• ฮ่องกงวิจัย ไฟเซอร์2เข็ม สร้างภูมิคุ้มกัน ได้มากกว่าซิโนแวค 2เข็ม 11เท่า |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 26 มิ.ย. 64 เวลา 19:08:28 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันนี้ 26 มิถุนายน 2564 ศาสตราจารย์นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์เฟสบุ๊กเพื่อเผยแพร่ผลวิจัยของคณะแพทย์จากฮ่องกง ซึ่งได้ตีพิมพ์งานวิจัยดังกล่าวในวารสารการแพทย์ฮ่องกง หรือ Hong Kong Medical Journal ซึ่งมีข้อสรุปสำคัญว่า วัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์เพียงเข็มเดียว สามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ได้มากกว่าวัคซีนยี่ห้อซิโนแวคทั้ง 2 เข็ม
โดยสรุปข้อความว่า "Pfizer vaccine กระตุ้นการสร้าง antibody (ภูมิคุ้มกัน) ได้เหนือกว่า Sinovac vaccine
สัปดาห์ก่อนหลายคนได้เห็นข่าวทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง หรือ HKU นำเสนอข้อมูลที่สรุปได้ว่าคนที่ได้รับวัคซีนของ Pfizer x BioNTech (ไฟเซอร์-ไบออนเทค) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่า Sinovac (ซิโนแวค) แต่ยังไม่เห็นข้อมูลผลการศึกษาจริง
สองวันก่อนมี early release (การตีพิมพ์เบื้องต้น) ลงใน Hong Kong Medical Journal (วารสารการแพทย์ฮ่องกง) เปรียบเทียบระดับ anti-spike antibody และ surrogate neutralizing antibody ของบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน Pfizer หรือ Sinovac หลังฉีดเข็มแรก และหลังฉีดครบสองเข็ม กลุ่มละราว 200 คน
ผลการตรวจพบว่าระดับ antibody (ภูมิคุ้มกัน) ที่วัดโดย 3 เทคนิค (Roche, Genscript และ Abbott) ในพลาสม่าของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer สูงกว่า Sinovac อย่างชัดเจน
โดยระดับ antibody (ภูมิคุ้มกัน) ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer เข็มแรก มีค่าสูงพอ ๆ กัน หรือสูงกว่าผู้ที่ได้ Sinovac ครบสองเข็มนิดหน่อย และผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็ม และตรวจด้วยชุดตรวจ Roche และ Genscript น่าจะมีค่าสูงมากจนชนเพดานของการวัด ทำให้เปรียบเทียบระดับ antibody (ภูมิคุ้มกัน) ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Sinovac ได้ยาก แต่ถ้าดูระดับ antibody (ภูมิคุ้มกัน) ที่วัดด้วยชุดตรวจของ Abbott จะพบว่าระดับ antibody (ภูมิคุ้มกัน) ของผู้ที่ได้รับวัคซีน Pfizer ครบ 2 เข็ม สูงกว่า Sinovac ราว 11 เท่า
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวัคซีน Sinovac และ Pfizer หาได้ยาก เพราะมีไม่กี่ประเทศในขณะนี้ที่มีการใช้วัคซีนทั้งสองยี่ห้อพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ฮ่องกงเป็นที่ที่น่าจะทำการศึกษานี้ได้ดี เพราะสัดส่วนคนที่ฉีดวัคซีนทั้งสองชนิดพอ ๆ กัน ข้อมูลนี้แม้ไม่ใช่การวัด vaccine effectiveness (VE) (ประสิทธิภาพของวัคซีน) ตรง ๆ แต่ก็เป็น surrogate ที่ดี การดู VE (ประสิทธิภาพของวัคซีน) คงต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผู้ติดเชื้อไปอีกระยะ
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 785 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 26 มิ.ย. 64
เวลา 19:08:28
|