• สว. มีโอกาสสูง เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 28 ก.ย. 62 เวลา 12:50:42 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ผู้สูงอายุ เสี่ยง‼ ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าวัยอื่น ลูกหลานควรเข้าใจ ใส่ใจ อดทนในการดูแล
.
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยโรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจ รู้สึกไม่มีความสุข จิตใจหม่นหมอง เบื่อหน่าย แยกตัวเอง ท้อแท้ สิ้นหวัง มองชีวิตไม่มีคุณค่า คิดอยากตาย
.
โรคซึมเศร้าปัจจุบันพบมากในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากโรคทางกาย เช่น การเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคประจำตัว ทำให้ใช้ชีวิตไม่ได้ตามปกติและยากลำบากขึ้น เกิดจากยาที่ใช้บางตัว อาทิ ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหัวใจบางชนิด ยารักษามะเร็งบางชนิด ยารักษาโรคพาร์กินสันบางชนิด
.
สาเหตุทางจิตใจและสังคม เช่น การสูญเสียบุคคลผู้อันเป็นที่รัก การไม่มีงานไม่มีรายได้ การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่ การไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเหมือนเดิม เป็นต้น
.
นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างสูงกว่าวัยอื่น นอกจากอาการด้านจิตใจ คือ ซึมเศร้าแล้ว อาจมีอาการทางกายตามมาด้วย คือ นอนไม่หลับ หรือหลับมากกว่าปกติ มีอาการปวดตามที่ต่างๆ หลายๆ ที่พร้อมกัน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง หรือไม่สบายตามร่างกาย มีอาการอ่อนเพลียรู้สึกไม่มีแรง มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับถ่ายอุจจาระกระปริดกระปรอย แต่เมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพกลับไม่พบความผิดปกติใดๆ
.
การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ รักษาได้ด้วยยา ต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป จึงจะเห็นผลการรักษา ไม่ควรซื้อยากินเองควรปรึกษาแพทย์ เพราะยาแก้โรคซึมเศร้าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายหากใช้ไม่ถูกวิธี
.
การทำจิตบำบัดแบบประคับประคองด้านจิตใจ พฤติกรรมบำบัด เพื่อแก้ไขความคิดในด้านลบต่อตนเอง การรักษาทางด้านจิตใจ เช่น ให้คำปรึกษาและการรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยเฉพาะรายที่อาการหนักไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่นๆ
.
ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุควรเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้า ยินดีรับฟังเรื่องราวที่ผู้สูงอายุเล่าให้ฟัง มีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้สูงอายุบางรายอาจมีลักษณะอารมณ์กลับมาเป็นเด็ก หรืออาจหงุดหงิด จึงควรพูดคุยด้วยท่าทีที่อ่อนโยน รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเองด้วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 802 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 28 ก.ย. 62
เวลา 12:50:42
|