• ลำพูนเตือน! หูดับ พบแล้ว 9ราย จากการกิน และ สัมผัสหมูดิบ(ผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา) |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 02 ก.ย. 63 เวลา 22:20:31 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ข้อมูลข่าวและที่มา
ผู้สื่อข่าว : อานนท์ บุญมาตุ้ย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
บรรณาธิการ : นายประเสริฐ อินทา ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
แหล่งที่มา : ส.ปชส.ลำพูน
นายแพทย์สุริยพงณช์ สุริยะพงฑากุล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำพูน เผยว่า สถานการณ์โรคไข้หูดับ หรือ โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส ในพื้นที่จังหวัดลำพูนข้อมูลล่าสุด พบผู้ป่วย 9 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต มีอำเภอที่พบผู้ป่วยอยู่จำนวน 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเวียงหนองล่อง จำนวน 5 ราย และอำเภอป่าซาง จำนวน 4 ราย ซึ่งทุกรายอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติแล้ว
สาเหตุเกิดจากการรับประทานลาบหมูดิบ หรือลาบที่มีส่วนผสมของเลือดดิบ รองลงมาคือการชำแหละหมูสดโดยไม่ใช้อุปกรณ์ป้องกัน
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโรคไข้หูดับ ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสกับหมูที่ติดโรคโดยตรง เช่น คนเลี้ยงหมู คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อหมู และคนที่รับประทานเนื้อหมูดิบ เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่เสี่ยงจะมีอาการป่วยรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ไต มะเร็ง หัวใจ ผู้ที่เคยตัดม้ามออก
สำหรับข้อแนะนำและสิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อไป ได้แก่
1. ผู้บริโภคเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการติดต่อจากโรค ควรให้ความรู้ในการป้องกันตนเอง เริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อเนื้อจนถึงการปรุงเพื่อบริโภคในทุกขั้นตอน เลือกเนื้อหมูที่มีความสะอาด จากร้านค้าที่มีใบรับรองการนำเนื้อหมูออกจากโรงฆ่าสัตว์ที่มาตรฐาน
2. เมื่อผู้ป่วยคนแรกหรือกลุ่มผู้ป่วยกลุ่มแรกในพื้นที่ต้องสอบสวนโรคกลับไปหาแหล่งที่มาของการติดเชื้อทันทีว่าผู้ป่วยติดโรคมาจากแหล่งขายเนื้อหมูแหล่งใด
3. การป้องกันควบคุมโรคต้องเริ่มต้นจากกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มผู้เลี้ยงหมู กลุ่มผู้ทำงานโรงฆ่าสัตว์ กลุ่มผู้จำหน่ายเนื้อหมูและผู้บริโภค โดยให้ความรู้และการป้องกันตนเองจากการสัมผัสหมูต่อไป.
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)
(ที่มา https://www.pidst.or.th/A233.html)
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) พบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อ ปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศเดนมาร์ก ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 2 ราย และติดเชื้อในกระแสเลือด 1 รายต่อมามีรายงานค่อนข้างน้อย พบประปรายเพียงประมาณ200 ราย จากหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ เนเธอร์แลนด์เดนมาร์ก อิตาลี เยอรมัน เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักรฝรั่งเศส สเปน สวีเดน ไอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการีนิวซีแลนด์ อาร์เจนตินา ฮ่องกง โครเอเชีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และมีรายงานการระบาดในประเทศจีน 2 ครั้ง คือพ.ศ. 2541 ในมณฑลเจียงซู พบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต14 ราย และ พ.ศ. 2548 ในมณฑลเฉวน พบผู้ป่วย 215ราย เสียชีวิต 39 ราย ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้มีการรวบรวมรายงานการเกิดโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิสในผู้ป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2527 - 2536 พบผู้ป่วย 25 รายเสียชีวิต 1 ราย และในปี พ.ศ. 2548 พบผู้ป่วยรวม 13 รายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 พบผู้ป่วย 1 ราย ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีรายงานผู้ป่วย 3 ราย รายแรกพบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นพบผู้ป่วยอีกรายใน เดือนมีนาคม 2543 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545พบผู้ป่วย อีก 1 ราย เพาะเชื้อจากเลือด พบเชื้อ สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
