• แพร่ ประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว PRRS ในหมู @ต.บ้านถิ่น อ.เมืองแพร่ |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 13 ก.ย. 63 เวลา 21:04:55 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ปศุสัตว์อำเภอเมืองแพร่ ออกหนังสือประกาศเตือนเกษตรกรเฝ้าระวังโรคพีอาร์อาร์เอส (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome : PRRS) หลังพบสุกรป่วย ตายด้วยโรคดังกล่าวในพื้นที่หมู่ 3 และหมู่ 5 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรเข้า ออก หรือนำผ่าน เขตเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2563 เพื่อเป็นการควบคุมดูแลโดยเจ้าหน้าที่อย่างใกล้ชิด
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 นายปริญญา แสงพายัพ ปศุสัตว์อำเภอเมืองแพร่ ได้ออกหนังสือระบุเรื่องว่า กำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวโรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS ; Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ในสุกร
ด้วยในท้องที่ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ พบสัตว์ ชนิดสุกร ป่วยหรือตายด้วยโรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS ; Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ซึ่งเป็นโรคระบาตตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ในท้องที่หมู่ 3, 5 ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดออกไปย้งท้องที่ข้างเคียง หรือระบาดเข้ามาในท้องที่ได้จากการเคลื่อนย้ายสัตว์ หรือซากสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือพาหะของโรคระบาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 สัตวแพทย์ประจำท้องที่อำเภอเมืองแพร่ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ท้องที่ตำบลบ้านถิ่น อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่
ไปทางทิศเหนือ จด ตำบลร่องฟองและตำบลน้ำชำ อำเภอเมืองแพร่
ไปทางทิศใต้ จด ตำบลสวนเขื่อนและตำบลกาญจนา อำเภอเมืองแพร่
ไปทางทิศตะวันออก จด ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่
ไปทางทิศตะวันตก จด ตำบลร่องฟองและตำบลเหมืองหม้อ อำภอเมืองแพร่
เป็นเขตเขตโรคระบาดชั่วคราวโรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS ; Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) ในสัตว์ชนิดสุกร
ข้อ 2 ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์ ชนิดสุกร หรือซากของสัตว์ดังกล่าว เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตโรคระบาดชั่วคราว เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2563
ประกาศ ณ วันที่ 9 เดือนกันยายน พ.ศ.2563
ปริญญา แสงพายัพ ปศุสัตว์อำเภอเมืองแพร่
หมายเหตุ : ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 22 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
ขณะนี้โรค prrs ในหมู ระบาดในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ Admin จึงไปหาข้อมูล มาฝากสมาชิกว่ามันคือโรคอะไรและสามารถระบาดไปสู่คนได้ไหม? เรามาอ่านกันครับ
โรค พี อาร์ อาร์ เอส (PRRS: Porcine reproductive and respiratory syndrome)
|
|
|
เป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจในสุกร มีสาเหตุ มาจากเชื้อไวรัส PRRS virus (PRRSV) มีการระบาดมากในสุกรก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรมาโดยตลอด เริ่มพบการระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2530 พบในญี่ปุ่นปี พ.ศ. 2531 ในยุโรปปี พ.ศ. 2533
ไวรัส PRRSV
เป็น single strand enveloped RNA virus ใน Genus Arterivirus Family Arteriviridae เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปสู่ระบบน้ำเหลือง และแบ่งตัวในเม็ดโลหิตขาว alveolar macrophage ไวรัสจะทำลายเซลล์ macrophage จนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ร่างกายไม่แข็งแรง ติดเชื้อโรคแทรกซ้อนได้ง่าย
สายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
มีสองสายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อเมริกา และสายพันธุ์ยุโรป ในประเทศไทยมีการพบทั้งสองสายพันธุ์ และอาจจะพบไวรัสทั้งสองสายพันธุ์ในสุกรตัวเดียวกันก็ได้ ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายเหมือนกับเชื้อไวรัส HIV และไวรัสไข้หวัดใหญ่ จึงอาจจะมีการกลายพันธุ์ได้ง่าย
