• ผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก |
โพสต์โดย Mommy , วันที่ 25 ม.ค. 65 เวลา 11:23:02 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ปัญหาในปัจจุบันด้านเทคโนโลยีที่มีผลกระทบเชิงลบต่อพัฒนาการทางสมองเด็ก มีงานวิจัยจำนวนมากที่ไม่สนับสนุนให้เด็กอยูกับเทคโนโลยีมากเกินไปอยางน้อยในวัยที่ต่ำกว่า 15 ปี เนื่องจากพฤติกรรมการนังจ้องหน้าจอเป็นเวลานานๆ ไม่ส่งผลดีต่อสายตาของเด็กและตาถือเป็นอวัยวะเดียวกบสมอง การอยู่กับเทคโนโลยีมากทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เพราะการเก็บสายตาให้ล็อคไว้ในที่แคบๆ เช่น จอของแท็บเล็ต หน้าจอของมือถือ ไอโฟน หรือหน้าจอของโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นพื้นที่ที่แคบเกินไปสำหรับการใช้ตาของมนุษย์ ซึ่งในระยะยาว ส่งผลถึงการผิดปกติต่างๆ ของสมอง โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอเมริกาพบว่า เด็กนั่งจ้องหน้าจอโทรทัศน์วันละ 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นได้ 10% หมายความว่า ถ้าเด็กคนไหนนั่งจ้องหน้าจอโทรทัศน์วันละ 5 ชั่วโมง เด็กคนนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 50% ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากที่ไม่สนับสนุนให้เด็กอยู่กบเทคโนโลยีมากเกินไปอย่างน้อยในวัยที่ต่ำกว่า 15 ปี หากเด็กคลุกคลีกับหน้าจอต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ แต่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย และไม่ได้ลงมือเล่นอะไร การเรียนรู้และการเจริญเติบโตของเด็กจะถูกกระทบโดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้1. อ้วนผอมเกินไป และเป็นเด็กกินยาก เด็กจะจมจ่ออยู่กบเทคโนโลยี ไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย2. เด็กขาดสมาธิไม่สามารถสนใจจดจ่อ ซนอยูไม่นิ่ง อาการจะเหมือนเป็นเด็กที่ซนสมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน รอคอยไม่ได้ และวอกแวก เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงหน้าจออยางรวดเร็ว3. ร่างกายไม่แข็งแรง ไม่คล่องแคล่วว่องไว ร่างกายไม่ยืดหยุ่น การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทำให้เด็กขาดโอกาสเล่นกิจกรรมต่างๆ ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้4. ปัญหาต่อการเรียนรู้ผ่านการมอง เป็นผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจน พบว่าเด็กตาลอย มีปัญหาด้านสายตามากขึ้น เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เป็นต้น5. มีปัญหาการเรียนรู้ผ่านการฟัง พัฒนาการทางด้านภาษา เช่น เด็กพูดช้า หรือความเข้าใจภาษาชั้นสูง (Language Comprehension) ไม่ได้ ฟังแล้วจำไม่ได้ ฟังแล้วคิดตามไม่ได้6. มีปัญหาการเขียน องค์ประกอบสำคัญที่เด็กเขียนได้ดี คือ ร่างกายแข็งแรง7. ขาดทักษะในการแกปัญหา เด็กจะแก้ปัญหาได้ ต้องเผชิญอุปสรรค ได้คิด ได้ลงมือทำ (ลองผิด-ลองถูก) จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน8. ขาดความสัมพันธ์กบผู้คนทำให้เด็กอยูตามลำพังเป็นเวลานานๆ ขาดโอกาสในการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมในบ้านหรือนอกบ้าน9. การรับรู้มิติแห่งเวลาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เด็กไม่ได้ฝึกการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิต เช่น สิ่งที่ต้องทำ สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่อาจทำ เป็นต้น10. มีปัญหาด้านการนอน หน้าจอมีแสงที่สว่าง ซึ่งอาจกระทบต่อการสร้างสารที่จำเป็นต่อการนอน (สารนี้สร้างได้ดีเมื่ออยู่ในที่มืด) รวมถึงเด็กอาจถูกเร้าจนไม่สามารถสงบตัวเองลงเพื่อการนอนได้สนับสนุนโดย ของเล่นไม้เสริมพัฒนาการ by Wooden Kid Thailand
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 357 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย Mommy
IP: Hide ip
, วันที่ 25 ม.ค. 65
เวลา 11:23:02
|