• บ้านใครหนาวบ้าง? กรมอุตุประกาศ ฝนหน้าหนาว 7-11 เตรียมรับมือ |
โพสต์โดย เดลต้าพาเพลิน , วันที่ 05 พ.ย. 61 เวลา 21:36:24 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
อนึ่ง ในช่วงวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2561 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างจะเคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคใต้ตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคใต้ตอนล่างระมัดระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาดังกล่าว
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 17:00 วันนี้ ถึง 17:00 วันพรุ่งนี้
ภาคเหนือ อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ในขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ ส่วนในช่วงวันที่ 7-10 พ.ย. หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซีย จะเคลื่อนผ่านภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง ขณะที่ในช่วงวันที่ 9-11 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคกลางตอนล่าง ประกอบกับคลื่นกระแสลมตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้
(เนื้อหานี้ จะลบตัวเองภายใน 24 ชม. หากใครต้องการอ่านเนื้อหาจะลิงค์ไปยังที่มาต้นฉบับ)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 9069 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย เดลต้าพาเพลิน
IP: Hide ip
, วันที่ 05 พ.ย. 61
เวลา 21:36:24
|