กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำจังหวัดลำพูน จากโครงการชลประทานลำพูน รองผู้ว่าราชการลำพูน ออกมายอมรับว่า ปีนี้น้ำน้อยมาก แต่ได้เตรียมแผนไว้แล้ว
ส่วนโรงงานต่างๆ ได้ ขุดสระไว้ใช้เองแล้ว คาดว่าไม่น่ามีปัญหา
พื้นที่จะหนักที่สุด คือ อ.ลี้ อ.แม่ทา และ อ.เมือง
10 พืชทนแล้ง ปลูกได้ ใช้น้ำน้อย!
1.คะน้า ใช้น้ำ 300 ลบ.ม./ไร่
คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม - เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด
2.เห็ดฟาง ใช้น้ำ 300 ลบ.ม./ไร่
เห็ดฟาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Volvariella volvacea) เป็นเห็ดกินได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะเลี้ยงในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบในรูปแบบสด แต่มีพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
3.กวางตุ้ง ใช้น้ำ 300 ลบ.ม./ไร่
ผักกวางตุ้ง (False Pak Choi) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก อยู่ในตระกูลกะหล่ำและผักกาด มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่ฐานลำต้น มีก้านใบหนาและยาวอวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน หรือสีขาวตามสายพันธุ์ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะทรงกลมรี ใบกว้างใหญ่ ผิวใบบางเรียบ ใบมีสีเขียว ดอกออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อยออกที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลืองสด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปยุโรป เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไป ในหลายประเทศทั่วโลก ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ เป็นพืชผักที่มีมาแต่โบราณ มีประโยชน์สรรพคุณทางยา หลายอย่าง นำมาประกอบอาหารเมนูต่างๆ ได้หลายเมนู สามารถรับประทานสดได้ มีรสชาติหวานกรอบ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว
4.ถั่วเขียวผิวมัน ใช้น้ำ 350 ลบ.ม./ไร่
ถั่วเขียว เป็นพืชตระกูลถั่ว ที่ให้เมล็ดที่มีเปลือกสีเขียว แต่เนื้อเมล็ดสีเหลือง ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีอายุสั้น หรือวงจรชีวิตของถั่วเขียวมันสั้น จึงใช้น้ำน้อยกว่าพืชไร่อื่นหลายชนิด และงอกได้เร็ว สามารถใช้ในระบบปลูกพืช เช่น ทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสพภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำนาหรือทำไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วย บำรุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน ตรึงไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ถั่วเขียวมีสองชนิด ได้แก่ ถั่วเขียวผิวมัน และถั่วเขียวผิวดำ
5.ถั่วฝักยาว ใช้น้ำ 400 ลบ.ม./ไร่
ถั่วฝักยาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata (L.) Walp. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Vigna sinensis (L.) Savi ex Hausskn., Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk., Vigna unguiculata subsp. unguiculata)
ส่วนอีกข้อมูลระบุว่าเป็นชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vigna unguiculata subsp. sesquipedalis (L.) Verdc. จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ถั่วฝักยาว มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและอินเดีย จัดเป็นผักที่ชาวเอเชียนิยมรับประทาน และยังเป็นผักที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย เพราะนอกจากจะใช้ปรุงเป็นอาหารได้อย่างหลากหลายแล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในด้านอุตสาหกรรมแช่แข็งและบรรจุกระป๋องอีกด้วย
6.มะระจีน ใช้น้ำ 500 ลบ.ม./ไร่
มะระ ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia L. จัดอยู่ในวงศ์แตง (CUCURBITACEAE) ต้นมะระจัดเป็นพันธุ์ไม้เลื้อยเขตร้อน เป็นพืชผักอาหารที่อยู่คู่กับคนเอเชียมาช้านาน โดยมะระแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์ที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี นั่นก็คือ มะระขี้นก (ซึ่งเราได้กล่าวไปแล้วในบทความก่อน ๆ) และ มะระจีน (ซึ่งจะกล่าวในบทความนี้) ซึ่งเป็นที่นิยมนำมารับประทานมากกว่ามะระขี้นก
7.แตงกวา ใช้น้ำ 560 ลบ.ม./ไร่
แตงกวา (Cucumber) เป็นพืชล้มลุกที่มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียจัดว่า เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับน้ำเต้า ฟักทอง แตงโม บวบ มะระ แตงกวาเป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตรวดเร็ว มีรากแก้วและรากแขนงจำนวนมาก ลำต้นมีลักษณะเป็นเถาเลื้อยยาวประมาณ 2-3 เมตร ใบมีมุม 3-5 มุม มีขนหยาบ ปลายมีลักษณะแหลมยาว ดอกมีกลีบ 5 กลีบ สีเหลือง ส่วนผล มีลักษณะรูปทรงกระบอกยาวตั้งแต่ 5-40 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดอยู่ตรงกลางสามารถนำมารับประทานได้ทั้งผล
8.พริก ใช้น้ำ 700 ลบ.ม./ไร่
พริก ภาษาอังกฤษ : Chili, Chilli Pepper แต่ถ้าเป็นพริกขนาดใหญ่ ๆ ที่มีรสอ่อน ๆ เราจะเรียกว่า Bell pepper, Pepper, Paprika, Capsicum เป็นต้น โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ มีการนำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นแล้ว
9.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ใช้น้ำ 700 ลบ.ม./ไร่
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทย ทุกวันนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ผลิตได้น้อย บางปีจึงต้องนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เข้ามาใช้ในประเทศ
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์ลูกผสมที่มีลักษณะทางการเกษตรสม่ำเสมอ ได้แก่ ขนาดฝัก ความสูงฝัก ความสูงต้น อายุถึงวันออกไหม และเก็บเกี่ยว ที่สำคัญให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่าพันธุ์ผสมเปิด จึงเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ได้
สำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ลูกผสมที่จำหน่ายในท้องตลาด มักให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยว 100-120 วัน พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กระจายอยู่ทั่วประเทศ อาทิ จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา เลย เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น
10.มันเทศ ใช้น้ำ 750 ลบ.ม./ไร่
มันเทศ อุดมไปด้วยแหล่งอาหารสำคัญ เช่น คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามิน เอ วิตามิน ซี แคลเซียม โพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระเบต้าแคโรทีน ทำให้มีความเชื่อว่า มันเทศอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และอาจรักษาหรือป้องกันโรคบางชนิดได้
มันเทศเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีรสหวาน มีเนื้อในหลากสีสันตามสายพันธุ์ เช่น สีส้ม สีขาว สีแดง สีเหลือง หรือสีม่วง เป็นต้น ในมันเทศมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลได้ โดยมันเทศจะมีรสหวานยิ่งขึ้นเมื่อเก็บไว้เป็นเวลานานหรือนำไปปรุงอาหาร วิธีประกอบอาหารส่วนใหญ่ที่คนนิยม คือ นำไปต้ม นึ่ง อบ หรือทอด
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|