• คาด3-4เดือน สายพันธุ์เดลต้า ระบาดในไทย ติดง่ายกว่าเดิม 1.4เท่า |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 03 ก.ค. 64 เวลา 13:30:05 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านระบาดวิทยาและที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยในงานเสวนา “วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปได้อย่างไร” โดยกระทรวงสาธารณสุข ว่าปัจจุบันประเทศไทยยังอยู่ในการระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอก 3 โดยแต่เดิมมีสายพันธุ์อัลฟ่า หรือสายพันธุ์อังกฤษเป็นสายพันธุ์หลัก
อย่างไรก็ดี การเข้ามาของสายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย จะทำให้สถานการณ์ 3 เดือนจากนี้ไปแย่ลง สะท้อนจากพื้นที่แพร่ระบาดหนักเขตกรุงเทพฯ เป็นสายพันธุ์เดลต้ายึดครองแล้วกว่า 40% และคาดว่าในอนาคตอีกราว 1-2 เดือน จะกลายเป็นสายพันธุ์หลักของไทยแทน ซึ่งมีการติดง่ายกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 1.4 เท่า
ยันซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้าพอใช้ได้
นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีวัคซีนตัวหลัก 2 ยี่ห้อ ได้แก่ วัคซีนซิโนแวค และวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยวัคซีนซิโนแวคนำเข้ามาเฉพาะกิจรอบที่ระบาดหนัก พบว่าได้ผลในการป้องกันโรคราว 71-91% หากติดเชื้อโควิดก็จะมีอาการน้อย
ผลการศึกษาในประเทศบราซิลในกลุ่มประชาชน 70,000-80,000 คน ในสายพันธุ์บราซิล หรือ P1 สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ราว 80-90% ส่วนผลการศึกษาจากประเทศอินโดนีเซียระบุว่า ฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วยังสามารถติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ ซึ่งมีปัจจัยหลัก ๆ มาจากสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) นั่นเอง
อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาจากประเทศจีนพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่เมืองกวางโจวประมาณ 166 คน ที่ฉีดซิโนแวคแล้ว สามารถลดการติดเชื้อได้ 69% ลดอาการปอดอักเสบได้ 73% และลดอาการบาดเจ็บรุนแรงไปจนถึงการเสียชีวิตได้ถึง 95%
ด้านวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งจะกลายมาเป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยสามาถป้องกันการติดเชื้อในสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) ได้สูงถึง 70-90% และในอินเดียพบว่ามีประสิทธิภาพสูงถึง 97% ส่วนการศึกษาในสายพันธุ์เดลต้าลดการติดเชื้อได้ 80-90% ประสิทธิภาพใกล้เคียงวัคซีนชนิด mrna ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงราว 94-95%
โควิดสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)
เริ่มกันที่โควิดสายพันธุ์เดลต้า ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยโควิดสายพันธุ์นี้ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบการแพร่กระจายไปแล้วกว่า 92 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังถูกจับตามองว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่จะมาแทนที่สายพันธุ์อัลฟ่าที่กำลังเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศไทยในขณะนี้
ส่วนการพบเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกที่บ้านพักคนงานย่านหลักสี่ ข้อมูลผู้ติดเชื้อจากการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (22 มิ.ย.) พบผู้ติดเชื้อจำนวน 661 ราย โดยจังหวัดที่พบมากสุด คือ กรุงเทพมหานคร
อาการจากโควิดสายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย)
ปวดหัว
เจ็บคอ
มีน้ำมูก
ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ให้สังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์
โควิดสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ)
สำหรับโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า พบการติดเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2564 โดยนายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการรายงานขององค์กรสาธารณสุขประเทศอังกฤษ (Public Health England) และองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) เป็นสายพันธุ์ที่มีการแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 1.7 เท่า
อาการจากโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า
มีไข้ตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เจ็บคอ
หายใจหอบเหนื่อย
ปวดตามร่างกายและศีรษะ
การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
หากพบอาการข้างต้น ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้ได้ผลที่แน่ชัด
โควิดสายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้)
ส่วนโควิดสายพันธุ์เบต้าพบการระบาดในประเทศไทยครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ จากอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับเชื้อจากผู้ลักลอบเข้าเมือง และพบผู้ติดเชื้อครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
นายแพทย์ศุภกิจ เปิดเผยว่า สายพันธุ์เบต้ามีการแพร่กระจายเชื้อไม่รวดเร็วเท่าสายพันธุ์เดลต้าและอัลฟ่า แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์เบต้าอาจทำให้เกิดอาการป่วยหรือเสียชีวิตได้มากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม
โควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ แพร่กระจายเร็ว อาการรุนแรง ดื้อวัคซีน
นักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสเชื้อโควิด พบสายพันธุ์แอฟริกาใต้จากคลัสเตอร์ตากใบ นราธิวาส
อาการจากโควิดสายพันธุ์เบต้า
ปวดเมื่อยตามร่างกาย
เจ็บคอ
ท้องเสีย
ปวดศีรษะ
ตาแดง
การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 2699 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 03 ก.ค. 64
เวลา 13:30:05
|