อาการของโรค
ในแม่สุกร แม่สุกรที่ติดเชื้อพีอาร์อาร์เอสจะแสดงอาการเบื่ออาหาร มีไข้ นมแห้ง ทำให้ลูกสุกรไม่ได้รับน้ำนมเพียงพอ จึงอ่อนแอ และเกิดโรคติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย ทั้งจากเชื้อแบคทีเรีย และไวรัส ชนิดอื่นๆ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจที่มีชื่อเรียกว่า โรคพีอาร์ดีซี (Porcine respiratory disease complex) และจะแท้งในช่วงท้ายของการตั้งท้อง ลูกตายแรกคลอด หรือหากลูกไม่ตายแรกคลอด จะมีอาการอ่อนแอ แคระแกรน โตช้าในลูกสุกรและสุกรขุน สุกรที่มีอายุมากจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงหากไม่มีการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
ลูกสุกร เมื่อได้รับเชื้อจากแม่สุกร หรือสุกรจากเล้าอื่น จะมีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ ลำพังเชื้อไวรัส PRRS เพียงอย่างเดียวไม่ทำให้สุกรแสดงอาการอย่างเด่นชัด แต่จะมีปัจจัยอื่น ๆ มาร่วมด้วย เช่น สุขภาพของสุกร การมีโรคอื่นแทรกซ้อน การสุขาภิบาลภายในฟาร์ม ปัจจัยเครียดต่างๆ เป็นต้น อาจจะแสดงอาการป่วย หายใจเร็ว อ้าปากหายใจ ใช้กล้ามเนื้อท้องช่วยในการหายใจ ตาบวม ใบหูคั่งเลือดออกสีม่วงคล้ำ ขนลูก หนาวสั่น หรืออาจมีท้องเสีย อาจจะมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย มีอัตราการตายได้ถึงร้อยละ 80
|
โอกาสที่ไวรัส PRRS จะแพร่เชื้อมาสู่คน
เคยพบไวรัส PRRS ในเป็ดหัวเขียว แต่ยังไม่เคยมีรายงานว่าติดต่อมายังคนหรือในสัตว์อื่น จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน แต่เนื่องจากไวรัส PRRSV เป็น RNA virus ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ง่าย และเป็นไวรัสที่จัดอยู่ในกลุ่มใกล้เคียงกับ SARS Coronavirus ที่ก่อโรครุนแรงในคน และยังมี Simian hemorrhagic fever virus ซึ่งเป็นไวรัสใน Genus Arterivirus เช่นเดียวกับ PRRSV ก็สามารถก่อโรคในลิงได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่ไวรัส PRRSV จะสามารถติดต่อมาสู่คนได้ หากมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมของไวรัสมากขึ้น
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสมาสู่คน
ปฏิบัติเช่นเดียวกับการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย รวมถึงอุจจาระและสารคัดหลั่งจากสัตว์ป่วยตาย ป้องกันการสัมผัสสัตว์โดยตรงโดยใช้ถุงมือและผ้าปิดปาก
|
|
|
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis)
โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) พบครั้งแรกในมนุษย์เมื่อ ปี พ.ศ. 2511 ที่ประเทศเดนมาร์ก ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ 2 ราย และติดเชื้อในกระแสเลือด 1 รายต่อมามีรายงานค่อนข้างน้อย พบประปรายเพียงประมาณ200 ราย จากหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ เนเธอร์แลนด์เดนมาร์ก อิตาลี เยอรมัน เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักรฝรั่งเศส สเปน สวีเดน ไอร์แลนด์ ออสเตรีย ฮังการีนิวซีแลนด์ อาร์เจนตินา ฮ่องกง โครเอเชีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และมีรายงานการระบาดในประเทศจีน 2 ครั้ง คือพ.ศ. 2541 ในมณฑลเจียงซู พบผู้ป่วย 25 ราย เสียชีวิต14 ราย และ พ.ศ. 2548 ในมณฑลเฉวน พบผู้ป่วย 215ราย เสียชีวิต 39 ราย ในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงได้มีการรวบรวมรายงานการเกิดโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิสในผู้ป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2527 - 2536 พบผู้ป่วย 25 รายเสียชีวิต 1 ราย และในปี พ.ศ. 2548 พบผู้ป่วยรวม 13 รายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2549 พบผู้ป่วย 1 ราย ในสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีรายงานผู้ป่วย 3 ราย รายแรกพบในเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 หลังจากนั้นพบผู้ป่วยอีกรายใน เดือนมีนาคม 2543 ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2545พบผู้ป่วย อีก 1 ราย เพาะเชื้อจากเลือด พบเชื้อ สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
