กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

14 สิงหาคม 2563 ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้เพื่อรู้เท่าทันและรับมือกับข่าวปลอม สร้างเครือข่ายต่อต้านข่าวปลอม สู่บุคลากรภาครัฐ เครือข่ายสื่อมวลชน และประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมนาเป็นจำนวนมาก
นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า จากกระแสข้อมูลข่าวสารที่ไหลบ่าอย่างรวดเร็วทางเครือข่ายสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะทางเฟซบุ๊กนั้น ร้อยละ 70 เป็นข่าวปลอม ร้อยละ 20 เป็นข่าวจริง และที่เหลือร้อยละ 10 เป็นข่าวบิดเบือนที่จงใจให้เกิดการเข้าใจผิดต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ
ได้แบ่งข่าวปลอม ออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้
1) Satire/Parody ข่าวเสียดสีหรือล้อเลียน คือข่าวที่เน้นการล้อเลียนหรือเสียดสีให้เกิดความตลก แต่ไม่ตั้งใจให้เกิดความเสียหายกับใคร
2) False Connection ข่าวที่เชื่อมโยงมั่วๆ พาดหัวข่าว ภาพประกอบ หรือแคปชั่น ไม่ได้ไปด้วยกันกับเนื้อหาของข่าวดังกล่าวเลย
3) Misleading Content ข่าวที่ทำให้เข้าใจผิด ข่าวที่เป็นข่าวแหละ แต่จงใจทำให้เข้าใจผิด ทั้งแต่ประเด็นหรือตัวบุคคล ด้วยเป้าหมายบางอย่าง
4) False Context ข่าวที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ผิดบริบทการเอาข้อมูลที่เกิดขึ้นในบริบทหนึ่งๆ มาใส่ในบริบทหนึ่ง เช่นเอาเหตุการณ์ในที่หนึ่งมาใส่ในอีกที่หนึ่ง
5) Imposter Content อ้างแหล่งที่มามั่วๆเช่นอ้างว่าข้อมูลนี้มาจากคนที่มีตำแหน่งสำคัญ มาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ ..ทั้งที่จริงๆ แล้วไม่ได้มาจากแหล่งที่ว่าเลย!
6) Manipulated Content ตัดต่อ ดัดแปลงอ้างมีข้อเท็จจริงอยู่บ้าง แต่ผ่านการตัดต่อหรือดัดแปลง เพื่อวัตถุประสงค์ในการลวงผู้รับสาร
7) Fabricated Content ปลอม 100% เป็นเรื่องราวที่ปลอมขึ้นมา 100% มโนล้วน ๆ โดยไม่มีมูลใด ๆ ทั้งสิ้นเลย
ซึ่งข่าวปลอมทั้ง 7 ประเภท อาจเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย เช่น นักข่าวทำงานผิดพลาด ต้องการเสียดสีเอาสนุก ๆ หวังผลประโยชน์ทางการค้า หวังผลทางการเมือง ฯลฯ
สำหรับประชาชนที่พบข้อมูลข่าวสารที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอม ควรใช้วิจารณญาณก่อนการส่งต่อหรือแชร์ข้อความข่าวสารนั้น ๆ โดยสามารถแจ้งเบาะแสข่าวไปยังศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com, เฟซบุ๊ก "Anti-Fake News Center Thailand", ไลน์ออฟฟิศเชียล @antifacenewscenter, twitter @AFNCThailand หรือ สายด่วน 1111 ต่อ 87 นอกจากนั้นยังสามารถตรวจสอบข่าวจริงได้ทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊ก "ข่าวจริงประเทศไทย" ของกรมประชาสัมพันธ์ ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|