• จี้รัฐจัดการบริษัททัวร์ตุ๋นนักศึกษาไปทำงานเมืองนอก |
โพสต์โดย กรรมกรข่าว , วันที่ 05 ม.ค. 51 เวลา 10:40:58 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
จี้รัฐจัดการบริษัททัวร์ตุ๋นนักศึกษาไปทำงานเมืองนอก-พบนิสิตจุฬาเป็นเหยื่อโดนฝรั่งโกงค่าแรง
จี้รัฐจัดการบริษัททัวร์ตุ๋นนักศึกษาไปทำงานเมืองนอก-พบนิสิตจุฬาเป็นเหยื่อโดนฝรั่งโกงค่าแรง
นิสิตจุฬาฯ โวยสวนสนุกมะกันโกงค่าจ้าง ด้านนักวิชาการจุฬาฯ จี้รัฐตื่นตัวดูแลนักศึกษา อย่าโยนกลอง ด้านตัวแทนบริษัททัวร์เผย นศ.ฮิตเป็นกรรมกรเมืองฝรั่งปีละกว่า 8 พันราย วอนรัฐจัดการบริษัทต้มตุ๋น
รศ.สุริชัยหวันแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงสาเหตุที่โครงการเวิร์ค แอนด์ ทราเวล ได้รับความนิยมถือเป็นโอกาสทางธุรกิจ อีกทั้งรัฐบาลสหรัฐมีนโยบายเป็นเชิงธุรกิจและเอื้อด้วยการให้วีซ่า ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกทางด้านธุรกิจ วัฒนธรรม และการเผยแพร่วัฒนธรรมประเทศสหรัฐ ด้วยการหาหลักประกันเบื้องต้น และเอาด้านจิตใจความกล้าความอยากรู้อยากลองของคนหนุ่มสาวเป็นเดิมพัน ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่าผู้หญิงไปมากกว่าผู้ชาย
รศ.สุริชัยระบุด้วยว่า ต้องยกระดับความตื่นตัวของสำนักหน่วยงานราชการและตั้งคณะหน่วยงานขึ้นมา ซึ่งบางส่วนในมหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบในมิติใหม่ โดยภาครัฐบางระดับต้องร่วมมือกันทำงานมากกว่านี้ แต่ขณะนี้ต่างโยนกันไปกันมา จึงไม่มีเจ้าภาพมาร่วมรับผิดชอบดูแล และต้องเปิดสำนักงานให้มีที่ปรึกษาหารือกันก่อนจะเดินทางไป ซึ่งสุดท้ายหนีไม่พ้นที่พ่อแม่ต้องรับผิดชอบ ทั้งนี้ ต้องมีระบบประสานงานก่อนไปและหลังไปด้วย ตนคิดว่าในเชิงกฎหมายอาจจะไกลไป เพราะในเชิงคณะทำงานที่ประสานนโยบายระดับสำนักงานการอุดมศึกษา กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน จะได้รู้ว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร ส่วนการเข้าร่วมโครงการให้เกิดความเสี่ยงน้อยจะต้องทำให้เด็กรู้เท่าทัน โดยให้เด็กอ่านสัญญาเป็นและพ่อแม่ต้องรับผิดชอบต่อลูกด้วย เพราะที่สหรัฐนั้นเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้คนไปด้วยการหาเงินเข้าประเทศ
"ทำไมประเทศไทยไม่มองเป็นโอกาสทางนโยบายให้เด็กรุ่นใหม่ได้ทำ และเตรียมตัวให้มากกว่านี้ ทำให้หน่วยงานที่ไม่รู้ว่าใครรับผิดชอบให้เข้ามารับผิดชอบ ซึ่งกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ จะว่ามหาวิทยาลัยก็ไม่ใช่ เนื่องจากภารกิจที่ข้ามแดนก็พูดในแง่ที่ใครไม่ต้องรับผิดชอบ คล้ายเหมือนกับลักษณะโยนกลองความรับผิดชอบ คนรับผิดชอบก็เป็นเด็กและพ่อแม่แทน" รศ.สุริชัยกล่าว
น.ส.จูน (นามสมมติ) นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเข้าร่วมโครงการเวิร์ค แอนด์ ทราเวล เมื่อช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อนล่าสุดโดยสมัครกับบริษัทตัวแทนย่านราชเทวี เลือกทำงานควบคุมเครื่องเล่นในสวนสนุกแห่งหนึ่งในรัฐนิวเจอร์ซีย์ บอกถึงปัญหาที่พบระหว่างทำงานว่า มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบในสวนสนุกมาหลอกนักศึกษาคนหนึ่ง ด้วยการให้ทิประหว่างทำงาน เมื่อยื่นเงินมาให้เจ้าหน้าที่คนนั้นก็เดินออกไปทันที ซึ่งสวนสนุกมีกฎว่าห้ามพนักงานรับทิป นักศึกษาคนนั้นจึงถูกส่งกลับมายังประเทศไทย
"เรื่องการจ่ายเงินที่ทำงานทำไม่เป็นระบบ เขาไม่ลงเวลาให้เรา ฉันโดนโกง แล้วเขาไม่จ่ายเงินให้ ฉันไปร้องเรียนและบอกกับนายจ้างว่า เงินหายนะ จนได้เงินมาครบ แต่เพื่อนได้เงินไม่ครบ" น.ส.จูนกล่าว
