• ลำพูน ยิงจรวดทำฝนเมฆเย็น/สลายลูกเห็บ เพื่อบรรเทาภัยแล้ง |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 22 พ.ค. 64 เวลา 13:40:30 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

ข่าวโดย นายอานนท์ บุญมาตุ้ย เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำพูน
ผู้ว่าฯลำพูน ลงพื้นที่บ้านผาลาด ต.นาทราย อ.ลี้ ตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ สทป.และฝนหลวงในการทดลองยิงจรวดทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บ เพื่อบรรเทาภัยแล้ง
นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนและคณะฯ ได้เดินทางลงพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยแม่หละ หมู่ 15 บ้านผาลาด ต.นาทราย อ.ลี้ จ.ลำพูน เพื่อตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่จากสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และเจ้าหน้าที่จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งได้เดินทางเข้ามาในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.64 และจะปฏิบัติงานถึง วันที่ 6 มิ.ย.64 เพื่อทำการทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บด้วยการยิงจรวด ปล่อยสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ลงในก้อนเมฆ ทำให้เมฆตกลงมาเป็นฝน ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และยังช่วยทำให้กลุ่มเมฆที่กำลังจะก่อตัวขึ้นเป็นลูกเห็บขนาดใหญ่มีขนาดเล็กลงจนกลายเป็นฝน บรรเทาภัยที่อาจจะเกิดจากลูกเห็บให้กับประชาชน บ้านเรือน และผลผลิตทางการเกษตรไม่ได้รับความเสียหาย
นาวาอากาศโท ไพศาล บุญยะรัตน์ ผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศ ของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กล่าวว่า การทดลอง ด้วยการยิงจรวด ดังกล่าว เป็น Platform ทางเลือกในการนำสารซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่ก้อนเมฆที่ความสูงประมาณ 18,000-24,000 ฟุต ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว สารซิลเวอร์ไอโอไดด์จะทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของอนุภาคน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียล ทำให้เกิดการพัฒนาตัวอย่างรวดเร็วและตกลงมาเป็นฝน โดยปกติกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจะใช้เครื่องบินในการปฏิบัติการ แต่สำหรับในกรณีที่สภาพอากาศแปรปรวนเครื่องบินไม่สามารถขึ้นบินเข้าโจมตีเมฆเย็นได้จะดำเนินการอย่างไร จึงเกิดแนวความคิดในการสร้างความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร (ฝล.) กับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กำหนดความต้องการทางเทคนิค ให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศออกแบบและผลิตจรวดเพื่อบรรจุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์สำหรับทำฝน เพื่อใช้เสริมในภารกิจปฏิบัติการทำฝนหลวงเมฆเย็น และร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดดัดแปรสภาพอากาศที่มีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการใช้ในภารกิจยับยั้งพายุลูกเห็บหรือทดลองทำฝนจากเมฆเย็นในสภาพอากาศของประเทศไทย
สำหรับผลการดำเนินการ นายกำพล เกษจินดา นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ได้เริ่มปฏิบัติการฯตั้งแต่ วันที่ 25 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน ได้ทำการยิงจรวดดัดแปรสภาพอากาศไปจำนวน 7 นัด ในการทดสอบจะใช้ข้อมูลจากเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย และโปรแกรมประยุกต์ TITAN ช่วยติดตาม และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง เมื่อกลุ่มเมฆเป้าหมายเคลื่อนที่เข้ามาอยู่ในแนวยิงของจรวด ก็จะทำการยิงจรวดเข้ากลุ่มเมฆเป้าหมาย ดังกล่าว โดยผลของการทดสอบ พบว่า หลังจากการยิงจรวด (ณ ตำแหน่งเวลา 0 นาที) ค่าคุณสมบัติทางกายภาพของเมฆ ได้แก่ ความสูง ปริมาตร มวล ค่าการสะท้อนสูงสุด และค่า VIL เริ่มคงที่ และมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างกลุ่มเมฆตัวอย่างวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ภายหลังยิงจรวดฯ ค่าโอกาสการเกิดลูกเห็บลดลงอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลในพื้นที่ที่ไม่มีรายงานการเกิดลูกเห็บ
นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน กล่าวว่า โครงการดังกล่าวนั้นถือเป็นนวัตกรรมที่ดี ต่อประชาชน และประเทศไทย โดยพื้นที่ อำเภอลี้ ของจังหวัดลำพูน จะเกิดปัญหาภัยแล้งขึ้นทุกปี การพัฒนายากลำบาก จะทำฝาย ขุดสระน้ำ เจาะน้ำบาดาล ในพื้นที่การเกษตรก็ไม่ได้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวน และป่าไม้ไม่อนุญาต การทดลองเชิงปฏิบัติการในการทำฝนเมฆเย็นหรือสลายลูกเห็บ ในพื้นที่จังหวัดลำพูน นั้นจะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งของพี่น้องประชาชน เกษตรกร มีน้ำ กิน น้ำใช้ อย่างเพียงพอ ต่อไป

ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 5611 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 22 พ.ค. 64
เวลา 13:40:30
|