กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2565 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวถึงการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานร ว่า จากการตรวจสอบที่สนามบินเราพบว่า มีชาวต่างชาติ 1 รายที่บินมาจากประเทศทางยุโรป โดยเดินทางเข้ามา และแวะพักเครื่องระหว่างทางในประเทศไทย เพื่อต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย โดยแวะพักเครื่องประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งยังไม่มีอาการ แต่ไปพบอาการที่ประเทศออสเตรเลีย ดังนั้น รายนี้ในส่วนของผู้สัมผัสใกล้ชิดยังไม่สัมผัสเสี่ยงสูง แต่ก็มีการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด ที่เป็นผู้โดยสารเครื่องบินและลูกเรือรวม 12 คน ซึ่งติดตามแล้ว 7 วันยังไม่มีอาการ โดยต้องติดตามต่อไปให้ครบ 21 วัน” นพ.จักรรัฐ กล่าว
เมื่อถามว่าการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดในผู้ป่วยที่มาแวะพักเครื่องในประเทศไทย นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้ไม่มีอาการ และมาแวะพักเครื่องในไทยไม่นาน ซึ่งระหว่างนั้นไม่ได้สัมผัสใกล้ชิดกับใคร มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอด ดังนั้น ผู้สัมผัสใกล้ชิดก็จะไม่ใช่กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งตอนนี้ไม่มีอาการใดๆ อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ก็สามารถไปทำงานได้ตามปกติ หากมีอาการให้รีบแจ้ง แต่หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงต้องแยกกัก 21 วันที่บ้าน
“โดยการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดอยู่บนเครื่องบิน เนื่องจากผู้ป่วยที่เดินทางไปออสเตรเลียอีกหลายวันจึงพบเชื้อ ยังดีที่ผู้ป่วยนั่งในชั้น Business class นั่งห่างกันพอสมควร ซึ่งการติดเชื้อไม่ง่าย ต้องใกล้ชิดจริงๆ ถ้าอยู่ห่างๆ ไม่ค่อย เพราะเชื้อไม่ได้ลอยไปเอง อย่างเหตุการณ์ในยุโรป จะมีการใกล้ชิด กอดจูบ ดังนั้น โรคนี้ไม่ได้ติดต่อง่าย ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยในระยะที่ป่วยด้วย” นพ.จักรรัฐ กล่าว
ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวว่า กรณีสอบสวนนักท่องเที่ยวไอรแลนด์ 3 ราย และผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 2ราย ที่มีผื่นตุ่มหนองนั้น ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยสงสัยทั้งหมด 5 รายไม่พบฝีดาษวานร เป็นเชื้อเริม
แนวทางการเฝ้าระวัง โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
กระทรวงสาธารณสุขได้ นิยามผู้ป่วยสงสัย คือ อาการมีไข้ เจ็บคอ มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นตุ่มนูน บริเวณแขนขา และใบหน้า และมีประวัติเชื่อมโยงกับระบาดวิทยา ภายในระยะเวลา 21 วัน หรือกิจกรรมที่มีการรายงานผู้ป่วยฝีดาษลิง และมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่า หรือนำเข้าจากแอฟฟริกา
ส่วนผู้ที่เข้าข่ายสงสัย ต้องมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด
คือ สัมผัสโดยตรงกับผิวหนังผู้ป่วย หรือ สัมผัสสิ่งของที่อาจปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่นเสื้อผ้าผู้ป่วย , ผู้สัมผัสร่วมบ้าน เช่น อาศัยอยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วยหรือ ใช้ห้องน้ำหรืออุปกรณ์ในห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย , ผู้สัมผัสที่อยู่ภายในห้อง หรืออยู่ใกล้ ผู้ป่วยฝีดาษลิง ภายในระยะ2เมตร หากพบผู้ป่วยในประเทศไทยจะต้องได้รับการยืนยันจากผลห้องปฏิบัติการก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา ตามอาการและแยกกักตัว จนครบ 21 วัน
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ฝากถึงแพทย์ หากพบผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการ เข้าข่ายโรคฝีดาษลิงสามารถแจ้งยืนยันกับกระทรวงสาธารณสุขได้ทันที เนื่องจากแพทย์ส่วนใหญ่ไม่เคยเห็นโรคฝีดาษลิงมาก่อน เพราะหายไปจากประเทศไทยนานมาก จึงไม่สามารถคัดกรองอาการด้วยการแยกลักษณะตุ่มหนองที่เกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องใช้การตรวจหาเชื้อRT-PCR จากห้องปฏิบัติการเท่านั้น
ลิงก์ผู้สนับสนุน
กระทู้/ข่าว อื่นๆ ที่น่าสนใจ
|
|
|
|