สถานการณ์โรคในประเทศไทย: มีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่พ.ศ. 2530 ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดทางภาคเหนือเช่น ลำพูน เชียงใหม่ พะเยา พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร
มีรายงานการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2535พบผู้ป่วย 6 ราย ในโรงพยาบาลรามาธิบดี คิดเป็นร้อยละ 17 ของผู้ป่วยโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นหนอง มีเพียง 3 ราย มีประวัติสัมผัสสุกรก่อนจะมีการป่วยด้วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และมีอาการหูหนวกทั้งสองข้าง
ปี พ.ศ. 2540 มีรายงานผู้ป่วย 3 ราย มีอาการรุนแรงทั้ง 3 ราย รายที่หนึ่งเป็นชาย อายุ 23 ปี อาชีพชำแหละสุกร ติดเชื้อทางผิวหนังจากบาดแผลที่ข้อมือ ผู้ป่วยได้รับการรักษาและหายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลงเหลืออยู่รายที่สองเป็นหญิง อายุ 49 ปี อาชีพกรรมกร ไม่ตอบสนองต่อการรักษา และถึงแก่กรรมในเวลาต่อมา ไม่พบประวัติการสัมผัสโรค และรายที่สามเป็นชาย อายุ 45 ปีอาชีพช่างสีรถยนต์ ผู้ป่วยทั้ง 3 ราย ได้รับการชันสูตรยืนยันโดยการเพาะเชื้อว่าเป็นการติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส ผู้ป่วยหายจากโรคแต่ยังคงมีอาการหูหนวกเหลืออยู่
ปี พ.ศ. 2542 มีรายงานจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์จังหวัดขอนแก่น รายงานผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 1 รายเพศชาย อายุ 50 ปี อาชีพตำรวจ การตรวจยืนยันเพาะเชื้อจากเลือดและนํ้าไขสันหลัง พบเชื้อสเตร็พโตค็อกคัสซูอิส
ปี พ.ศ. 2543 มีรายงานผู้ป่วย 1 ราย จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นชายอายุ 45 ปี อาชีพขับรถบรรทุก ผู้ป่วยรายนี้ถึงแก่กรรม ผลการเพาะเชื้อจากสารนํ้าในช่องท้องพบเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
ปี พ.ศ. 2542 - 2543 มีรายงานผู้ป่วยจากจังหวัดลำพูนจำนวน 10 ราย ทุกรายเป็นชาย อายุ 40-49 ปี มีอาการป่วยในช่วงเวลาเดียวกัน และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่และทุกรายถึงแก่กรรม ผลการเพาะเชื้อชันสูตรพบเชื้อแบคทีเรียสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส
3. อาการของโรค : อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ไข้ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียน กลัวแสง สับสน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวกถาวร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะ ข้ออักเสบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ในรายที่มีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตับไต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ลูกตาอักเสบ มีผื่นจํ้าเลือดทั่วตัวและช็อก หลังจากที่หายจากอาการป่วยแล้ว อาจมีความผิดปกติของการทรงตัวและการได้ยินการยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจพบเชื้อจากนํ้าไขสันหลัง เลือด หรือของเหลวจากข้อ (joint fl uid) ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับการติดเชื้อจากสเตร็พโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcus pneumoniae) หรืออาการแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute meningitis) จะคล้ายกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค
การแพร่ติดต่อโรค : สามารถติดต่อโรคได้ 3 ทาง ดังนี้
1. ทางผิวหนัง มนุษย์สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่เป็นโรค หรือเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก ได้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร ผู้ตรวจเนื้อ สัตวบาล สัตวแพทย์ และผู้ที่หยิบจับเนื้อสุกรดิบเพื่อปรุงอาหาร กลุ่มคนที่มีหน้าที่ต้องชำแหละซากสัตว์ หรือทำงานในโรงฆ่าสัตว์ มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยในต่างประเทศส่วนใหญ่ (ทั้งยุโรปและเอเชีย) ติดเชื้อจากลักษณะนี้
2. ทางการกิน จากการบริโภคเนื้อสุกรที่ดิบๆ หรือปรุงสุกๆ ดิบๆ หรือเลือดสุกรที่ไม่สุก ซึ่งผู้ป่วยคนไทยส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อโดยวิธีนี้
3. ทางเยื่อบุตา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1982 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 13 ก.ย. 63
เวลา 21:04:55
|