กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
โรคกระดูกพรุน ไม่ได้เป็นแค่ในวัยผู้สูงอายุ. วัยอื่นๆ ที่ได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ก็อาจเป็นโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควรได้เช่นกัน
โรคกระดูกพรุน คือภาวะที่กระดูกมีความแข็งแกร่งลดลง อันเนื่องมาจากเนื้อกระดูกบางลงจนเป็นเหตุให้เกิดการแตกหัก ยุบตัวลงได้ง่าย สังคมปัจจุบันมีส่วนส่งเสริมให้กระดูกมีสภาพที่เสื่อมเร็วขึ้น เช่น การไม่ค่อยได้
ออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารแคลเซียมต่ำ เมื่อเกิดกระดูกหักจะเกิดความเจ็บปวด
ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อาจจะเกิดภาวะทุพพลภาพตามมา ส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน โดยกลุ่มที่พบว่า
เกิดภาวะกระดูกพรุนมากที่สุด คือ สตรีวัยหมดประจำเดือนที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ สตรีหมดประจำเดือนไม่ว่าจะหมดตามธรรมชาติหรือเพราะผ่าตัดตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง ก็จะทำให้กระดูกมีการสึกหรอมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคกระดุกพรุน
1. ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับ คือ ประมาณ 1,200 – 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
2. ชาติพันธุ์ คนเอเชียมีความเสี่ยงสูงกว่าคนชาติอื่น
3. พันธุกรรม หากญาติทางฝ่ายมารดาเคยเป็นภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหัก เราก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหักไปด้วย
4. เพศ โดยเพศหญิงจะมีโอกาสเป็นกระดูกพรุนมากกว่าเพศชาย
5. อายุ เมื่อเข้าสู่วัยทอง ทั้งผู้หญิง และผู้ชายจะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำลง
6. น้ำหนักตัว คนผอมมีมวลกระดูกน้อย มีโอกาสเป็นกระดูกพรุนง่ายกว่าคนอ้วน
7. พฤติกรรม คนที่มีชีวิตเครียด ไม่ได้พักผ่อน สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ มีโอกาสกระดูกพรุนสูงแม้ยังไม่เช้าสู่วัยทอง การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายชนิดลงน้ำหนัก เช่น เล่นฟุตบอล บาสเกตบอล วิ่ง กระโดด จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ช่วยลดการสูญเสียมวลกระดูกแม้เข้าสู่วัยทอง
8. โรคเรื้อรัง การมีโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคไขข้ออักเสบรูมาทอยด์ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือการที่ต้องรับประทานยาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ทำให้มีการสูญเสียมวลกระดูกมากขึ้นเลย
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|