น.ส.จูนทำงานในสวนสนุกสัปดาห์ละ 5 วัน ได้ค่าแรงชั่วโมงละ 8 ดอลลาร์สหรัฐ (272 บาท) และต้องทำงานอย่างต่ำประมาณวันละ 8-14 ชั่วโมง ตอนเข้าร่วมใหม่ๆ เธอไม่ได้คิดเรื่องเงินจึงรู้สึกว่าคุ้ม เพราะต้องการไปเที่ยวเป็นหลัก กระทั่งจบโครงการได้เงินกลับมา 700 ดอลลาร์สหรัฐ (23,800 บาท) ส่วนเรื่องภาษาก็ได้กลับมาบ้างพอสมควร แม้จะถูกโกงค่าแรงไปบ้างก็ตาม
ด้านนายสุธี อายุประมาณ 50 ปี ผู้ปกครองของ น.ส.บี (นามสมมติ) นิสิตคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเคยเข้าร่วมโครงการ เวิร์ค แอนด์ ทราเวล ในสวนสนุกแห่งหนึ่งในรัฐฟลอริดา กล่าวว่า เวิร์ค แอนด์ ทราเวล เป็นการทำธุรกิจกับนักศึกษาโดยเอาผลประโยชน์มาแลกเปลี่ยน เคยมีกรณีบุตรชายเพื่อนเข้าร่วมโครงการ ก่อเหตุชกต่อยกับฝรั่งทำให้ถูกออกจากงานทันที ด้วยเหตุที่เด็กไม่เข้าใจในระบบการทำงานของสหรัฐ ซึ่งก่อนไปต้องเข้าใจสภาพด้วย เพราะในประเทศไทยการทำงานสามารถผ่อนปรนได้
ด้านนางต้องจิตร หล่อวินิจนันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โอเวอร์ซีส์ เอ็ดดูเคชั่นนอล กรุ๊ป จำกัด และอดีตนายกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ (สนต.) กล่าวว่า เคยสอบถามไปยังกรมการจัดหางาน ตั้งแต่เริ่มทำโครงการนี้หลายครั้ง เรียกร้องให้ทำกฎระเบียบให้ชัดเจน เพราะคิดว่าหากไม่มีกฎหมายกำกับก็จะมีคนรุ่นใหม่ๆ เห็นเป็นช่องทางหาเงินมากกว่าที่จะสร้างโครงการที่ดี และปัจจุบันก็ยังไม่มีหน่วยงานใดมาดูแล จึงอยากให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ต่างก็บอกไม่ใช่หน้าที่ความรับผิดชอบ
ทั้งนี้รัฐไม่จำเป็นต้องมากำกับ หากมีแนวทางหรือระเบียบที่ชัดเจน คนในอุตสาหกรรมนี้ และผู้บริโภคก็น่าที่จะมีกลไกมากำกับกันเองได้ แต่หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต้องเข้าใจเนื้อแท้โครงการนี้ก่อน อย่างไรก็ตาม ยังแปลกใจทั้งที่เคยสอบถามไป และที่ผ่านมามีปัญหาจากนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการไม่น้อย แต่ทำไมไม่มีภาครัฐที่จะเข้ามากำกับโครงการที่ดีมีประโยชน์นี้ หากถามว่าโครงการนี้ดีหรือไม่ ตนรับประกันได้ว่าถ้าถามใครไม่ว่านักศึกษา ผู้ปกครอง ก็จะได้รับคำตอบว่าดีมีประโยชน์มหาศาล
ส่วนกรณีที่นักศึกษาอ้างว่าบริษัทตัวแทนแห่งหนึ่งมีเอกสารระบุว่า จะหมดความรับผิดชอบทันทีเมื่อไปถึงสหรัฐ นางต้องจิตร ระบุว่า เป็นการแสดงความไม่รับผิดชอบที่ไม่น่าปล่อยให้เกิดขึ้น การกระทำแบบนี้เป็นตัวทำลายอุตสาหกรรมนี้อย่างร้ายแรง ถือว่าบริษัทแห่งนั้นเพียงต้องการหาเงินมิได้บริหารโครงการแต่อย่างใด และเห็นด้วยที่สุดที่จะให้ภาครัฐมาดูแลหรือรับผิดชอบ
"ปีล่าสุดมีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 8,000 คน ส่วนของบริษัทโอเวอร์ซีส์ ในปีที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 1,000 กว่าคน ขณะที่จำนวนบริษัทตัวแทนในไทยที่มีอยู่ ณ ขณะนี้ ทราบว่ามีประมาณ 50 บริษัท" นางต้องจิตร ระบุ
ขณะที่ น.ส.ธัญญาภรณ์ จันทรเวช ผู้ประสานงานวิชาการ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) กล่าวว่า โครงการเวิร์ค แอนด์ ทราเวล จะต้องมีระบบจากภาครัฐไทยคอยเชื่อม และมีภาคประชาสังคม เช่น สื่อมวลชนคอยดูแล อย่างไรก็ตาม อยากจะเสนอแนะนักศึกษาที่จะเข้าร่วมโครงการว่า 1.ต้องตรวจสอบว่ารับสภาพที่จะไปได้หรือไม่ โดยดูความต้องการของตนเอง 2.พยายามหาข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจให้ชัด 3.ประเมินความต้องการของตัวเองในการเลือกบริษัทตัวแทน และตำแหน่งงานที่จะทำให้ดี และ 4.ควรวางแผนให้ดี ต้องรู้ไว้ว่าความไม่แน่นอนมีอยู่มาก
จาก : http://www.komchadluek.net/2008/01/04/a001_184148.php?news_id=184148
17e2
ข่าวจาก เอมไทย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1247 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย กรรมกรข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 05 ม.ค. 51
เวลา 10:40:58
|