตรในปี2549 คิดเป็น47%
ด้านนพ.บัณฑิตศรไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยปัญหาสุรากล่าวว่า สัดส่วนของการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนประสบอุบัติเหตุจราจรทางบกแบบรุนแรงจนต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หรือถึงขั้นเสียชีวิตสูงถึง 40-60% สำหรับครอบครัวที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีแนวโน้มของการเกิดความรุนแรงในครอบครัวสูงเป็น4 เท่าเมื่อเทียบกับครอบครัวที่ไม่ได้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
และการวิจัยของกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปี 2549 พบว่า55.9% ของคดีที่เกี่ยวกับชีวิตและร่างกายผู้กระทำความผิดก่อคดีขณะอยู่ในอาการเมาสุรา นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังมีผลต่อการติดโรคเอดส์ โดยกว่า 70% ของผู้ป่วยโรคเอดส์ในวัดพระบาทน้ำพุมีสาเหตุมาจากการดื่มเหล้า
นพ.บัณฑิตกล่าวอีกว่า การดำเนินการพัฒนามาตรการเพื่อควบคุมปัญหาสุราที่เห็นชัดเจนที่สุดในปี 2550 คือการผลักดันพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ... ที่มีสาระในการจำกัดการเข้าถึงโดยกลไกการกำหนดพื้นที่ห้ามจำหน่าย/ดื่มเวลาห้ามจำหน่ายและอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะซื้อ และการควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการขยาย
ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ส่วนที่จะดำเนินการในปี 2551-2552 เป็นมาตรการทางภาษีโดยปรับระบบภาษีเป็นวิธีคิดภาษีผสมทั้งสองวิธีคือ คิดภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์บวกด้วยวิธีคิดภาษีตามมูลค่าราคาขายและให้อัตราภาษีตามปริมาณแอลกอฮอล์ปรับตามเงินเฟ้อทุกปี
ในงานเดียวกันมีการนำเสนอผลงานวิจัย ผลการศึกษาและผลงานทางวิชาการประมาณ 60 เรื่องหนึ่งในผลงานที่น่าสนใจ ได้แก่ เรื่อง บริบททางสังคมและวัฒนธรรมกับพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ของพันตรีหญิงดร.กุนนทีพุ่มสงวน อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลกองทัพ
ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาบริบทแบบแผนของวิถีชีวิตของผู้หญิงที่อยู่ภายใต้บริบททางสังคมและวัฒนธรรมในเขตชานเมือง กรุงเทพมหานคร ที่ส่งผลให้ผู้หญิงมีความคิด ความเชื่อ และมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้วิธีการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่าผู้หญิงทุกคนทราบถึงอันตรายและผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีต่อสุขภาพ การเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มสูบบุหรี่ เล่นการพนัน และส่งผลให้เกิดภาระหนี้สินตามมา ที่สำคัญพบด้วยว่า บริบททางสังคม
ส่งผลโดยตรงให้ผู้หญิงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจุดเริ่มต้นที่แท้จริงที่ทำให้ผู้หญิงดื่ม คือ ปัญหาภายในครอบครัว ระหว่างผู้หญิงกับสามีหรือแม่สามี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงถูกนำมาใช้เพื่อคลายความขัดแย้ง ความทุกข์ที่เกิดจากความล้มเหลวในชีวิตสมรส
ส่วนบริบททางวัฒนธรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมบริโภคนิยม ส่งผลทางอ้อมที่เอื้อให้ผู้หญิงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ การแก้ปัญหาจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามี ควรมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้หญิงไทย
ที่มาจาก
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1818 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว เชียงใหม่
IP: Hide ip
, วันที่ 22 พ.ย. 50
เวลา 10:33:51
|