• ด่วน!!! 8จังหวัดเจอ เดลตากลายพันธุ์ 4ตัว (พบที่เชียงใหม่ 1ราย)ย้ำยังไม่ใช่พันธุ์ไทย |
โพสต์โดย ตนข่าว , วันที่ 24 ส.ค. 64 เวลา 14:39:25 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้

ด่วน!!! 8 จังหวัดเจอ‘เดลตากลายพันธุ์’ 4ตัว พบผู้ติดเชื้อแล้วอย่างน้อย7 ราย ย้ำยังไม่ใช่พันธุ์ไทย
24 สิงหาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวประเด็น “การเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์โควิด 19”
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานการพบ 4 สายพันธุ์ย่อยของเดลตาในไทย และมีผู้ติดเชื้อเดลตาสายพันธุ์ย่อยนี้แล้วอย่างน้อย 7 คน
โดยอธิบายว่าการพบสายพันธุ์ย่อยของไวรัสเป็นเรื่องปกติเมื่อมีการระบาดในวงกว้าง แต่จำเป็นต้องเฝ้าระวัง และยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าจะส่งผลต่อการดื้อต่อวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์หลักหรือไม่
นพ. ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยในการแถลงข่าวเพื่อรายงานผลการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด-19 ว่าขณะนี้พบเชื้อสายพันธุ์เดลตาในทุกจังหวัดของไทยแล้ว ดังนั้นถือว่าเดลตาเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในประเทศ
โดยจะมีการแบ่งเป็นสายพันธุ์ต่างๆ และศึกษาวงวานวิวัฒนาการที่มีการแตกกิ่งก้านสาขาออกมา ซึ่งในส่วนของสายพันธุ์เดลตานั้น จะเห็นได้ว่ามีการกลายพันธุ์มากถึง 60 ตำแหน่งเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่น การที่มีกลายพันธุ์จำนวนมาก บ่งชี้ว่ามีการแพร่ระหว่างคนสู่คนมาก
ในประเทศไทยพบทั้งสายพันธุ์เดลตาหลักและสายพันธุ์ย่อย 4 สายพันธุ์ ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ "เป็นลูกหลานของสายพันธุ์ซึ่งมีอยู่แล้วในประเทศไทย" ดังนี้
1. AY.4 หรือ B.1.617.2.4 ช่วงที่พบเดือน มิ.ย.-ส.ค. ในพื้นที่ ปทุมธานี 4ราย บุรีรัมย์ 1ราย กำแพงเพชร 1ราย เชียงใหม่ 1ราย สมุทรปราการ 1ราย ชลบุรี 1ราย
2. AY.6 หรือ B.1.617.2.6 ช่วงที่พบเดือน ก.ค. ในพื้นที่ กทม. 1 ราย
3. AY.10 หรือ B.1.617.2.10 ช่วงที่พบเดือน ก.ค. ในพื้นที่ กทม.1 ราย
4. AY.12 หรือ B.1.617.2.15 ช่วงที่พบเดือน ก.ค.-ส.ค. ในพื้นที่ กทม. (พญาไท) 1 ราย สุราษฎร์ธานี 2 ราย
ดร. วสันต์ระบุว่าประเทศไทยต้องเฝ้าระวังเดลตาสายพันธุ์ย่อย AY.4 มากที่สุดเนื่องจากพบค่อนข้างมาก
เนื่องจากจำนวนที่พบอยู่ในขณะนี้ถือว่าน้อยมาก ทำให้การแยกย่อยของสายพันธุ์เดลตา ทั้ง 4 ตัว ยังไม่มีข้อมูลว่า มีความดื้อต่อวัคซีนมากน้อยเพียงใด และมีอาการต่างๆแตกต่างจากสายพันธุ์แม่(เดลตา) อย่างไร จึงจะยังคงต้องจับตาดูต่อไป
สำหรับสายพันธุ์ย่อยของเดลตาทั้ง 4 ตัวนี้ยังพบในต่างประเทศด้วยเช่นกัน คือ อัง กฤษ สเปน เดนมาร์ก และสหรัฐ อเมริกา ดังนั้น จึงยังไม่ใช่สายพันธุ์ไทย แม้ว่าเป็นลูกหลานของสายพันธุ์เดลตาที่พบในประ เทศไทยก็ตาม เพราะโดยธรรมชาติของสายพันธุ์ไวรัสหากพบว่ามีการระบาดจากคนสู่คนจำนวนมาก ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดการกลายพันธุ์หรือเกิดสายพันธุ์ย่อยได้อีก
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1859 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย ตนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 24 ส.ค. 64
เวลา 14:39:25
|