• WHO เตือน ฝีดาษลิง มีแนวโน้มระบาดเพิ่มขึ้น |
โพสต์โดย คนข่าว , วันที่ 04 มิ.ย. 65 เวลา 12:07:16 IP: Hide ip |
กด like เพื่อติดตามข่าวสารดีๆ จาก cmprice.com VVVVVV
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
© เนื้อหาข่าว/กระทู้
ส่วนประเทศไทย กรมควบคุมโรค ระบุว่า ยังไม่มีรายงานการระบาด ขณะนี้ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังทั้งในสนามบิน ขาเข้าประเทศ สถานพยาบาล รวมทั้งคลินิกเฉพาะทางโรคผิวหนัง
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ (ฮู)” ประจำภูมิภาคยุโรป แถลงเตือนว่าการแพร่ระบาดของไข้ทรพิษวานร หรือฝีดาษลิง ในประเทศต่าง ๆ นอกทวีปแอฟริกามีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงมากขึ้น
ดับเบิลยูเอชโอ ประจำภูมิภาคยุโรป ยังระบุอีกว่า จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อสะสมได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 550 รายแล้ว นับตั้งแต่เริ่มพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อเดือนเมษายน ที่ผ่านมา โดยมีผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่ 12 ประเทศของสหภาพยุโรปหรืออียู จำนวน 321 ราย ส่วนจำนวนที่เหลือพบในสหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประจำภูมิภาคยุโรปแสดงความวิตกกังวลว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคยุโรปมีงานเทศกาลต่าง ๆ และกิจกรรมขนาดใหญ่ อาจส่งผลทำให้โรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดมากขึ้น จึงแจ้งเตือนให้ประเทศต่าง ๆ เตรียมมาตรการความพร้อมเพื่อรับมือ
ส่วนประเทศไทยกรมควบคุมโรค ระบุว่ายังไม่มีรายงานการระบาด อย่างไรก็ตาม ได้ดำเนินการเฝ้าระวังทั้งที่สนามบินในผู้เดินทางเข้าประเทศ สถานพยาบาล และคลินิกเฉพาะทางโรคผิวหนังหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำหรับอาการผู้ป่วยสงสัยฝีดาษวานรนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการป่วยอย่างใดอย่างหนึ่งคือ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีอาการผื่น ตุ่มนูน ซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นบริเวณใบหน้า ลำตัว และแขนขา โดยเป็นผื่นก่อน ตามด้วยตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และตุ่มตกสะเก็ด โดยต้องมี 1 ใน 2 อาการนี้ ร่วมกับประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยาภายใน 21 วัน คือ 1.ประวัติเดินทางจากประเทศที่มีรายงานการระบาดโรคฝีดาษวานรภายในประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากแอฟริกา ยังมีแคนาดา อังกฤษ โปรตุเกส และสเปน2.ประวัติร่วมกิจกรรมในงานที่พบผู้ป่วยฝีดาษวานร หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางมาจากต่างประเทศประจำ หรือ 3.ประวัติใกล้ชิดสัมผัสสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่นำเข้าจากแอฟริกา
ในกรณีมีผู้ป่วยโรคฝีดาษวานร เมื่อได้รับรายงานว่ามีผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยเข้าข่ายมารักษาในสถานพยาบาลจะตรวจคัดกรองและเก็บตัวอย่างจากแผลหรือลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR และพิจารณาแยกกัก เพื่อรอเวลาการตรวจหาเชื้อ หากไม่พบเชื้อฝีดาษวานรหรือเป็นโรคอื่นจะจบการแยกกัก แต่หากพบเชื้อหรือเป็น “ผู้ป่วยยืนยัน” จะได้รับการรักษาและแยกกักจนครบ 21 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
ลิงก์ผู้สนับสนุน
|
|
|
|
แจ้งลบกระทู้นี้
อ่าน 258 |
|
แสดงความคิดเห็น |
โดย คนข่าว
IP: Hide ip
, วันที่ 04 มิ.ย. 65
เวลา 12:07:16
|