สถานการณ์โรคในประเทศไทย: มีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่พ.ศ. 2530 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือเช่น ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร
มีรายงานการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2535พบผู้ป่วย 6 ราย ในโรงพยาบาลรามาธิบดี คิดเป็นร้อยละ 17 ของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นหนอง มีเพียง 3 ราย มีประวัติสัมผัสสุกรก่อนจะมีการป่วยด้วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมีอาการหูหนวกทั้งสองข้าง
ปี พ.ศ. 2540 มีรายงานผู้ป่วย 3 ราย มีอาการรุนแรงทั้ง 3 ราย รายที่หนึ่งเป็นชาย อายุ 23 ปี อาชีพชำแหละสุกร ติดเชื้อทางผิวหนังจากบาดแผลที่ข้อมือ ผู้ป่วยได้รับการรักษาและหายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลงเหลืออยู่รายที่สองเป็นหญิง อายุ 49 ปี อาชีพกรรมกร ไม่ตอบสนองต่อการรักษา และถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา ไม่พบประวัติการสัมผัสโรค และรายที่สามเป็นชาย อายุ 45 ปีอาชีพช่างสีรถยนต์ ผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้รับการชันสูตรยืนยันโดยการเพาะเชื้อว่าเป็นการติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส ผู้ป่วยหายจากโรคแต่ยังคงมีอาการหูหนวกเหลืออยู่
ปี พ.ศ. 2542 มีรายงานจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น รายงานผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 1 รายเพศชาย อายุ 50 ปี อาชีพตำรวจ การตรวจยืนยันเพาะเชื้อจากเลือดและนํ้าไขสันหลัง พบเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส
ปี พ.ศ. 2543 มีรายงานผู้ป่วย 1 ราย จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นชายอายุ 45 ปี อาชีพขับรถบรรทุก ผู้ป่วยรายนี้ถึงแก่กรรม ผลการเพาะเชื้อจากสารนํ้าในช่องท้องพบเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
ปี พ.ศ. 2542 - 2543 มีรายงานผู้ป่วยจากจังหวัดลำพูนจำนวน 10 ราย ทุกรายเป็นชาย อายุ 40-49 ปี มีอาการป่วยในช่วงเวลาเดียวกัน และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่และทุกรายถึงแก่กรรม ผลการเพาะเชื้อชันสูตรพบเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
3. อาการของโรค : อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ไข้ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียน กลัวแสง สับสน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวกถาวร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะ ข้ออักเสบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ในรายที่มีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตับไต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ลูกตาอักเสบ มีผื่นจํ้าเลือดทั่วตัวและช็อก หลังจากที่หายจากอาการป่วยแล้ว อาจมีความผิดปกติของการทรงตัวและการได้ยินการยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจพบเชื้อจากนํ้าไขสันหลัง เลือด หรือของเหลวจากข้อ (joint fl uid) ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับการติดเชื้อจากสเตร็พโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) หรืออาการแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute meningitis) จะคล้ายกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
การแพร่ติดต่อโรค : สามารถติดต่อโรคได้ 3 ทาง ดังนี้
1. ทางผิวหนัง มนุษย์สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่เป็นโรค หรือเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร ผู้ตรวจเนื้อ สัตวบาล สัตวแพทย์ และผู้ที่หยิบจับเนื้อสุกรดิบเพื่อปรุงอาหาร กลุ่มคนที่มีหน้าที่ต้องชำแหละซากสัตว์ หรือทำงานในโรงฆ่าสัตว์ มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยในต่างประเทศส่วนใหญ่ (ทั้งยุโรปและเอเชีย) ติดเชื้อจากลักษณะนี้
2. ทางการกิน จากการบริโภคเนื้อสุกรที่ดิบๆ หรือปรุงสุกๆ ดิบๆ หรือเลือดสุกรที่ไม่สุก ซึ่งผู้ป่วยคนไทยส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อโดยวิธีนี้
3. ทางเยื่อบุตา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2927 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 02 ก.ย. 63
เวลา 22:20:31
|