• สสจ.เชียงใหม่ ยืนยัน! รักษาด้วยระบบ HI ,CIได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตั้งแต่มีโอไมครอน ยังไม่พบผู้ป่วยอาการรุนแรงถึงชีวิตในเชียงใหม่เลย |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 11 ม.ค. 65 เวลา 21:29:56 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
วันนี้ (11 ม.ค. 65) ที่ศูนย์บัญชาการสถานการณ์การระบาดโรค COVID-19 จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์จตุชัย มณีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การระบาดในระลอกเดือนมกราคม 2565 มีความแตกต่างจากการรักษาในระลอกที่ผ่านมา โดยการตรวจแบบ RT - PCR เป็นการตรวจยืนยันสำหรับผู้ป่วยยืนยันที่ต้องเข้าสู่ระบบรักษาในโรงพยาบาล ส่วนการตรวจ ATK เป็นการตรวจหาเชื้อในเบื้องต้น เพื่อให้เข้าถึงการตรวจได้ง่ายและทราบผลทันที ค้นหาผู้เข้าข่ายติดเชื้อ และเข้ารับการรักษาในทันที ทั้งในรูปแบบ RT - PCR และ ATK เพียงแต่การตรวจแบบ RT- PCR จะเป็นการตรวจสำหรับผู้ที่มีอาการ และจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่วนการตรวจแบบATK เป็นกลุ่มไม่มีอาการ จะใช้วิธีการรักษาตัวที่บ้านเป็นหลัก ที่ผ่านมาพบว่ามีผลการรักษาที่ดีและสามารถรักษาผู้ติดเชื้อได้จำนวนมาก บริหารจัดการได้ดีกว่า
ด้าน นายแพทย์วรเชษฐ เต๋ชะรัก ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนครพิงค์ เผยว่า การระบาดในระลอกนี้ เน้นการรักษาแบบแยกกักที่บ้าน หรือ HI และแยกกักในชุมชน หรือ CI เดิมการรักษาในช่วงเดือน พ.ย. ถึง ธ.ค. 64 ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์เดลต้า ที่มีอาการรุนแรง จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล สัดส่วนผู้ป่วยเตียงเหลือง แดง มีมากต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดมากกว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งพบมากตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2565 โดยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนผู้เสียชีวิตช่วงนี้พบว่าเป็นผู้ป่วยสายพันธุ์เดลต้าที่มีการรักษาตัวต่อเนื่องมาแต่เดิม และยังไม่พบผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรงเลยจากโอไมครอน ซึ่งสอดคล้องกับหลักวิชาการของต่างประเทศ ที่สายพันธุ์โอไมครอนจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทั่วโลกจัดการกับโอไมครอนคล้ายกันคือ ถ้าไม่มีอาการหรืออาการน้อย ใช้วิธีการรักษาตัวที่บ้าน ซึ่งเป็นระบบที่ได้ผลดี ทุกคนได้รับการดูแลจากทีมแพทย์อย่างทั่วถึง เว้นแต่มีอาการจะรับตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาลต่อไป และเน้นย้ำมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัดในครอบครัว ทั้งระบบHI และ CI มีความปลอดภัย เพราะเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดีไม่ให้เกิดการกระจายเชื้อ พร้อมยืนยันจังหวัดเชียงใหม่ มี เวชภัณฑ์ และยารักษา (ฟาวิพิราเวีย) ในปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน
ทั้งนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้เข้าถึงบริการอย่างครอบคลุม โดยเปิดจุดตรวจATK เฉพาะกิจ เพื่อให้บริการตรวจหาเชื้อโควิด-19 กระจายในพื้นที่อำเภอเมือง ประกอบด้วย จุดตรวจ ATK อาคารเอนกประสงค์สวนสุขภาพบ้านเด่น ตำบลวัดเกต (ใกล้กับที่ทำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบ้านเด่น) สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ (สนามฟุตซอลด้านหลัง) และศูนย์วันโรคเขต 10 เชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน (ตรงข้ามกับร้านสุริวงค์บุ๊คเซ็นเตอร์) ผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถขอเข้ารับบริการได้ทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. พร้อมกันนี้ ได้เปิดสายด่วนให้คำปรึกษา สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา หรือตรวจ ATK เองแล้วผลเป็นบวกที่สายด่วน สปสช. 1330 กด 14 ตลอด 24 ชั่วโมง และที่ศูนย์ประสานงาน ATK ทั้ง 25 อำเภอของเชียงใหม่ และที่ศูนย์ประสานงานจังหวัดเชียงใหม่ อีก 3 หมายเลข คือ 065-4724315, 065-4724316 และ 065-4724317 ซึ่งเปิดให้โทรทุกวันตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 20.00 น.
ที่มา: สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่/ข่าว
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 460 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 11 ม.ค. 65
เวลา 21:29:56
|