• สายบุฟเฟ่ต์ สายปาร์ตี้ ระวัง! ไขมันพอกตับ |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 14 ก.พ. 65 เวลา 14:07:22 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
สายบุฟเฟ่ต์ สายปาร์ตี้ ต้องอ่านบทความนี้ นอกจากหน้าท้องหรือพุงแล้วอีกอวัยวะหนึ่งในร่างกายที่ทำหน้าที่เก็บสะสมไขมันคือ ตับ นั่นเอง จะเป็นอย่างไรหากตับของคนเราต้องแบกรับไขมันในปริมาณมาก ๆ จากบรรดาอาหารเมนูหวาน มัน ที่เรากินเข้าไปแบบไม่เลือกสรร ตับเราจะแย่แค่ไหน มาติดตามกัน
ไขมันพอกตับหรือไขมันเกาะตับ คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันจากการรับประทานอาหารไปแล้วใช้ไม่หมดในรูปของไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สะสมในเซลล์ตับมากกว่า 5% เป็นเวลานาน ส่งผลให้ตับอักเสบหรือเซลล์ตับตาย จนนำไปสู่การเกิดพังผืดที่ตับซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็งและเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
ภาวะไขมันพอกตับ พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในอายุ 40 - 50 ปีขึ้นไป ที่ประสิทธิภาพการทำงานของระบบการเผาผลาญอาหารเริ่มลดลง โดยจำแนกสาเหตุของการเกิดโรคได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ
1. จากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณ ประเภท และระยะเวลาที่ดื่ม เรียกว่าAlcoholic fatty liver
2. จากปัจจัยเสี่ยงอื่น หรือ Non - alcoholic fatty liver สัมพันธ์กับภาวะต่าง ๆ ดังนี้
* ผู้ที่มีภาวะ Metabolic syndrome คือ ภาวะที่ร่างกายมีระบบเผาผลาญอาหารผิดปกติ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวานโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง
* รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจำ เช่น แป้ง น้ำตาล ไขมัน
* การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว และภาวะขาดสารอาหาร
* การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
* ผลข้างเคียงของการได้รับยาปฏิชีวนะบางประเภท ยาต้านไวรัสบางชนิด ยาเคมีบำบัด ยาต้านฮอร์โมน หรือกลุ่มยาสเตียรอยด์
* ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในระยะแรกของโรคมักไม่แสดงอาการ หรือหากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกไม่สบายท้อง น้ำหนักลดผิดปกติ ความอยากอาหารลดลง มึนงง ความสามารถในการตัดสินใจและสมาธิลดลง รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา. เราสามารถตรวจพบโรคไขมันพอกตับได้จาก การตรวจเลือด ตรวจอัลตราซาวนด์ ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Liver biopsy) ตรวจวัดปริมาณไขมันและพังผืดในตับด้วยเครื่อง FibroScan
โรคไขมันพอกตับสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้ ดังนี้
1. รับประทานอาหารตามหลักที่นักโภชนาการแนะนำ โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลคาร์โบไฮเดรต และไขมันมากเกินไป เน้นอาหารกากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน ครั้งละ 30 นาที
3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
4. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
6. หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงสำหรับรักษาโรคไขมันพอกตับ โดยยาที่ใช้ประกอบด้วยวิตามีนอี เป็นสารต้านออกซิเดชัน เพราะอนุมูลอิสระเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการอักเสบและการตายของเซลล์ตับ
Silymarin มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ต้านการอักเสบ และช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับ ทำให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากสารพิษ
การรักษาด้วยยาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากยาแต่ละประเภทมีทั้งข้อดีและข้อเสีย อีกทั้งปัจจุบันมีสื่อโฆษณากล่าวอ้างสรรพคุณยาสมุนไพร รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากมายที่อาจหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ หากเลือกวิธีดูแลอย่างเหมาะสมก็จะได้รับประโยชน์จากการรักษาอย่างเต็มที่
ข้อมูลอ้างอิง :
https://www.phukethospital.com/th/healthy-articles/fatty-liver/
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/fatty-liver-disease
ไขมันพอกตับ โรคฮิตของคนยุคใหม่ (samitivejhospitals.com)
ไขมันพอกตับ | World Medical Hospital (theworldmedicalcenter.com)
โภชนาการกับไขมันพอกตับ (Nutrition and fatty liver disease) - สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย (thasl.org)
โรคไขมันพอกตับ : ยาที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับและยาที่ใช้รักษา | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 1532 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 14 ก.พ. 65
เวลา 14:07:22
|